![]() |
ที่มาของโครงการ
|คุณลักษณะที่สำคัญของนวัตกรรมท้องถิ่น|
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
|
ความสำคัญของโครงการ
|
ขั้นตอนและกิจกรรมหลักที่ได้ดำเนินการ
|
งบประมาณ
|
คุณลักษณะที่สำคัญของนวัตกรรมท้องถิ่น |
“ฝายมีชีวิต” มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องมือกักเก็บน้ำแบบอื่น ๆ เพราะมีการออกแบบโดยคำนึงถึงระบบนิเวศดังนี้ (๑) ใช้โครงสร้างที่เป็นวัสดุธรรมชาติ โครงสร้างเขียวไม่ใช่โครงสร้างแข็ง เช่น เหล็ก และปูน (๒) ตัวฝาย เป็นตัวกั้นน้ำควรมีความยาวมากกว่าความกว้าง (๓) บันไดนิเวศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังตัวฝาย ทำหน้าที่ชวยใหปลา สัตวน้ำเดินทางผ่านไปมาข้ามฝายไปได้ และตะกอนทราย สามารถเดินทางผานฝายไปได้ (๔) หูช้าง สร้างความแข็งแรงให้กับตัวฝาย และปลูกไทรและไม้พื้นถิ่นริมคลอง เพื่อให้รากไทรไปแทนที่ตัวฝาย สร้างความร่มรื่น เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยของสัตว์ ให้ออกซิเจน และสร้างน้ำ (๕) เหนียวปิ้ง สร้างความแข็งแรงและป้องกันความแรงของน้ำ “ฝายมีชีวิต” เป็นการจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับการจัดการเชิงนิเวศ ตัวฝายเป็นตัวกั้นน้ำ ดินเป็นตัวเก็บน้ำ พรรณไม้ท้องถิ่นและพืชทั้งสองฝั่งคลองเป็นตัวเก็บน้ำและให้น้ำ และมีกติการ่วมกันของชุมชน ซึ่งเมืองทุ่งสงได้ต่อยอด ปรับปรุงเทคโนโลยีที่เหมาะสม คำนึงถึงบริบทของพื้นที่ สร้างนวัตกรรมฝายมีชีวิตเชื่อมโยงกับแผนที่น้ำ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบในฝายมีชีวิตในพื้นที่เมืองที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น ด้วยการปรับตัวฝายออกเหลือเฉพาะบันไดนิเวศหน้าและหลัง เพื่อประโยชน์ในการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม |