 |
|
การดำเนินงานตามแผนงานต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่มีอยู่อย่างกว้างขวางใน |
Agenda 21 จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก แม้ว่างบประมาณส่วนใหญ่จะมาจากภาครัฐบาลและเอกชนในแต่ละประเทศ แต่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศยังขาดทรัพยากรและเทคโนโลยีที่จะจัดการกับปัญหาการพัฒนาในขั้นพื้นฐาน และในปัญหาที่สำคัญๆ ระหว่างประเทศ เช่น ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น |
|
ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมและ |
ขจัดความยากจน สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการสร้างสภาวะความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในโลก |
|
การจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอให้ประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกๆ ประเทศ |
และของคนในรุ่นต่อไป หากไม่ดำเนินการตามแผนภูมิปฏิบัติการ 21 แล้วก็จะเกิดมูลค่าความสูญเสียมากกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนนี้ |
|
ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องแสดงให้เป็นอย่างชัดเจนถึงลำดับการดำเนินงานและความต้องการเพื่อการ |
พัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศที่พัฒนาแล้วควรมีพันธะที่จะสนองตอบกับลำดับความสำคัญดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องจัดสรรทรัพยากรการเงินจากแหล่งใหม่และเพิ่มเติม (new and additional financial resources) ให้กับประเทศกำลังพัฒนา |
|
ประเทศพัฒนาแล้วได้ยืนยันถึงพันธกรณีที่จะจัดสรรความช่วยเหลือประมาณ 0.7% ของผลิตภัณฑ์ |
มวลรวมประชาชาติ (GNP) ในแต่ละปีตามเป้าหมายที่สหประชาชาติกำหนดไว้ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยผ่านช่องทางความช่วยเหลือที่เป็นทางการ (ODA) และควรสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาแล้วที่บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวเพิ่มความช่วยเหลือให้มากยิ่งขึ้นไป |
|
องค์การระหว่างประเทศสำคัญๆ ที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เช่น สมาคมการพัฒนาระหว่าง |
ประเทศ (International Development Association) ธนาคารพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกของสหประชาชาติ (United Nations' Global Environment Facility) ควรดำเนินนโยบายยืดหยุ่นอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินงานตาม Agenda 21 นอกจากนี้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ควรได้รับปัจจัยที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการเสริมสร้างความชำนาญการและทักษะในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
ประชาคมระหว่างประเทศต้องให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับกลางและระดับ |
ต่ำในการจัดการกับปัญหาหนี้สินต่างประเทศ (foreign debt) เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีงบประมาณเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเสริมสร้างรูปแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนายังมีความต้องการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดและมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนจากนโยบายของชาติที่ส่งเสริมการลงทุนและการลงทุนร่วม ประเทศกำลังพัฒนาต้องให้มีการค้าเสรี และการเข้าถึงตลาดสินค้าของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้บรรลุถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินงานตามแผนงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างได้ผลดี |
|
นอกจากนี้ ควรมีความพยายามเป็นพิเศษที่จะจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ |
NGOs โดยการบริจาคสนับสนุนจากสาธารณชน |
|
เงินทุนอาจจะได้มาจากการหันเหทรัพยากรที่จัดสรรเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการทหารไปใช้ |
ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
ประมาณการค่าใช้จ่ายของ Agenda 21 |
|
ฝ่ายเลขาธิการของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ได้ประมาณ |
การค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ปรากฏใน Agenda 21 แม้ว่าแผนการดำเนินงานของ Agenda 21 จะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงศตวรรษหน้า แต่ประมาณการค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นส่วนใหญ่ครอบคลุมระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2536-2543 ค่าใช้จ่ายของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีประมาณ 561.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในจำนวนนี้ ประมาณสองในสามจะมาจากประเทศกำลังพัฒนา ส่วนที่เหลือประมาณหนึ่งในสามหรือประมาณ 141.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะมาจากความช่วยเหลือในลักษณะผ่อนปรนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว |
 |
|
เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ประเทศจำเป็นต้องเข้าถึงและได้รับการฝึกอบรมใน |
เรื่องการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดและสิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลงเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ประเทศจำเป็นต้องเข้าถึงและได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดและสิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลง |
|
เทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมครอบคลุมไม่เฉพาะในเรื่องส่วนอุปกรณ์ (hardware) เท่านั้น |
แต่รวมถึงความรู้ที่จะนำไปใช้งาน (know-how) บริการต่างๆ เครื่องมือ ทักษะในด้านการจัดองค์การและการจัดการเพื่อสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดผล |
|
ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะบรรลุถึงการพัฒนา |
อย่างยั่งยืน เพื่อเข้ามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจโลก ในลักษณะของการมีความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกัน (partners) เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเพื่อบรรเทาความยากจนและความทุกข์ยากของประชากร ในการนี้ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องปรับปรุงเทคโนโลยีบางอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น |
|
มีความจำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องได้รับเทคโนโลยีดังกล่าว รวมทั้งทักษะทางด้านการจัดการ |
วิชาการ และเศรษฐกิจที่จะใช้และพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้น ข้อเสนอการถ่ายทอดเพื่อเทคโนโลยีจะต้องรวมถึงการให้ข้อมูลในเรื่องความเสี่ยงภัยที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเพื่อให้ประเทศที่ได้รับสามารถเลือกตัดสินใจอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีที่นำเข้าจากต่างประเทศควรสอดคล้องกับลำดับความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศผู้รับ ในบางกรณี เทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศสามารถนำไปรวมกับนวัตกรรม (innovations) หรือการประดิษฐ์คิดค้นของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นเทคโนโลยีชนิดใหม่ขึ้นมาได้ |
|
รัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศควรส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมซึ่ง |
ไม่ตกอยู่ภายใต้การคุ้มครองทางสิทธิบัตร (patents) หรือเป็นสาธารณสมบัติ (public domain) ควรมีการซื้อสิทธิบัตรหรือใบอนุญาต (licences) ของเทคโนโลยีบนเงื่อนไขเชิงพาณิชย์ และถ่ายทอดไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาบนเงื่อนไขที่มิใช่เชิงพาณิชย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ควรให้การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights) ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว |
|
การใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมจำเป็ต้องอาศัยการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบให้กับช่างฝีมือ |
(craftpersons) ช่างเทคนิค (technicians) ผู้จัดการในระดับกลาง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักการศึกษา นอกจากนี้ควรฝึกอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ในการประเมินและจัดการเทคโนโลยี และในการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งประเมินความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยีด้วย |
|
ควรสนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานในประเทศที่พัฒนา |
แล้วได้มีโอกาสเดินทางกลับไปเยือนหรือย้ายถิ่นฐานกลับไปยังบ้านเกิดบนพื้นฐานของความสมัครใจ |
|
ควรมีศูนย์ระหว่างประเทศซึ่งมีความชำนาญการในด้านต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่ง |
แวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน ศูนย์เหล่านี้จะดำเนินการศึกษาและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี และยังช่วยในการพัฒนา การจัดการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวระหว่างประเทศต่างๆ โดยการร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับภาคธุรกิจเอกชน |
 |
|
ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับหนึ่งหรือสองศตวรรษที่ผ่านมา |
โลกในศตวรรษหน้าจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ หลายประการ และคาดหวังจะมีความประหลาดใจเกิดขึ้นด้วย |
|
การบริโภคพลังงาน น้ำ และทรัพยากรที่ไม่คืนรูปต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดความขาดแคลน |
ขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะช่วยสนับสนุนการจัดการอย่างรอบคอบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เพื่อการอยู่รอดในปัจจุบันและในอนาคตของมนุษยชาติในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจในเรื่องต่างๆ มากยิ่งขึ้น เช่นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มประชากรและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ควรนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
ในการเชิญกับภัยคุกคามที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดความเสียหายโดยไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้นั้น |
ไม่ควรนำเอาความไม่แน่นอนทางวิทยาศาตร์มาใช้เป็นข้ออ้างในการประวิงการดำเนินงาน ซึ่งมีเหตุผลและถูกต้องในตัวของมันเอง* เป็นการฉลาดที่จะตัดสินใจต่างๆ โดยใช้แนวทางป้องกัน (precautionary approach) เพื่อลดความเสี่ยงภัยที่จะเกิดผลกระทบกับระบบนิเวศอันสลับซับซ้อน |
|
รัฐบาลควรให้การสนับสนุนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานของ |
สิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนขึ้น และช่วยให้การคาดการณ์ในเรื่องความสามารถของธรรมชาติที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของมนุษยชาติได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์สามารถให้แนวความคิดในเรื่องวิธีการที่จะใช้พลังงานและทรัพยากรในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ในด้านอุตสาหกรรม การเกษตรและการขนส่ง เป็นต้น |
|
เราจำเป็นต้องใช้วิธีการสังเกตการณ์จากอวกาศเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้นว่าชั้นบรรยากาศ |
น้ำ และโลกของเรารวมตัวกันขึ้นเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดได้อย่างไร |
|
ในขณะเดียวกัน เราจำเป็นต้องประสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าดังกล่าวเข้ากับความรู้ |
ที่ดีที่สุดของท้องถิ่นและของพื้นเมืองจากวัฒนธรรมต่างๆ ที่แตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมในเรื่องระบบธรรมชาติ นิเวศวิทยา และการจัดการทรัพยากรเพื่อจะช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมในการศึกษาวิจัย และที่เกิดจากโครงการพัฒนาต่างๆ |
|
โลกจำเป็นต้องมีการประเมินผลทางวิทยาศาสตร์ในระยะยาวเกี่ยวกับการสูญเสียทรัพยากรการใช้ |
พลังงานผลกระทบทางด้านสุขภาพและแนวโน้มประชากร ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการประเมินในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก ผลลัพธ์จากการประเมินควรจะได้รับการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้โดยทั่วไป |
|
นอกจากนี้ ควรมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เกี่ยวกับความสามารถของธรรมชาติในการค้ำจุนสิ่งมีชีวิต |
ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค ในการตอบสนองความต้องการของมนุษยชาติและของส่วนอื่นๆ ของธรรมชาติ การตรวจสอบดังกล่าวจะช่วยชี้นำโครงการพัฒนาต่างๆ โดยการกำหนดบริเวณพื้นที่และทรัพยากรที่จะเกิดความเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น วิทยาศาสตร์ต้องศึกษาให้รู้ว่ามีทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์อะไรบ้างที่จะนำไปสู่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจของโลกและของท้องถิ่นได้อย่างไร |
|
ประเทศต่างๆ ควรพัฒนาเครื่องมือ (tools) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น |
 |
|
ประชาชนเป็นจำนวนมากยังขาดความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกิจกรรม |
ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขาดข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ |
|
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะเพิ่มพูนความรู้สึก (sensitivity) และการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน |
ในการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา การศึกษาจะช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม การมีค่านิยม ทัศนคติ ทักษะและพฤติกรรมที่จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการนี้การศึกษาควรให้ความรู้แก่ประชาชนไม่เฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและกายภายเท่านั้น แต่รวมถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม และในเรื่องการพัฒนามนุษย์ (human development)* ด้วย |
|
การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมความรู้และความเข้าใจทางด้านสิ่งแวดล้อมและ |
การพัฒนาทุกๆ ประเทศควรพยายามขยายระดับการศึกษาออกไป โดยให้ 80% ของเด็กหญิงและเด็กชายสำเร็จการศึกษาขั้นปฐม ทั้งในระบบการศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียน นอกจากนี้ ควรลดอัตราการไม่รู้หนังสือของผู้ใหญ่ลงประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราในปี พ.ศ. 2533 อัตราการรู้หนังสือของสตรีควรอยู่ในระดับเดี่ยวกับบุรุษ |
|
ในการปรับปรุงการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศต่างๆ ควรดำเนินการ |
|
- ให้ประชาชนทุกๆ วัยได้รับความรู้และการศึกษาในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา |
|
- นำเอาแนวความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนารวมทั้งในเรื่องประชากร รวมไว้ในโครงการทางด้านการศึกษาทุกระดับ โดยมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุในประเด็นปัญหาที่สำคัญๆ และควรเน้นเป็นพิเศษที่จะให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ (decision makers) |
|
- ให้เด็กนักเรียนศึกษาในเรื่องสภาวะสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและภูมิภาค รวมทั้งในเรื่องการมีน้ำดื่มและอาหารที่ปลอดภัยการสุขาภิบาลและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจากการใช้ทรัพยากร |
|
โลกต้องการแรงงานที่สามารถปรับตัวและยืดหยุ่น และมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาทางด้าน |
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่กำลังเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ยั่งยืน ดังนั้นประเทศต่างๆ ควรจะ |
|
- จัดตั้งแผนงานฝึกอบรมสำหรับผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน |
|
- สนับสนุนภาคต่างๆ ในสังคม รวมทั้งอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย รัฐบาล NGOs และองค์การต่างๆ ของชุมชน ในการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม |
|
- ให้เจ้าหน้าที่เทคนิคทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการคัดเลือกและศึกษาอบรมในระดับท้องถิ่นทำหน้าที่ให้บริการตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ เริ่มตั้งแต่การให้การให้ความคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น |
|
- ส่งเสริมให้สาธารณชนมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยผ่านสื่อมวลชน สื่อการแสดงและการบันเทิง รวมทั้งสื่อการโฆษณาต่างๆ |
|
- นำเอาประสบการณ์และความเข้าใจของคนพื้นเมืองในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและฝึกอบรม
|
 |
|
การที่ประเทศแต่ละประเทศจะสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยสมรรถนะของ |
ประชาชนและสถาบันต่างๆ ภายในประเทศ ที่จะเข้าใจประเด็นอันสลับซับซ้อนทางด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางของการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม |
|
ประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อจะเข้าใจศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม และจะประสบ |
กับทางเลือกนโยบายที่ยุ่งยากในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่างๆ เช่น ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการคุ้มครองความหลากหลายของชีวภาพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยทักษะในทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี องค์การ สถาบันและอื่น |
|
รัฐบาลควรหารือกับสาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อดูว่าจะช่วยปรับปรุงสมรรถนะของประชาชน |
อย่างไรบ้างเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามแผนดำเนินงานของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การหารือดังกล่าว ถ้าหากเป็นไปได้ควรจะกระทำภายในปี พ.ศ. 2538 และควรมีพื้นฐานบนฉันทามติของชาติอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ภายในปี พ.ศ. 2541 สหประชาชาติควรเสนอแนะว่าจะมีมาตรการเพิ่มเติมอะไรที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมแผนงานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
การเสริมสร้างสมรรถนะเป็นก้าวสำคัญสำหรับการจัดเตรียมกลยุทธ์ของประเทศเพื่อการพัฒนา |
อย่างยั่งยืนและในการจัดเตรียมแผนดำเนินงานของ Agenda 21 ประเทศต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่ได้รับมาจาการจัดเตรียมรายงานของชาติเพื่อการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) รวมทั้งจากกลยุทธ์ในการอนุรักษ์ในการอนุรักษ์และแผนงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน |
|
ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือและความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น |
ในการจัดลำดับความสำคัญเพื่อรองรับกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ ในระยะยาว มากกว่าที่จะมุ่งความสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่อย่างเดียว ตัวอย่างเช่นผู้ทำงานในภาครัฐบาลและเอกชนจำเป็นต้องทราบถึงวิธีการที่จะประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาทุกโครงการตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น |
|
ความช่วยเหลือในรูปแบบของการสร้างทักษะ ความรู้ทางเทคนิคที่จะนำไปใช้งาน |
