![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
สถานภาพขององค์ความรู้ เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย | |
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ |
|
ไปน้อยกว่าประเทศในเขตร้อนอื่นๆ หรือเขตใดๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของพรรณพฤกษชาติชั้นสูงชั้นต่ำ สัตว์ แมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ แต่ปัญหาที่สำคัญมีอยู่อย่างน้อยสองประการคือ หนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ของเรายังมีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ และประโยชน์โดยตรงของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นและ สอง เชื่อกันว่าอัตราการสูญสลายหรือการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้ชื่อของ "การพัฒนา" โดยที่เกือบจะไม่มีใครทัดทานได้ | |
ด้วยเหตุนี้ภารกิจที่สำคัญของนักวิชาการ หน่วยราชการ องค์กรพัฒนา เอกชนที่มีความรับผิดชอบและ |
|
มีสายตาที่ยาวไกล รวมทั้งสาธารณชนจะต้องร่วมกันผลักดันคือ การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ที่ขาดหายไปนี้ให้พบและในขณะเดียวกัน ก็ต้องหาลู่ทางปรับเปลี่ยนกระแสการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพที่กำลังดำเนินไปอย่างหนักหน่วงและรุนแรงในขณะนี้ภายใต้นามของ "การพัฒนา" หากยังคงปล่อยให้ประเทศไทยพัฒนาไปในทิศทางที่เป็นอยู่ เป็นที่แน่นอนว่าลูกหลานของเราจะต้องประสบกับหายนะภัยในอนาคตที่ไม่ไกลนัก | |
สถานภาพแห่งองค์ความรู้และสภานภาพทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยอาจ |
|
พิจารณาได้อย่างย่อๆ ดังนี้ | |
ระบบนิเวศทางบก พรรณพฤกษชาติ |
|
ธวัชชัย สันติสุข มีความเห็นว่า แม้ว่าการสำรวจพรรณพฤกษชาติในประเทศไทยจะได้เริ่มมีการทำ |
|
มานานแล้วก็ตามทั้งโดยนักวิชาการต่างชาติและไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความเรารู้จักหรือมีตัวอย่างพันธุ์ไม้ของประเทศครบถ้วนสมบูรณ์ มีพื้นที่อีกมากมายหลายแห่งที่นักสำรวจกันอย่างจริงจังโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องก็มักจะพบพันธุ์ไม้ที่พบเป็นครั้งแรกของประเทศ หรือพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น แม้แต่บริเวณเทือกเขาดอยสุเทพ-ปุย ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองไม่ใช่บริเวณทุรกันดารเลยกับทั้งเป็นบริเวณยังมีการสำรวจพรรณพฤกษชาติกันบ่อยครั้ง เช่นใน ปีพ.ศ. 2512 สำรวจพบพรรณพฤกษชาติที่มีท่อลำเลียงของดอยสุเทพ-ปุย 679 ชนิด แต่ต่อมาจากการสำรวจพันธุ์ไม้เฉพาะที่แบบต่อเนื่องจนปัจจุบัน พบว่าจำนวนที่สำรวจพบเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,700 ชนิด กล่าวคือ พบใหม่อีกถึง 1,021 ชนิด ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่าหากมีการสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้เฉพาะที่แบบต่อเนื่องเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ความรู้เรื่องความหลากหลายทางพรรณพฤกษชาติของประเทศไทยจะต้องเพิ่มขึ้น (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ , ศุภชัย หล่อโลหะการ บก. ,2532 : 87) | |
สัตว์ นก |
|
จากผลการศึกษา สำรวจและรวบรวมชนิดของนกที่พบในเมืองไทยที่ที่ทำโยทั้งชาวต่างประเทศและ |
|
