![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ประสานการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ | |
ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพื้นเมือง วัฒนธรรมท้องถิ่น หรือเราอาจเรียกว่าชีวิตของชุมชนและความหลาก |
|
หลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคามด้วยกันทั้งคู่โดยสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่และโดยการเกษตร (สมัยใหม่) อุตสาหกรรมกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัฒนธรรมสมัยใหม่ดำรงอยู่โดยมิใช่เป็น "ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ" แต่เป็น "ต่างหากจากธรรมชาติ" ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมสมัยใหม่ทั้งหลายต้องขึ้นอยู่หรือพึ่งพาการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจโลก การแตกสลายของวิถีชีวิตของชุมชนชนบทมักได้รับการอธิบายอย่างมักง่ายและเห็นแก่ตัวว่า วัฒนธรรมและชีวิตของชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่ต้องตายไปเป็นเพียง "ผลกระทบทางสังคมของการพัฒนา" หรือไม่ก็ใช้คำว่า "เพื่อความเจริญ ความก้าวหน้า การพัฒนาของส่วนรวม เราก็จำเป็นต้องเสียสละส่วนน้อยเพื่อแลกกับความเจริญ" (Oldfield and Alcorn et. al., 1991: 4) | |
แต่ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า จำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องทำลายวัฒนธรรมชนบท วัฒนธรรมชนเผ่า |
|
วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย ที่โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างไปจากวัฒนธรรมและกระแสหลักของไทย หรือของโลก เพื่อแลกกับสิ่งที่เราเรียกว่า "ความเจริญ" หรือ "การพัฒนา" ซึ่งในขณะนี้เราเริ่มจะไม่มั่นใจแล้วว่านั่นคือ ความเจริญ หรือการพัฒนาที่ถูกต้อง | |
ทิศทางของการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพน่าจะควบคู่ไปกับการรักษาความหลากหลายทาง |
|
วัฒนธรรม อัลท์ชูล (S.V.R.Altschul) กล่าวไว้ว่า พืชมากมายหลายชนิด กำลังจะสูญพันธุ์เช่นเดียวกันกับผู้คน และความรู้พื้นบ้านที่บรรจุไว้ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับพืชเหล่านั้น ในขณะที่สังคมที่ก้าวหน้าทั้งหลายขยายตัวเข้าไปทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (Oldfield and Alcorm et al.,1991: 4) | |
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อความคิดที่อยู่เบื้องหลังวิถีการอนุรักษ์และธำรงไว้ซึ่งความหลาก |
|
หลายทางชีวภาพว่า แทนที่จะตั้งคำถามทำนองว่า จะเอาป่าหรือจะเอาคน ถ้าจะเอาป่าก็ต้องเอาคนออก (ในที่นี้ป่าหมายถึงความหลากหลายทางชีวภาพ) หลังจากบทเรียนต่างๆที่ได้รับมาในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะมีคำตอบที่ดีกว่านั้นได้ | |
ความคิดที่จะอยู่เบื้องหลังการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยและในประเทศอื่นๆ |
|
ส่วนใหญ่ก็คือแนวคิดดั้งเดิม คือการรักษาพื้นที่ธรรมชาติเอาไว้ไม่ให้มนุษย์เข้าไปรบกวนในรูปของอุทยานแห่งชาติบ้างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง สำหรับในกรณีของประเทศไทยในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาป่า ได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ มาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือการขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น ออกไปเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็วด้วยในหลายกรณีทับลงบนบ้าน หมู่บ้าน และที่ทำกินของชาวบ้านพร้อมทั้งหวังผลว่าจะสามารถรักษาป่าและความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้ โดยอาจมีเป้าหมายว่าจะให้มีป่าและหรือพื้นที่อนุรักษ์ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ | |
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามก็คือ อาจมีตัวเลขพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้นจริงแต่ขอบขีดความสามารถของ |
|
หน่วยงานที่จะรักษาพื้นที่อนุรักษ์มีไม่เพียงพอ ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การบริหาร ไม่เอื้ออำนวยต่อการรักษาพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความพยายามในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในทำนองนี้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะกับชุมชนและผู้คนชนบทที่อยู่ใกล้ป่าระบบนิเวศนั้นๆ และจำเป็นที่จะต้องอาศัยทรัพยากรจากระบบนิเวศนั้นเพื่อการดำรงชีพ สิ่งที่มักจะเกิดกับพวกเขามีอยู่สองประการคือ หนึ่งถูกอพยพออกจากถิ่นฐานบ้านเรือนที่เคยอาศัยอยู่มานานบางครั้งหลายชั่วอายุคน ในกรณีที่ดีหน่วยรัฐก็สามารถจัดหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่ดีเท่าๆ กับที่เดิมให้ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่เป็นเช่นนั้น สอง รัฐใจดีกันพื้นที่บ้านและพื้นที่เพาะปลูกออกให้ไม่รวมอยู่ในเขตพื้นที่ของเขตป่าอนุรักษ์ แต่รัฐไม่เข้าใจว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านไม่พึ่งนา พึ่งไร่ แต่เพียงอย่างเดียว หากต้องอาศัยเก็บหาวัตถุปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพจากป่าด้วย เช่นการเก็บหาของป่าการล่าสัตว์เป็นต้น ดังนั้นในกรณีนี้ชาวบ้านจึงต้องตกอยู่ในสถานะของผู้บุกรุก ผู้ลักลอบล่าสัตว์ ผู้ละเมิดกฎหมาย และถูกจับกุมอยู่เนืองๆ | |
ด้วยเหตุนี้ แดสมานน์ (Dasmann) จึงกล่าวว่า นักอนุรักษ์บางกลุ่มได้เริ่มวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ |
|
ดังกล่าว แล้วได้ข้อสรุปที่ยอมรับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหลักการสำคัญว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติ กับการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งหรือต้องแยกออกจากกัน แต่ข้อเท็จนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (Oldfield and Alcorn Et.al.,1991 : 11) | |
กระนั้นก็ตามในหลายๆ แห่งของโลกก็ได้เริ่มดำเนินการตามหลักการที่กล่าวข้างต้นในการอนุรักษ์ |
|
เขตอุทยานต่างๆ พร้อมกันนั้นก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เช่นในกรณีของประเทศปานามา อเมริกาเหนือ แซมเบีย และชิมบับเว เป็นต้น วิธีการที่นำมาใช้นี้โดยหลักการก็คือ ให้คนในท้องถิ่นได้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการรักษาพื้นที่อนุรักษ์ โดยมีการกำหนดวิธีการ กติกาและการจัดการร่วมกันระหว่างนักอนุรักษ์กับชาวบ้าน | |
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ กรณีแซมเบีย (Zambia) ซึ่งในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2531 องค์กร ชื่อ |
|
World Wildlife Fund สาขาประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติความช่วยเหลือโครงการหนึ่งในประเทศแซมเบียที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จด้วยดี โดยสาระสำคัญแล้ว เป็นโครงการที่คืนความรับผิดชอบโดยตรงในเรื่องการจัดการและการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นเขตกันชน พื้นที่นี้เรียกว่า พื้นที่จัดการการล่าสัตว์ ในพื้นที่นี้คนสามารถล่าสัตว์ได้แต่ต้องมีใบอนุญาต ส่วนการมช้ที่ดินในรูปแบบอื่น เช่น การทำการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมของชาวบ้านไม่มีการควบคุมการล่าสัตว์ส่วนใหญ่จะมาจากคนภายนอกผู้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐบาลสูงมากส่วนชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ล่า หรือได้รับรายได้จากการล่าสัตว์โดยคนภายนอกดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจอะไรเลยที่ในที่สุดแล้วชาวบ้านก็ลักลอบล่าสัตว์ทั้งโดยตรงและโดยการร่วมมือกับคนนอกที่ตกลงแบ่งเนื้อสัตว์ให้ซึ่งกันและกัน รัฐบาลของแซมเบียได้ใช้จ่ายเงินไปมากมายในการจัดเวรยามตระเวนรักษาการ แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็เข้าไปไม่ถึงพื้นที่ที่ห่างไกลอยู่ดี ต่อมาจึงได้คิดหาวิธีการกันใหม่ ภายใต้วิธีการใหม่นี้พวกพรานที่เป็นคนนอก และจ่ายเงินเข้ามาเพื่อล่าสัตว์แบบ "ซาฟารี" จะต้องจ้างคนท้องถิ่นเป็นผู้นำทาง และรายได้จากการจัดการล่าสัตว์แบบซาฟารีนี้ต้องแบ่งให้กับชุมชนท้องถิ่นโดยตรง นอกจากนั้นรายได้ที่เกิดจากการขายของที่ทำมาจากของป่า ก็จะต้องนำไปให้แก่หมู่ล้านที่เป็นเขตกันชนป้องกันอุทยานทั้งหลาย เท่านั้นยังไม่พอ ปัจจุบันชาวบ้านด้รับอนุญาตให้ล่าสัตว์ภายใต้ขอลขีดจำกัดที่ตั้งอยู่บนฐานของความยั่งยืนถาวร โดยนัยนี้พรานหรือเวรยามของหมู่บ้านร่วมมือกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาเขตอุทยาน และพวกเขาก็ได้แสดงออกซึ่งความสามารถในการหยุดยั้งการลอบล่าสัตว์โดยคนภายนอกได้สำเร็จไม่ว่าจะในฤดูฝนหรือฤดูแล้ง ด้วยว่าบัดนี้แรงจูงใจของพวกเขาคือ การป้องกันสัตว์ป่า และ รายได้ของพวกเขาเอง (Oldfield and Alcorn et.al., 1991 : 12-13) | |
