Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

ความลงท้าย

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นนั้นมีสาระสำคัญว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ไม่ว่าจะ
เรียกมันว่าความเจริญก้าวหน้า (progress) ความทันสมัย (modernization) และการพัฒนา (development) หรือชื่ออื่นๆที่ให้ความหมายเดียวกันล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย ที่เคยเป็นวัฒนธรรมที่กำหนดให้วิถีการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้คนในชนบท ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่นอกจากจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมชุมชน ร่วมสังคมเดียวกันแล้ว ยังเป็นวิถีชีวิตที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับธรรมชาติและไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย วิถีชีวิตเช่นนี้มีหัวใจหลักอยู่ที่ความไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ผูกพันกับวัตถุ การทำมาหากินอยู่ในระดับที่เพียงพอกับการบริโภค อานิสงค์ที่ตามมาก็คือ การไม่เบียดเบียนทำร้ายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนร่วมโลก เกินกว่าความจำเป็นในการยังชีพ ให้เปลี่ยนมาสู่วัฒนธรรม (ระบบคิด) อีกแบบหนึ่งที่มีลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ความพึงพอใจกับชีวิตที่สงบเรียบง่าย ทำการผลิตในระดับเพียงพอกับการดำรงชีวิตและมีส่วนเกินเอาไว้เพื่อทำบุญสุนทาน ทั้งในด้านศาสนกิจ และทั้งการอุดหนุนจุนเจือ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถูกมองว่าเป็นความขี้เกียจ ความไม่ตื่นตัว ไม่กระตือรือร้นและด้อยพัฒนา

 

ดังนั้นสิ่งที่เรายึดถือกันมาโดยตลอดในช่วงสามทศวรรษเศษที่ผ่านมาคือประเทศเราจะต้องพัฒนา
ชนบทจะต้องได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ทำการผลิตมากขึ้นพร้อมกับต้องบริโภคมากขึ้น

 

การพัฒนาการเกษตรไม่เพียงแต่มีนัยว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคแต่มีนัยไปถึงการละทิ้งสาย
พันธุ์เดิม ที่มีค่านับร้อยๆ สายพันธุ์ พร้อมกันนั้นก็มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย หักหาญทำลายสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและโดยเฉพาะความหลากหลายทางชีวภาพ เปิดทางให้เฉพาะพืชพาณิชย์แต่เรียกให้ดูขลังว่าพืชเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชนิด

 

การพัฒนาด้านสาธารณสุขก็ดี การศึกษาก็ดี การเมืองก็ดี ศิลปนันทนาการต่างๆ ก็ดี ก็เข้าลักษณะ
เดียวกันคือ การโยนภูมิปัญญาและวิถีชีวิตการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย จากการบริโภคแบบเดิมที่มีฐานะอยู่บนความหลากหลาย กลายเป็นการบริโภคอาหารเพียงไม่กี่ชนิด ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ถ้าถามคนในเมืองว่ารู้จักผักอะไรบ้าง ชื่อของผักส่วนใหญ่ที่จะหลุดออกมาจากความคิดเขาก็จะได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี สลัด ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง แตงกวา มะเขือเทศ แครอท ฯลฯ ถ้าสังเกตดูจะเห็นได้ว่าผักต่างๆ ที่เอ่ยมานอกจากมีไม่กี่ชนิดแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผักจากระบบนิเวศเขตอบอุ่น ต้องปลูกต้องพ่นยาฆ่าแมลงและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในทางตรงกันข้ามชาวบ้านตามบ้านนอกที่ด้อยพัฒนา สามารถระบุชื่อผักได้นับร้อยๆชนิด ส่วนใหญ่เป็นผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามบริเวณบ้าน รั้วบ้าน สวนหลังบ้าน นา ไร่และป่า ปลอดจากสารพิษสารเคมีทั้งหลาย ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่หน่วยงานของรัฐ เมื่อออกมารณรงค์ให้ประชาชนบริโภคผักจึงนึกถึงผักประเภท คะน้า กวางตุ้ง หรือบางครั้งก็ "เว่อ" ถึงขั้นแนะนำให้ประชาชนบริโภค "แครอท" หน่วยงานทางด้านการศึกษาของชาติ บรรจุยกร่องปลูกผัก "ตลาดๆ"ไม่กี่ชนิด ผักเหล่านี้ง่ายต่อการถูกแมลงทำลายก็จะต้องพ่นยาฆ่าแมลงที่ทำจากสารเคมี การแก้ปัญหาด้วยการใช้สมุนไพรเช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอมก็เป็นเรื่องที่ดี แต่เหตุไฉนไม่สนับสนุนให้นักเรียนตามชนบทเห็นความสำคัญของผักที่อยู่ตามธรรมชาติ

 

สมุนไพร ดูเหมือนจุได้รับความสนใจแต่ทิศทางของการศึกษาค้นคว้าตลอดจนวัตถุประสงค์ของการ
ผลักดันเรื่องสมุนไพรจะต้องได้รับการพิจารณากันใหม่ บทความนี้ไม่คัดค้านแต่สนับสนุนการค้นคว้าเรื่องสมุนไพรเพื่อพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเชิงพานิชย์ แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องของสมุนไพรจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการพึ่งตนเองในเชิงสาธารณสุขของชาวบ้านได้ด้วย

 

การทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นผลพวงอีกประการหนึ่งของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น
การพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ เราได้เปลี่ยนวิธีคิดและวิถีชีวิตของเราให้เป็นแบบตะวันตก เท่านั้นยังไม่พอเรายังเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวชนบทและชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆให้เหมือนกับของตะวันตกด้วย การเปลี่ยนแปลงที่ทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจอ้างว่าเพื่อให้เกิด "บูรณาการทางการเมือง" (political integration) ก็ดี หรืออ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคงก็ดีในท้ายที่สุดแล้วมีผลในการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครงการสนับสนุนปลูกพืชทดแทนฝิ่น ด้วยพืชผัก ผลไม้ และดอกไม้ของเขตหนาวเขตอบอุ่น (temperate zone) คือตัวอย่างชัดเจน ภูเขาในภาคเหนือตอนบนเต็มไปด้วยไร่กระหล่ำปลีสุดลูกหูลูกตาเช่นเดียวกับภาคเหนือตอนล่าง ในเขตจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ โดยเฉพาะบริเวณเขาค้อเป็นต้น

 

พัฒนาการของสังคมไทย เมื่อมองจากด้านสิ่งแวดล้อมเรากำลังเคลื่อนตัวจากความหลากหลายทาง
ชีวภาพไปสู่การลดความหลากหลายทางชีวภาพหัวใจของแผนแม่บทป่าไม้แห่งชาติฉบับที่กำลังจะมาถึงคืออุทาหรณ์ที่ชัดเจนกล่าวคือ จากป่าธรรมชาติที่หลากหลายไปสู่ป่าปลูกที่มีไม้ไม่กี่ชนิดหรือชนิดเดียวคือ monoculture เมื่อหันมามองทางวัฒนธรรม เราก็กำลังก้าวจากความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไปสู่วัฒนธรรมเดี่ยวคือ monoculture เช่นเดียวกัน…จะทำอย่างไรกันต่อไป

       

ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท BACK