(technical know how) อาจจะมาจากองค์การสหประชาชาติ รัฐบาล เทศบาล NGOs มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย องค์การธุรกิจและภาคเอกชนอื่นๆ ในการนี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้รับมอบความรับผิดชอบในการระดมเงินทุนนานาชาติและการประสานแผนงานเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะดังกล่าว |
 |
|
ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ในเรื่องการติดตามผลการประชุม UNCED ได้มอบหมายให้กับสมัชชา |
สหประชาชาติ โดยประเทศสมาชิกทุกประเทศจะต้องกำหนดนโยบายและมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี องค์การสหประชาชาติควรพิจารณาจัดประชุมวาระพิเศษภายในปี พ.ศ. 2540 เพื่อทบทวนความคืบหน้าในการดำเนินงานตาม Agenda 21 |
|
ระบบสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้และจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างและฟื้นฟู |
(revitalzing) ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการดำเนินงานตามโครงการที่เป็นรูปธรรมของ Agenda 21 |
|
ที่ประชุม UNCED ได้เสนอแนะให้สหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมาธิการในระดับสูงในเรื่อง |
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development) โดยมีประเทศสมาชิกจากทุกภูมิภาคของโลก ในการดำเนินงานคณะกรรมาธิการดังกล่าวนี้ควรจะนำเอาความชำนาญการจากองค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ สถาบันการเงินระหว่างประเทศและ NGOs รวมทั้งจากอุตสาหกรรม ธุรกิจ และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ มาใช้ประโยชน์ คณะกรรมาธิการฯ จะตรวจสอบความคืบหน้าและปัญหาในการดำเนินงานตาม Agenda 21 และจัดทำข้อเสนอแนะไปยังสหประชาชาติเพื่อปรับปรุงแก้ไข |
|
ที่ประชุม UNCED ยังได้เสนอแนะให้เลขาธิการสหประชาชาติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา |
ในระดับสูง (high-level advisory board) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขึ้นมาอีกด้วย |
|
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) จะต้องพัฒนาและส่งเสริมในเรื่องการวัดค่าของ |
ทรัพยากรธรรมชาติและในเรื่องเศรษฐกิจของสิ่งแวดล้อม และจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการในการติดตั้งตามตรวจสอบเพื่อให้โลกมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งในการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ UNEP สามารถให้คำแนะนำรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเรื่องการที่จะผสมผสาน (integrate) ข้อพิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับแผนงานและนโยบายเพื่อการพัฒนาต่างๆ |
|
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งมีเครือข่ายงานทั่วโลกจะมีบทบาทนำในการระดม |
ความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ และประสารการดำเนินงานของระบบสหประชาชาติเพื่อที่จะสร้างความชำนาญการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและแข็งขันของ NGOs ชุมชนวิทยาศาสตร์และภาคธุรกิจรวมทั้ง |
ชุมชนและกลุ่มต่างๆ ของท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานให้เป็นไปตาม Agenda 21 |
 |
|
มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อที่จะรักษา |
ความสมดุลที่ละเอียดอ่อน ระหว่างความจำเป็นเพื่อการพัฒนากับความจำเป็นในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม |
|
ควรมีการทบทวนและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
กฎหมายระหว่างประเทศควรจะส่งเสริมให้เกิดการผสมผสานระหว่างนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา นอกจากนี้ควรกำหนดและหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม กับกฎหมายทางด้านเศรษฐกิจหรือสังคม |
|
วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง |
|
- การพัฒนาให้มีความตกลงที่จะสถาปนามาตรฐานระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาถึงสถานการณ์และความสามารถที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ |
|
- มีการพิจารณาทบทวนระหว่างประเทศถึงความเหมาะสมในการสถาปนาสิทธิและพันธกรณีโดยทั่วไปของประเทศต่างๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
- ดำเนินมาตรการที่หลีกเลี่ยงมิให้เกิดหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรการดังกล่าวรวมถึงการแจ้งให้ทราบหรือให้มีการเจรจาในประเด็นต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง จนถึงการใช้ประโยชน์ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้น |
|
เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆ ประเทศต้องเข้ามีส่วนร่วมในการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศในเรื่อง |
การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถูกร่างขึ้นมาโดยที่ประเทศกำลังพัฒนามิได้เข้าไปมีส่วนร่วมเท่าที่ควร ดังนั้น จึงมีการทบทวนความตกลงดังกล่าวที่จะสะท้อนความวิตกกังวลและผลประโยชน์ของประเทศเหล่านี้ |
|
มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศควรจะให้การยอมรับสถานการณ์และสมรรถนะที่ |
แตกต่างกันของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่วัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบระหว่างประเทศ นโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมควรแก้ไขสาเหตุของความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและไม่ควรถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความเข้มงวดทางด้านการค้าระหว่างประเทศโดยไม่จำเป็น |
|
ประเทศกำลังพัฒนาควรได้รับการสนับสนุนในความพยายามที่จะดำเนินงานตามความตกลง |
ระหว่างประเทศ และที่จะเข้ามีส่วนร่วมอย่างได้ผลดีในการเจรจาเพื่อจัดทำหรือแก้ไข และดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศ รวมถึงได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนทางด้านการเงิน เพื่อสร้างความชำนาญการทางกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย การสนับสนุนดังกล่าวรวมถึงข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง ความชำนาญการทางด้านวิชาการและวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นในการเข้าร่วมทำความตกลงทางกฎหมาย |
 |
|
ปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
แต่มีคนเป็นจำนวนมากประสบความยุ่งยากในการหาข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในขณะที่ต้องการนำมาใช้ |
|
ในหลายๆ ประเทศยังขาดการบริหารข้อมูลข่าวสารที่ดี เนื่องจากขาดเทคโนโลยีและผู้ชำนาญ |
ขาดการตระหนักถึงคุณค่าและการมีอยู่ของข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งการมีปัญหาเร่งด่วนอื่นๆ สภาพการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา และช่องว่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการนำมาใช้ คุณภาพและการเข้าถึงข้อมูลได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น |
|
นอกจากนี้ ยังมีความต้องการข้อมูลในลักษณะต่างๆ กัน ดัชนีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และการวัดปริมาณทรัพยากรแต่ละชนิดหรือมลพิษ ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอในเรื่องสภาวะความยั่งยืน มีความจำเป็นที่จะใช้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม ประชากร สังคมและการพัฒนา เพื่อสร้างดัชนีที่จะแสดงให้เห็นว่าเราได้สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด |
|
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ |
และในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ ประเทศต่างๆ ควรดำเนินการเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้ใช้ทรัพยากรได้รับข้อมูลข่าวสารและทักษะที่จำเป็นในการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างยั่งยืน ในบางกรณีจำเป็นต้องนำเอาความรู้ในแบบดั้งเดิมและพื้นเมืองของท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ด้วย |
|
ประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศควรจัดสรรข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการ |
พัฒนาเพื่อการจัดการในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประชากรในระดับต่างๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ประชาชนต้องการ |
|
- ได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นในเรื่องสภาวการณ์ต่างๆ เช่น อากาศในเมือง น้ำจืด ทรัพยากรที่ดิน (รวมทั้งป่าไม้และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์) สภาพการแปรเป็นทะเลทราย การเสื่อมโทรมของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ทะเลหลวงและชั้นบรรยากาศของโลกในตอนบน เป็นต้น |
|
- ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมทางด้านประชากร ชุมชนเมือง ความยากจน สุขภาพ สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มต่างๆ รวมทั้งสตรี คนพื้นเมือง เยาวชน เด็ก และคนพิการ |
|
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดทำดัชนีทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำไปใช้ |
ในการจัดทำรายงานของประเทศ เช่นในเรื่องการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมแผนงานสหประชาชาติที่จะติดตามสภาวการณ์ทางด้านความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ข้อมูลทั้งสองด้านควรจะนำไปใช้เพื่อการติดตามการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|
ในกรณีที่ต้องการใช้ระบบข้อมูลที่ซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เช่นการใช้ข้อมูลจาก |
ดาวเทียมประเทศกำลังพัฒนาต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ได้มาและเพื่อการใช้เทคโลยีดังกล่าว ข้อมูลทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทเอกชนควรนำมาใช้ประโยชน์เช่นเดียวกัน และในบางกรณีประเทศกำลังพัฒนาต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการเหล่านี้ |