www.tungsong.com

5. ปัญหาแนวทางการพัฒนาอำเภอ
5.1ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ
        อำเภอภ้ำพรรณรา หากมองศักยภาพในภาพรวมพอที่จะสรุปศักยภาพและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอในอนาคตได้ดังนี้
        - ราษฎรมีอาชีพในการทำการเกษตร เหมาะแก่การพัฒนาด้านผลผลิตให้มากขึ้น ด้านปริมาณ และคุณภาพ ตลอดถึง การแปรรูปผลผลิต
        - มีถนนสายสำคัญ ซึ่งสะดวกในการเดินทางไปมาติดต่อค้าขายกับจังหวัดใกล้เคียงสะดวกคือทางหลวงหมายเลข 41 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4244
        - พื้นที่เป็นที่ราบหุบเขา มีทิวเขาล้อมรอบ มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดถ้ำทองพรรณรา มีพระพุทธไสยาสน์(พระบรรทม) วัดถ้ำกัยยาณนิมิตรเขตอนุรักษ์เกาะลอย ที่สวยงามสภาพเป็นธรรมชาติสมบูรณ์เหมาะแก่การท่องเที่ยว
        - ราษฎรในท้องที่ ส่วนใหญ่มีความตื่นตัวในทุก ๆ ด้าน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตรงตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ)
5.2 ผลการพัฒนาของอำเภอในช่วงแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีที่ผ่านมา
        หลายส่วนราชการในระดับอำเภอได้ดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมลงสู่พื้นที่เป้าหมายหลายโครงการ/กิจกรรม เมื่อประเมินผลการดำเนินงานแล้วสรุปได้ว่าได้แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ตามความต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านโครงการพื้นฐานเป็นที่ยอมรับของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนจากการจัดเวทีหมู่บ้าน เพื่อค้นหาสภาพปัญหา และความต้องการของหมู่บ้าน พบว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องปากท้อง แต่กลับกลายเป็นเรื่องของความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า เช่น ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ ไม่มีไฟฟ้าใช้ในการเกษตร ไม่มีเครื่องมือเพื่อการเกษตรที่ทันสมัย นอกนั้นเป็นปัญหาที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางส่วน
5.3 ปัญหาความต้องการของอำเภอ
1.ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
        - การคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ไม่สะดวกโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
        - ครัวเรือนมีโทรศัพท์ใช้ไม่เกินร้อยละ 10
        - ขาดเอกสารสิทธิในที่ทำกิน
        - ในช่วงฤดูแล้งบางหมู่บ้านขาดน้ำกินน้ำใช้
2.ปัญหาผลผลิต รายได้ และการทำงาน
        - ผลผลิตทางการเกษตรยังตกต่ำ
        - เกษตรกรขาดความรู้และยังไม่มีการนำเทคโนโลยีหรือวิชาการสมัยใหม่
        - ขาดแรงงานด้านการผลิต
        - การรวมกลุ่มของประชาชนมีน้อย
3.ปัญหาสาธารณสุขและการอนามัย
        - สถานบริการและบุคลากรด้านสาธารณสุขมีน้อย
        - ภาวะโภชนาการเด็กยังไม่ดีพอ ยังมีวัฒนาการขาดสารอาหาร
        - ผู้สูงมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วย
        - สถานที่ออกกำลังกายและอุปกรณ์กีฬามีน้อย
4.ปัญหาความรู้และการศึกษา
        - นักเรียนที่เรียนจบการศึกษาภาคบังคับ มีโอกาสเรียนต่อในระดับสูงไม่ครบ
        - โรงเรียนขาดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน
        - เยาวชนและประชาชนขาดความสนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ
5.ปัญหาแหล่งน้ำ
        - ขาดน้ำใช้อุปโภคและบริโภคในช่วงฤดูแล้ง
        - ระบบการประปาไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่
        - แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อย
        - ขาดการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดีพอ
6.ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
        - ที่ดินและป่าไม้ถูกทำลายจนเสียความสมดุลทางธรรมชาติ
        - แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน
        - ประชาชนไม่ให้ความสำคัญที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลับสู่หน้าแรก