ในกรณีของประเทศไทย เคยมีโครงการทำนองนี้ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและ |
|
พรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากองค์กรต่างประเทศแห่งหนึ่งแต่ผู้เขียนไม่ได้ติดตามว่าผลของการทดลองในโครงการดังกล่าวนี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้รับการประเมิณและนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการอุทยานแห่งชาติหรือป่าอนุรักษ์ในเขตอื่นหรือไม่และมากน้อยเพียงใด | |
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยที่ชาวบ้านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน |
|
กรณีของการอนุรักษ์พะยูน แหล่งหญ้าทะเลของชาวบ้านในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยและในบริเวณ "ป่าชุมชน" อีกหลายป่าของประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นตัวบ่งบอกให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า วิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้ผลดีนั้น ในหลายกรณีต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม | |
อนึ่งมาตรการในการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพมิเพียงแต่ทำได้โดยการพยายามรักษา |
|
ระบบนิเวศ หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตคงสภาพตามธรรมชาติไม่ถูกรบกวนในรูปของอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่า ฯลฯ อันเป็นวิธีการที่เรียกในหมู่นักชีววิทยาว่า "insitu" เท่านั้น แต่การเก็บพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไว้นอกถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติหรือที่นักชีววิทยาเรียกว่า "ex situ" เช่น การเก็บพันธุ์ไว้ในธนาคารยีนหรือสวนรุกขชาติ สวนพฤกษชาติและสวนสัตว์ก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่มาตรการที่ได้ผลดีที่สุด ก็ยังคงเป็นวิธีการเก็บไว้ในสภาพธรรมชาติของมันอยู่นั่นเองดังนั้นหากการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในลักษณะนี้ไม่อาจทำได้โดยวิธีกันคนออกแล้ว การมีส่วนร่วมของผู้คนในท้องถิ่น น่าจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้มากกว่า | |
นอกจากนั้นเนื่องจากคำว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพ" มีความหมายถึง องค์รวมทั้งหมดของชนิด |
|
ประชากร ชุมชน และระบบนิเวศ ทั้งหลายทั้งปวงของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ตามธรรมชาติ และที่มนุษย์เพาะเลี้ยง ปลูกที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตของบริเวณแห่งหนึ่งของโลก (Oldfield and Alcorn et.al., 1991 : 8) ดังนั้นการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพจึงปรากฏให้เห็นอยู่ในไร่ในนา ในสวน ในป่า ที่ชาวบ้านยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขาเอาไว้ | |
ภารกิจที่ท้าท้ายนักวิชาการอยู่ก็คือ การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการศึกษา |
|
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิธีการที่เคารพในภูมิปัญญาและร่วมมือกับเจ้าของภูมิปัญญานั้นๆ | |
ส่วนภารกิจของนักพัฒนา-นักอนุรักษ์ คือ กิจกรรมการพัฒนาที่มีเนื้อหาหรือเป้าประสงค์สูงสุดในการ |
|
ดำรงอยู่ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของคนในชนบท ชาวผ่า ชาวเขา ชาวดอย ที่หลากหลายผิดแผกไปจากวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขา |
![]() |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม | BACK | ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท | ![]() |