http://www.tungsong.com


ประวัติศาสตร์   |    โบราณสถาน,วัตถุ  |   ศาสนา,ความเชื่อ  |   ภูมิศาสตร์   |   ชาติพันธุ์ วรรณกรรม  |   วัฒนธรรมประเพณี  |    อื่นๆ

เหตุการณ์เมืองทุ่งสง  ที่มาของชื่อ "ทุ่งสง"  |  เหตุการณ์ไฟไหม้เมืองทุ่งสง  ประวัติศาสตร์การศึกษา

 

ไฟไหม้ตลาดทุ่งสง

 

เมืองทุ่งสงยุคเรือนแถวไม้ 2 ชั้น ก่อนเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่


เหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ตลาดทุ่งสง


โรงแรมเอเชีย สร้างใหม่เป็นตึก

ในราวปี พ.ศ. 2501 เกิดไฟไหม้ใหญ่เมืองทุ่งสง โดยเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่มีวัวชนคู่เด่นที่สนามชนโค โดยวัวคู่ชนในวันนั้น ลุงไข่แจ้ง ท้าวฉาย ปัจจุบันอายุ 77 ปี ซึ่งเกิดที่ตำบลนาหลวงเสนแต่มาทำงานอยู่ในตลาดเมืองทุ่งสง (ตำบลปากแพรก) จำได้ว่า คือ ไอ้ขาวฉ้อน วัวดังของเมืองทุ่งสง ชนกับ ไอ้หัวเล วัวจากเมืองตรัง โดยก่อนมีเหตุการณ์ไฟไหม้มีบางคนได้ยินนักเลงพนันฝั่งเชียร์วัวจากตรังได้กล่าวอาฆาตว่า ถ้า ไอ้หัวเล วัวฝ่ายตนแพ้ วันนี้เป็นได้เกิดไฟไหม้ตลาดทุ่งสงเป็นแน่ อย่างไรก็ดี ขณะที่เกิดไฟไหม้นั้นวัวคู่ดังกล่าวยังชนกันไม่รู้ผลแพ้ชนะ แต่ไฟได้ไหม้ขึ้นแล้ว จากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ได้บอกตรงกันว่าต้นเพลิงเกิดจากห้องพักชั้น 2 ของโรงแรมเอเซีย ลามติดเรือนไม้ไปทั้งแปลงที่ดินจนสิ้นสุดที่ผนังปูนของโรงแรมศรีอรุณ เพราะเทศบาลตำบลปากแพรกได้นำรถดับเพลิงมาเลี้ยงไฟอยู่ที่จุดดังกล่าว เนื่องจากจุดอื่นดับได้ยากเพราะเป็นเรือนไม้เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่คำบอกเล่าของยายปราณี  เปรมสถิตย์ ปัจจุบันอายุ 83 ปี บอกว่าเมื่อเทียบตำแหน่งกับอาคารที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ต้นเพลิงเริ่มจากร้านทุ่งสงบรรณาคารลามข้ามถนนไปจนถึงตลาดเก่า ขณะที่โกแบน (นาย เทพชัย เจ้าของโรงแรมเทียมฟ้า) เล่าว่า เหตุการณ์ไฟไหม้เมืองทุ่งสงครั้งนั้น ตนยังเรียนชั้นประถมอยู่ บ้านไม้ของพ่อแม่ตนถูกไฟไหม้หมด ไม่สามารถเอาอะไรออกมาได้ทัน แม่วิ่งหาลูกๆ กันจ้าละหวั่น กว่าจะรวมลูกๆ ได้ครบ แล้วพากันอาศัย สุขศาลาซึ่งเป็นตึกปูนชั้นเดียวยกพื้นเตี้ยราว 3-4 ขั้นบันได (ต่อมาถูกรื้อแล้วสร้างเป็นศาลาประชาคมอำเภอทุ่งสงในปัจจุบัน) นอนเป็นการชั่วคราว จากนั้นจึงไปขออาศัยอยู่บ้านญาติที่เมืองนคร แล้วจึงกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งชีวิตกันใหม่ จนเกิดเป็น ร้านซินเฮง ร้านแรก และย้ายไปอีกที่หนึ่ง จนมาเป็นร้านซินเฮงตำแหน่งที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันโดย โกเหยี่ยน พี่ชายของ โกแบน เป็นเจ้าของคนปัจจุบัน ส่วนโกแบนก็มีธุรกิจคือโรงแรมเทียมฟ้าอยู่หน้าตลาดโต้รุ่งเมืองทุ่งสงจนกระทั่งปัจจุบัน