![]() |
ที่มาของโครงการ
|
คุณลักษณะที่สำคัญของนวัตกรรมท้องถิ่น |
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
|
ความสำคัญของโครงการ
|
ขั้นตอนและกิจกรรมหลักที่ได้ดำเนินการ
|
งบประมาณ
|
ความสำคัญของโครงการนวัตกรรมและบทบาทของ อปท. ในการดำเนินการ |
ความสำคัญของการจัดการน้ำเชิงนิเวศด้วยฝายมีชีวิต (๑) แก้ปัญหาน้ำแล้งได้อย่างถาวร (๒) สามารถสร้างน้ำ และแหล่งอาหารให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน (๓) สามารถลดแรงกระแทกของมวลน้ำในการกัดเซาะตลิ่งและลดตะกอนทรายหน้าฝายในช่วงน้ำหลากได้ (๔) เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนและภาคีเครือข่าย ในด้านการจัดการน้ำเชิงนิเวศและการมีส่วนร่วม ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และเรียนรู้อย่างมีความสุข หากเทศบาลเมืองทุ่งสงไม่ได้ดำเนินการจัดการน้ำเชิงนิเวศด้วยฝายมีชีวิต จะส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นดังนี้ (๑) ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงประสบกับปัญหาน้ำแล้ง ขาดน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร (๒) พรรณไม้และสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจะตายและลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง (๓) ขาดโอกาสขยายการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติไปยังคลองอื่น ๆ ในพื้นที่ เทศบาลเมืองทุ่งสงมีบทบาทสำคัญในการ สนับสนุน ส่งเสริม การจุดประกาย พลังสังคมในชุมชนทุกภาคส่วน โดยวิธีการสัมมนาเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการ การจัดการน้ำเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่องและร่วมปฏิบัติการสร้างฝายมีชีวิตกับเครือข่าย และร่วมส่งบุคลากรไปเผยแพร่ขยายผล “ฝายมีชีวิต” สู่เครือข่ายภายนอกจนขยายผลไปทั่วประเทศในขณะนี้ |