|
|
 |
เพลงทุ่งสงรำลึก
| อาหารของชาวทุ่งสง |
เมื่อปี พ.ศ.
2504 สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่ง
ได้นำวงดนตรีมาแสดงที่ทุ่งสง หลังประสบอัคคีภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2500
ในการแสดงวงดนตรีไทยในยุคนั้นเปิดแสดงในโรงภาพยนตร์ (วิกหนัง)
การเดินทางของวงดนตรีจะเดินทางโดยทางรถไฟเท่านั้น ครั้งหนึ่งๆ
แสดงติดต่อกันประมาณ 5-6 วัน
หรืออาจมากกว่าน้อยกว่านี้สุดแท้แต่จะได้รับการต้อนรับและอยู่ในความนิยมของแฟนเพลงมากน้อยแค่ไหน
ในคราวนั้นวงดนตรีของสุรพลเข้าพักที่โรงเรียนเอเชีย
(ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว) ใช้เวลาการแสดงติดต่อกัน 5-6
วัน ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี
เมื่อพักอยู่หลายวัน มีโอกาสรู้จักมักคุ้นกับนักดนตรีในถิ่น
เพราะในทุ่งสงสมัยนั้นมีวงดนตรีคณะหนึ่งคือวง “ยูเอ็ม
คาลิปโซ” โดยมีครูจำนงค์ หอสุชาติ
ครูสอนดนตรี โรงเรียนทุ่งสง เป็นหัวหน้าวง และมีนักร้อง
นักดนตรีอื่นๆ อีกหลายคน ได้แก่ ครูจรูญ เมืองไทย
เป็นนักดนตรี นายอนันต์ เคอาร์ เป็นนักร้อง
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “นายแวว”
นายแววจะใช้ชื่อนักร้องว่า “อัจจิบาบา” |
เมื่อสุรพล สมบัติเจริญ ได้พบปะพูดคุยกับนักดนตรีเจ้าถิ่น
ก็ชอบพอ ถูกอัธยาศัยกันอย่างรวดเร็ว
ตอนกลางวันซึ่งเว้นจากการแสดง
นักดนตรีเจ้าถิ่นก็จะเชิญชวนนักดนตรีและนักร้องของวงดนตรีสุรพล
ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น เที่ยวถ้ำ เที่ยวน้ำตกโยง
และสถานที่ต่างๆ ตามที่เวลาจะอำนวย จากการได้ไปเที่ยว
ได้ชมธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร และน้ำตก ซึ่งสุรพล สมบัติเจริญ
เกิดความประทับใจต่อธรรมชาติแวดล้อมที่สวยงามเป็นอย่างมากจึงได้แต่งเพลง
“ทุ่งสงรำลึก”
ฝากไว้เป็นที่ระลึกกับหัวหน้าวงดนตรี “ยูเอ็ม
คาลิปโซ” วงนี้
ได้นำเพลงนี้ไปร้องในโอกาสต่างๆ
โดยมอบให้นายแววหรืออัจจิบาบาเป็นผู้ร้อง
เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีนักดนตรี
นักร้องในวงต่างก็สูงวัยเข้าสู่วัยชรา
ประกอบกับวงดนตรียุคใหม่เข้ามาแทนที่ ในที่สุดวงดนตรี
“ยูเอ็ม คาลิปโซ”
ของทุ่งสงก็ปิดตัวเองลงโดยปริยาย และในช่วง 6-7
ปี ก่อนที่อาจารย์จรูญ เมืองไทยเสียชีวิต
ได้ฟื้นฟูเพลงนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
จึงมักได้ยินเพลงนี้อยู่บ่อยๆ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ ในงานสมรส
และงานอื่นๆ จนทุกวันนี้
|
|
เพลงทุ่งสงรำลึก |
 |
|
โอ้ทุ่งสงแดนนี้นี่เอย |
จะไม่ขอลืมเลย |
ดินแดนที่เคยสุขสันต์ |
มองทางไหนล้วนชวนให้ฝัน |
ดังเป็นแดนสวรรค์ |
ที่สวยประเสริฐเพริดแพร้ว |
โอ้เป็นบุญแล้วที่ได้มา |
จะไม่ขอลืมว่า |
แดนนี้มีมนต์แม่นแล้ว |
มองทิวเขาเป็นเนินป่าแนว |
ดังสวรรค์เมืองแก้ว |
สมแล้วทุ่งสงถิ่นงาม |
**เป็นเมืองฟูเฟื่องไปด้วยพืชผล |
อีกทั้งฝูงชนนั้นเล่า |
เลิศล้นด้วยคุณธรรม |
สมแล้วนี่หนาที่ชื่อทุ่งสงถิ่นทองแดนงาม |
เที่ยวมาจนทั่วเขตคาม |
ไม่เคยเห็นงามที่ไหน |
แม้นจากไปหัวใจให้เตือน |
จะไม่ขอลืมเลือน |
จนแม้จะชีพสลาย |
คงคะนึงคิดถึงทุ่งสงไม่วาย |
ถึงจากกันไปเพียงกาย |
แต่ใจยังฝังไม่ลืม |
|
|
|
|
วงดนตรียูเอ็ม คาลิปโซ
|
บันทึกจากคำสัมภาษณ์ของนายสมัคร เย็นในธรรม (20
สิงหาคม พ.ศ.2553) |
 |
|
วงดนตรียูเอ็ม คาลิปโซจะเปิดการแสดงเฉพาะเมื่อได้รับเชิญให้ไปแสดงตามที่ต่างๆ
การตั้งวงดนตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินช่วยเหลือสังคม
ช่วงแรกเป็นการหาเงินเพื่อจัดหาเครื่องดนตรีก่อน
จนเป็นวงใหญ่ในที่สุด นายสมัคร เย็นในธรรม อยู่วงดนตรียูเอ็ม
คาลิปโซ ทำหน้าที่เป็นวิทยากร เล่นดนตรี ร้องเพลง
และเล่นจำอวด) |
|
|
 |