![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ความหลากหลายทางชีวภาพ : ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท | |
บางคนอาจเข้าใจว่าการพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญเฉพาะทางวิชาการ |
|
หรือการดำรงความหลากหลายเอาไว้ก็เพื่อมนุษย์เราจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคตเช่น ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องอาศัยพืช-สัตว์ ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวก็ไม่ได้ผิดอะไร อต่อย่างไรก็ตามหากนำเอามุมมองของการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเพิ่มเข้าไปในวิธีคิดเราก็จะเห็นได้ว่าความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาชนบท อาร์นิล อาการ์วาล (Anil Agarwal) แห่ง Center for Science and Environment นครนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย กล่าวไว้ว่า | |
ผู้คนโลกจำนวนมากมายมหาศาล (คือ) คนจนในประเทศโลกที่สามต้องดำรงชีวิตอยู่บนเศรษฐกิจ |
|
ระดับยังชีพที่มีฐานอยู่บนมวลชีวภาพ ความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่างๆ ของพวกเขาในเรื่องอาหาร เชื้อเพลิง วัตถุเพื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ปุ๋ย วัตุดิบเช่น ไม้ไผ่ และหญ้านานาชนิด สำหรับหัตถกรรมพื้นบ้าน และเพื่อการประกอบอาชีพต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องมาจากมวลชีวภาพชนิดต่างๆ ทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วสามารถเก็บหามาได้โดยไม่ต้องซื้อหาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สำหรับผู้คนที่พึ่งพามวลชีวภาพเหล่านี้ (พวกเขา) มักไม่ได้ผลประโยชน์อะไรมากมายนักจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product) หากแต่มี GNP อีกชนิด หนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อพวกเขามากมาย นั่นคือสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่า ผลิตผลมวลรวมของธรรมชาติ (Gross Nature Product ) (Durning, 1989 :33) | |
คำกล่าวข้างบนนี้ได้รับการยืนยันจากการศึกษาและข้อมูลต่างๆ ที่กระทำกันในระยะหลังๆ โดยเฉพาะ |
|
จากนักวิชาการอิสระ นักวิชาการกึ่งนักพัฒนาขององค์กรพัฒนาเอกชนทั้งหลายในประเทศไทย | |
ด้วยเหตุนี้เราจึงอาจกล่าวเป็นข้อสรุปประการหนึ่งได้ว่า การแสวงหาความรู้ในเรื่องความหลากหลาย |
|
ทางชีวภาพหาใช่เป็นเรื่องท้าทายทางวิชาการเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ไม่แต่เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพผูกพันและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะผู้คนที่เราเรียกว่า คนชนบท คนบ้านนอกคอกนา ชาวไร่ ชาวสวน ในเชิงของการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่ชาวชนบทอาจไม่สามารถระบุออกมาเป็นประเภทหมวดหมู่ที่เป็นระบบตามความคาดหลังของนักวิชาการสมัยใหม่ได้ วิถีชีวิตของพวกเขาไม่เพียงแต่จะต้องพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพโดยตรงเท่านั้น แต่วิถีชีวิตดำรงอยู่และวิวัฒนาการต่อไป เพาะฉะนั้นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม(วิถีชีวิตของผู้คน) จึงเป็นแนวทางการพัฒนาที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งระดมให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า และดำเนินการอย่างเร่งด่วน ด้วยว่า ความหลากหลาย คือ สัจธรรมแห่งธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ | |
![]() |
ประสานการอนุรักษ์ | BACK | ความลงท้าย | ![]() |