ชาวไทยพบว่าปัจจุบันมีนกไม่น้อยกว่า 916 ชนิด ที่พบในประเทศไทย (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโลหะการ บก.,2532:21) อย่างไรก็ตามก็เช่นเดียวกับกรณีของพรรณพืชเราไม่สามารถบอกได้ว่าเราได้ศึกษาสำรวจนกทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ความจำเป็นการศึกษาสำรวจต่อไปยังมีอยู่ และปัญหารเรื่องการทำลายระบบนิเวศอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกก็กไลังเกิดขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งย่อมมีผลทำให้เกิการเปลี่ยนแปลงในเรื่องจำนวนและความหลากหลายของนกอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ตัวอย่างเช่นการขุดลอกบึงบรเพ็ด การเปลี่ยนแปลงสภาพของทะเลน้อย (จังหวัดสงขลา พัทลุง) โดยกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เช่นการถมที่ และการทำลายป่าชายเลนย่อมส่งผลกระทบอย่างแรงต่อนกน้ำในบริเวณนั้นๆ การทำลายป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียงก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนกทั้งสิ้น นกที่พบในประเทศไทยที่กำลีงจะสูญพันธุ์ไป เช่น นกกระเรียนไทยหรือ Eastern Sarus Crane ซึ่งมีถิ่นกำเนิดไม่เพียงในประเทศไทย แต่ยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และออสเตรเลีย ก็ตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ มีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนัก เพราะถูกไล่ล่ากับทั้งสภาพแวดล้อมของแหล่งอาศัยหากิน อันได้แก่บริเวณที่น้ำขังหรือที่ชุ่มน้ำ (wetland) เช่น หนอง บึง ถูกทำลายเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้นกขาดแหล่งอาหารและแหล่งสร้างรังวางไข่ขยายพันธุ์ รายงานล่าสุดทำเมื่อปี พ.ศ. 2533 ระบุผลการสำรวจว่าพบนกกระเรียนพันธุ์ไทย ทั่วโลกเหลืออยู่ประมาณพันกว่าตัวเท่านั้น (วารสารสารคดี,2534 : 136) นกแต้วแร้วท้องดำ นกประจำถิ่นของป่าร้อนชื้นภาคใต้ก็กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ด้วยสาเหตุเดียวกันเช่นกัน | |
![]() ![]() ![]() |
|
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม | |
เริ่มมีการศึกษาโดยชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2432 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 นักวิชาการต่าง |
|
ประเทศชื่อ S.SFlower รวบรวมรายชื่อไว้รวม 160 ชนิด ปัจจุบันมีการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 271 ชนิด จาก 121 สกุลใน 42 วงศ์ เนื่องจากเร็วๆ นี้ได้มีการพบค้างคาวชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโลหการ บก.,2532:22) | |
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน | |
การศึกษาประเภทนี้ เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2401 - 2404 โดย Hwney Mouhot ชาวฝรั่งเศษจน |
|
ปัจจุบัน Nabhitabhata (จารุจินต์ นภีตภัฏ) ได้สรุปจำนวนชนิดสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่พบในเมืองไทยว่ามี 105 ชนิด ส่วนสัตว์เลื้อยคลานนั้นก็มีการสำรวจตั้งแต่ พ.ศ. 2442 โดย S.S. Flower จนปัจจุบัน พ.ศ. 2531 จารุจินต์ นภีภัฏ รายงานไว้ว่าประเทศไทยมีงูทั้งหมด 160 ชนิด 21 สกุลใน 6 วงศ์ (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก., 2532 : 22) | |
อย่างไรก็ตามในช่วงเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา การศึกษาเรื่องสัตว์ป่าในเมืองไทยได้มุ่งการสำรวจศึกษา |
|
ตามภิ่นกำเนิดตามธรรมชาติต่างๆ มากขึ้น เช่น ภูเขา อ่างเก็บน้ำ บึง ทะเลสาบ ริมแม่น้ำ ชายทะเล ทุ่งหญ้า ภูเขาหินปูนและถ้ำ เป็นต้น ปรากฎว่า พบสัตว์หรืร่องรอยสัตว์ป่าที่หายากมากของไทยเช่น กวางผา กูปรี แรด กระซู่ ควายป่า นกยูงไทย เป็ดก่า เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ๆ อีกหลายชนิด (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ , ศุภชัย หล่อโลหะการ บก., 2532 : 22) | |
อนึ่งปัญหาสองประการทีเผลิญหน้าเราอยู่และเป็นปัญหาที่ยากอย่างยิ่งที่จะแก้ไข ดังได้กล่าวไว้ใน |
|
ตอนแรกคือ เรายังมีความรู้ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในบ้านของเราน้อยมาก และอัตราการสูญสลายหรือการลดลงของความหลากหลาย กำลังเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งจากการล่าและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยน้ำมือของมนุษย์ภายใต้นโยบายและหรือกระแสการพัฒนาหรือความเจริญก้าวหน้าของประเทศ | |
ระบบนิเวศทางน้ำ | |
ในที่นี้จะสรุปย่อยสถานภาพองค์ความรู้และสถานการณ์ของระบบนิเวศทางน้ำออกเป็นสองส่วนคือ |
|
ระบบนิเวศน้ำจืด และระบบนิเวศน้ำเค็ม และเรื่องราวของสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาในสองระบบนิเวศดังกล่าว | |
ระบบนิเวศน้ำจืด | |
หรรษา จรรย์แสง บรรยายว่า ได้แก่แม่น้ำลำธาร ทะเลสาบ แหล่งน้ำท่วมถึง และอ่างเก็บน้ำ |
|
แม่น้ำลำธาร | |
เป็นระบบของธารน้ำที่มีมวลน้ำไหลไปในทิศทางเดียวกันด้วยแรงดึงดูดของโลก น้ำจะไหลจากต้นน้ำ |
|
ที่เกิดจากบริเวณที่ภูมิประเทศเป็นภูเขา ลำน้ำจะแคบกระแสน้ำไหลเชี่ยวและรุนแรง ตลิ่งและพื้นน้ำประกอบด้วยก้อนกรวดก้อนหินลำน้ำคดเคี้ยว เมื่อลำน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ จะขยายกว้างออกเมื่อถึงที่ราบต่ำใกล้ปากแม่น้ำจะขยายตัวกว้างขึ้นอีก ลึกมากขึ้น กระแสน้ำจะไหลช้าลงพื้นน้ำจะมีตะกอนทับถมมากขึ้นอาจเป็นดินดอนสามเหลี่ยม เช่น ดินดินปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำในประเทศไทยได้รับน้ำส่วนใหญ่จากฝนปริมาณสารอาหารที่จะถูกพัดพาลงมานั้นขึ้นอยู่กับสภาพทางธรณีวิทยาของแหล่งน้ำนั้นซึ่งมีผลจะมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของท้องน้ำนั้นๆ โดยเฉพาะต่อสิ่งมีชีวิตที่พบซึ่งก็ได้แก่สาหร่ายชั้นสูง ชั้นต่ำ พืชชั้นสูงอื่นๆ สัตว์หน้าดิน ข้อสำคัญคือ สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างหลากหลายกันไป เช่น ปลาที่อาศัยที่บริเวณต้นน้ำลำธาร มักมีอวัยวะเกาะติดว่ายน้ำเก่ง เพื่อทรงตัวในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนสูงอุณหภูมิต่ำ ส่วนปลาที่อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง ต้องปรับตัวให้เข้ากับน้ำที่ค่อนข้างขุ่น ปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำ อุณหภูมิค่อนข้างสูงและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เท่าที่ทราบกันในขณะนี้ประเทศไทยมีแม่น้ำ 44 สาย ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ ณ ที่นี้คือ ปัจจุบันแม่น้ำตอนล่างที่สำคัญในที่ราบลุ่มภาคกลางมีปัญหามลภาวะทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำในหลายๆบริเวณเช่นที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ , ศุภชัย หล่อโลหะการ , บก. 2532 : 34) | |
อนึ่งควรตั้งข้อสังเกตไว้ว่าแม่น้ำทั้งหลายในประเทศไทยได้รับน้ำส่วนใหญ่จากน้ำฝน ฉะนั้นการเสื่อม |
|
สภาพของป่าต้นน้ำจึงส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อแม่น้ำลำธารทั้งหลายทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของน้ำ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เช่นการฟื้นฟูรักษาสภาพป่าต้นน้ำจะต้องมีความรอบคอบและระมัดระวังเป็นพิเศษ ด้วยว่าในบริเวณป่าต้นน้ำต่างๆโดยเฉพาะในภาคเหนือขอบประเทศไทยมีผู้คนอาศัยอยู่มากมายมานานนับร้อยๆ ปีทั้งที่เป็นคนไทยและกลุ่มคนที่เรียกเขาว่าชาวเขา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นพลเมืองของประเทศไทยเช่นเดียวกัน คนเหล่านี้ต้องการถิ่นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินในขณะที่ที่ดินว่างเปล่าไม่มีเจ้าของบนพื้นราบไม่มีอีกแล้วในความเป็นจริง นอกจากนั้นชาวกรุงเทพฯ นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ก็พากันไปกว้านซื้อที่ดินจากผู้คนบนภูเขาเอามาสร้างบ้านพักตากอากาศที่นานปีทีครั้งจึงจะมาใช้ประโยชน์ บ้างก็สร้าง "รีสอร์ท" ทำธุรกิจท่องเที่ยว บ้างก็ยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนที่ทำกินบนภูเขาหนักหน่วงยิ่งขึ้น ผู้ที่สูญเสียที่ดินไปบางส่วนก็ถากถางป่าต่อไป การจะแก้ไขปัญหาโครงการอพยพผู้คนบนภูเขาออกจากพื้นที่ทำได้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น พร้อมกันนั้นการปลูกป่าของรัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประชาชน บทั้งไม่สามารถดำเนินการำด้ตามเป้าหมายคุ้มตามงบประมาณที่ใช้จ่ายไป สาเหตุมีทั้งด้านเทคนิคและด้านประสิทธิภาพการบริหาร ทางแก้ไขปัญหาบนที่สูงเช่น เขตต้นน้ำลำธาร จำเป็นต้องอาศัยนักวิชาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์ องค์กรพัฒนาเอกชนที่มิใช่องค์กรที่หวังกำไร และขาดไม่ได้เป็นอันขาดคือการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การรักษาป่าไม้ ฟื้นฟูป่าจะทำโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการเพื่อหวังผลกำไรเท่านั้นไม่ได้ | |
ทะเลสาบ | |
หรรษา จรรย์แสง กล่าวว่า หมายถึงแหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่กว่าบึงและหนอง มีทางติดต่อกับ |
|
แม่น้ำลำธาร ลำห้วย หรืออยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงทะเลสาบธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา หนองหาร จังหวัดสกลนคร และบึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ถือว่าเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญที่เป็นที่อยู่อาศัยและสืบพันธุ์ของพืชพันธุ์สัตว์น้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีแผ่นดินล้อมรอบ จึงประสบผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดมาจากแผ่นดินและผู้คนบนแผ่นดิน เช่น การตื้นเขิน การบุกรุกล่วงล้ำบริเวณชายฝั่งและการเพิ่มปริมาณการจับสัตว์น้ำทำให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก., 2532 : 34,35) ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมากมาย | |
แหล่งน้ำท่วม | |
หรรษา จรรย์แสง ระบุว่าคือ บริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำ รวมตลอดถึงหนอง บึง คลอง คูที่ถูกน้ำท่วม |
|
ในฤดูฝน แต่แห้งขอดในฤดูอื่น โดยที่บริเวณตอนบนที่เป็นแม่น้ำอาจท่วมในระยะสั้นเป็นวัน แต่บริเวณตอนล่างที่เป็นที่ราบลุ่มจะถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างเป็นเวลานับเดือน ตัวอย่างแหล่งน้ำท่วม ก็เช่นบริเวณที่ราบลุ่มบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงไปถึงอ่าวไทยตอนในเช่นบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำท่วมนี้จะเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากได้รับแร่ธาตุสารอาหารจากแม่น้ำลำคลองที่ชะล้างมาจากแผ่นดินตั้งแต่ป่าต้นน้ำลงมาในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้ปริมาณสารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการเพิ่มเนื้อที่ทำให้เกิดการขยายพันธุ์ของประชากรและการเคลื่อนย้ายถิ่นของสัตว์น้ำที่ราบลุ่มโดยเฉพาะที่ราบลุ่มเจ้าพระยาซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่ปลาของคนไทยในภาคกลางมานานหลายศตวรรษถูกเปลี่ยนแปลงสภาพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 กว่าเมื่อมีการค้าขายข้าวกับต่างประเทศ (ยุคสนธิสัญญาบาวริ่ง) เกิดการขยายพื้นที่นามีการขุดคลอง การก่อตั้งกรมชลประทานเพื่อพัฒนาการเกษตร (ต่อมาภายหลังการสร้างเขื่อนชัยนาท หรือเขื่อนเจ้าพระยา-ผู้เขียน) และกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย ดังนั้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมามายที่มีผลกระทบต่อสภาพธรรมชาติของแหล่งน้ำท่วมมากที่สุด นอกจากทำให้สัตว์หลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากภาคกลาง เช่น เนื้อสมัน แเละความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำลดลงในยุคต่อมามีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำต่างๆ โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านกสิกรรม ลดปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มผลผลิตพลังไฟฟ้า เป็นต้น ว่าไปแล้วเขื่อนก็มีส่วนดีมาก แต่การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำก็มีผลกระทบในทางลบหลายด้านด้วยเหมือนกันเช่น ผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำท่วมที่ราบลุ่ม หนองบึง และริมฝั่งแม่น้ำทางตอนใต้ของเขื่อน เกิดเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของบริเวณดังกล่าว ทำให้ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและแพร่ขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำ ทำให้มันไม่สามารถอพยพเดินทางเพื่อหาอาหารและสืบพันธุ์ พร้อมทั้งทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารลดลง เนื่องจากไม่ได้รับแร่ธาตุอาหารเพิ่มขึ้นตามวงจรธรรมชาติ ทำให้ปริมาณปลาลดลง เนื่องจากไม่ได้รับแร่ธาตุอาหารเพิ่มขึ้นได้รับน้ำหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอเกิดการตื้นเขินเปลี่ยนสภาพเป็นแผ่นดินอย่างรวดเร็ว ผู้คนกันเข้าไปยึดครองเพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และสร้างที่อยู่อาศัย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากมีการสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท (ธีรพันธ์ 2520 อ้างโดย หรรษา จรรย์แสงใน สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโลหะการ,2532 : 36-37) | |
อ่างเก็บน้ำ | |
ดังได้กล่าวแล้วว่าอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากการสร้างเขื่อนก็มีประโยชน์ แต่ผลกระทบของเขื่อนในด้านลบ |
|
เช่นในทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และโดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพมักไม่ค่อยมีการนำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบ หรรษา จรรย์แสง ให้ข้อมูลไว้ว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่เรามีอยู่เป็นแหล่งน้ำจือที่มีพื้นผอวหน้ามากที่สุดเมื่อเทียบกันแหล่งน้ำอื่นๆ จากการรวบรวมของธีระพันธ์ ภูคาสวรรค์ ในปี พ.ศ.2520 ระบุว่ามีเนื้อที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนเอนกประสงค์รวมประมาณ 1.2 ล้านไร่ การสร้างเขื่อนขวางกั้นทางเดินของแม่น้ำตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะและคุณสมบัติของแหล่งน้ำดั้งเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบนิเวศน้ำไหลเป็นระบบนิเวศน้ำนิ่ง โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ กระแสน้ำจะลดความเร็วลง โดยเฉพาะเมื่อใกล้ตัวเขื่อน และการเพิ่มระดับความลึกของท้องน้ำจนแสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำทำให้เกิดการแยกชั้นของน้ำ มีการตกตะกอนทับถมตามพื้นท้องน้ำมากขึ้น นี้คือการเปลี่ยนแปลงสภาพท้องน้ำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยและการวางไข่ของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ตะกอนที่เป็นสารอินทรีย์ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประมาณออกซิเจนในน้ำลดลง การเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและทางเคมีนี้จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ ซึ่งรวมตั้งแต่ความหนาแน่นของพืชชั้นต่ำ และพืชชั้นสูง แพลงตอน สัตว์และสัตว์หน้าดิน นอกจากนั้นการสร้างเขื่อนเก็บน้ำ ยังมีผลทำให้ชนิดและปริมาณของปลาต่างไปจากเดิม เช่นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่งจะมีการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี ในขณะที่ปลาที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำไหลเช่นแม่น้ำลำธารจะมีปริมาณลดลง (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก., 2532 : 37 ) | |
ระบบนิเวศทางทะเล | |
เมื่อพูดถึงระบบนิเวศทางทะเล หรรษา จรรย์แสง กล่าวว่า หมายถึง บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยแบบต่างๆ |
|
ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่ง ซึ่งรวมทั้งบริเวณน้ำกร่อย (ปากแม่น้ำ) ไปจนถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลเปิด และพื้นทะเลลึกบริเวณลาดทวีป ในกรณีของระบบนิเวศทางทะเลขงไทย เมื่อแบ่งโดยสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งที่อยู่อาศัย (ของสิ่งมีชีวิต) ในทะเลแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ อ่าวไทยและทะเลอันดามัน และเมื่อแบ่งโดยลักษณะระบบนิเวศก็จัดเป็นะรบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำ (น้ำกร่อย) ซึ่งรวมทั้งป่าชายเลนระบบนิวศแนวประการัง หาดหิน หาดทราย ทะเลเปิด พื้นทะเล และทะเลลึกเป็นไหล่ทวีป ซึ่งในบ้านเรามีเฉพาะในด้านอันดามันเท่านั้น (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโลหะการ บก.,2532 : 41 ) | |
บริเวณน้ำกร่อย - ปากแม่น้ำ | |
ที่สำคัญได้แก่อ่าวไทยตอนใน อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎรธานี อ่าวนครศรีธรรมราช อ่าวปัตตานี และ |
|
ทะเลสาบสงขลา บริเวณน้ำกร่อยนี้โดยทั่วไปถือว่าเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ อาหาร และผลผลิตทางชีวภาพสูงเนื่องจากได้รับสารอาหารจากแม่น้ำ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ องค์ประกอบสำคัญของบริเวณน้ำกร่อย ในเขตร้อน คือป่าชายเลน ซึ่งเป็นป่าไม้ยืนต้นเจริญงอกงามในบริเวณน้ำขึ้นลวริบๆ อาณาบริเวณชายฝั่งน้ำกร่อย และจัดว่าเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญสำหรับทั้งสัตว์น้ำและมนุษย์ของระบบนิเวศน้ำกร่อย (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโหะการ บก.,2532 : 41) อนึ่งบริเวณน้ำกร่อยปากแม่น้ำต่างๆ ดังกล่าวของไทยกำลังประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะด้านการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อผู้คนโดยเฉพาะคนยากคนจน ชาวประมงชายฝั่ง ชาวประมงขนาดเล็ก ขนาดย่อม เป็นต้น | |
ป่าชายเลน | |
นักวิชาการจัดว่าป่าชายเลนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน้ำกร่อย โดยที่องค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็น |
|
พรรณไม้ยืนต้น เช่น ต้นโกงกาง แสม จาก ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีการผสมผสานกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม จัดได้ว่าเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทางชีวภาพสูง ซาหใบไม้จากต้นไม้ในป่าที่ร่วงหล่น ทับถมเน่าเปื่อย กลายเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารแบบ detritus food chain ในบริเวณน้ำกร่อย ทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ แป็นแหล่าเลี้ยงตัวอ่อนสัตว์น้ำทั้งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจโดยตรง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่แบะสืบทอดระบบนิเวศทางทะเลบริเวณชายฝั่ง อย่างไรก็ตามป่าชายเลนของไทยก็ถูกทำลายเรื่อยมา และทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ เนื้อที่ป่าชายเลนเมื่อปี พ.ศ.2504 มีอยู่ประมาณ 2,299,385 เมื่อมาถึง พ.ศ. 2529 ลดเหลือเพียง 1,227,680 ไร่ (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโหะการ บก.,2532 : 41) กล่าวคือในห้วงเวลา 25 ปี พื้นที่ป่าถูกทำลายลงไปถึง 1,071,705 ไร่ คิดเฉลี่ยแล้วถูกทำลายไปปีละ 42,868.2 ไร่ สาเหตุหลักของการทำลายป่าชายเลน อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2504 - 2522 เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อตัดไม้มาทำฟืนและถ่านในเชิงพาณิชย์ การทำเหมืองแร่ในป่าชายเลน และการสร้างท่าเรือและเขื่อน ส่วนในช่วง พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่ การบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ทำนากุ้ง เพื่อการส่งออก ซึ่งมีทั้งกิจการที่มีคนไทย และคนต่างชาติเป็นเจ้าของ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือการขยายพื้นที่ เมือง และชุมชนอุตสาหกรรม(สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโหะการ บก.,2532 : 42) | |
![]() ![]() ![]() ![]() |
|
แหล่งหญ้าทะเล | |
นักวิชาการกล่าวกันว่าแหล่งหญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางทะเลที่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จัก |
|
และเห็นความสำคัญในวงวิชาการในระยะเวลาไม่เกินสิบปีที่ผ่านมานี้เอง เป็นแหล่งพรรณพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าสกุล potomogetomaceae และ hydrocharitaceae ขึ้นงอกงามบริเวณตั้งแต่แนวน้ำลงปานกลาง ไปจนถึงความลึกประมาณ 3-8 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความใสของน้ำ โดยทั่วไปแล้วจะพบแนวหญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งที่กำบังคลื่นลมและไม่ได้รับอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลมาจากฝั่ง ความสำคัญของแนวหญ้าทะเลนี้พบว่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด โดยเฉพาะตัวอ่อนของสัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีคุณค่าสำคัญที่มักถูกมองข้ามเสมอคือ คุณค่าในทางอาหารและรายได้ของชาวประมงขนาดเล็ก หรือชาวประมงชายฝั่งผู้ด้อยฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น กุ้ง ปลาเก๋า และเป็นแหล่งอาหารของเต่าทะเลที่มีคุณค่านี้ เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่งอย่างรวดเร็ว ตะกอนอันเกิดจากกิจกรรมบนฝั่งหรือในน้ำ และการประมงโดยอวนรุน เป็นต้น (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, ศุภชัย หล่อโหะการ บก.,2532 : 43) | |
อนึ่งควรตั้งข้อสังเกตไว้ในตอนนี้เลยว่า ความจริงแล้วชาวบ้านรู้จักแหล่งหญ้าทะเลและความสำคัญ | |
ของแนวหญ้าทะเลที่มีต่อสัตว์น้ำมานานนักหนาแล้วและพวกเขาก็ได้ข่วยกันพยายามอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล และพะยูนที่กำลังจะสูญพันธุ์กันตามความสามารถ เกล็น ฮิลล์ ได้บันทึกไว้ว่าในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าหมู่เกาะลิบง ชาวประมงปล่อยเต่าทะเลและพะยูนที่บังเอิญติดอวนนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งๆ ที่พะยูนมีค่าตัวหลายพันบาทและไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์ | |
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2534 มีพะยูน 2 ตัวติดอวนชักหรือที่เรียกว่ อวนทับตลิงที่หน้าเกาะมุก ชาว | |
ประมงบอกว่าสงสารมัน อนุรักษ์มันดีกว่า และถัดจากนั้นอีก 1 เดือน ทีมอวนชักก็ปล่อยพะยูนไปอีก 2 ตัว วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ชาวประมงบ้านมดตะนอย (อยู่บนฝั่งใกล้กับบ้านเจ้าไหม) พบพะยูนตัวใหญ่ติดอวนเพื่อให้พะยูนรอดจากอวนอย่างรวดเร็ว .วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ชาวประมงบ้านบาตูเต๊ะคนหนึ่งออกไปวางอวนปลากระบอกในข่วงน้ำลงตอนเย็น เพื่อจะหากับข้าวมื้อเย็น และได้ลูกพะยูนขนาด 10 กิโลกรัมติดอวน แต่เขาก็ปล่อยมันไป เพราะว่า "ตัวมันเอียด สงสารมันเห็นน้ำตาไหลด้วย แล้วก็เห็นแม่มันโผล่ขึ้นมาสองสามครั้งใกล้ๆผม เราอนุรักษ์พะยูนไม่ใช่หรือ" และชาวบ้านบาตูปูเต๊ะบอกผมว่าถ้าอยากเห็นพะยูนเขาสามารถพาไปดูและจะเห็นได้ภายในสองวันนี่แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านเขารู้เรื่องรอบๆ ตัวของเขามากกว่าที่เราคิด ชาวบ้านรู้ว่าพะยูนกินหญ้าชนิดไหน และจะมีโอกาสเห็นพะยูนบ่อยในช่วงขึ้น-แรม กี่ค่ำ ชาวบ้านมีความรู้ถึงขนาดที่ว่า พะยูนและเต่าทะเลจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่าทะเลอุดมเพียงใดหรื่อมีการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายมากมายเพียงไรเพราะสัตว์ 2 ชนิดนี้เป็นพวกที่มีความอ่อนไหวสูงเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ชาวบ้านคิดว่าถ้าพะยูนและเต่าทะเลยังคงอยู่หมายถึงทะเลยังคงอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณสัตว์น้ำให้เขาจับได้ชั่วลูกชั่วหลาน (วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์,2535 : 174-175) | |
ที่ยกมาข้างบนนี้คือ สิ่งที่เราเรียกว่า "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ที่ในสายตาของคนเมืองก็ดี นักวิทยา | |
ศาสตร์บางกลุ่มก็ดี นักวางแผนการพัฒนาก็ดี นอกจากจะไม่เคยรู้ ไม่เคยรับแล้วยังอาจดูหมิ่นดูแคลนเสียด้วยซ้ำไป หารู้ไม่ว่า "ภูมิปัญญา" ดังกล่าวคือฟางเส้นสุดท้ายในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่ทรงคุณค่าต่อมนุษยชาติทั้งมวล นักอนุรักษ์รุ่นหนุ่ม-สาวของเราคนหนึ่งที่อุทิศตนให้กับการศึกษาและอนุรักษ์พะยูน สุวรรณ แซ่อึ้ง ยืนยันสาระสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ในกรณีนี้คือปลาพะยูน) ว่า "สิ่งที่ท้าทายการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ที่ "ชาวบ้าน" ชาวบ้านจะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของพะยูนฝูงสุดท้าย" (สุวรรณ แซ่อึ้ง,2535 : 99) และประจักษ์พยานอันเป็นข้อเท็จจริงที่ กล่าวถึงแล้วในตอนต้นก็ได้ยืนยันว่า มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่พยายามปฏิบัติภารกิจสำคัญ อันยากยิ่งอยู่ในขณะนี้ | |
แนวปะการัง | |
นักนิเวศวิทยา และนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแทบทุกคนก็ว่าได้ล้วนแต่เห็นความ |
|
สำคัญ และให้ความสนใจระบบนิเวศแนวปะการังมากด้วยเหตุว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและมีผลผลิตสูงมาก แนวปะการังบางแห่งก็ได้รับการอนุรักษ์เป็นอุทยานแห่งชาติ การจับสัตว์น้ำมากเกินควร การเปลี่ยนแปลงของสภาพแนวปะการังอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการพัฒนาบริเวณชายฝั่ง การท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการก็ดี นักท่องเที่ยวก็ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีจิตสำนึกในความรักหวงแหนและเห็นคุณค่าก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำลายแนวปะการังประการหนึ่งนอกจากนั้นก็ยังมีปัญหามลภาวะบริเวณชายฝั่ง เช่น ตะกอนและสารเคมีที่ถูกปล่อยลงน้ำ การระบาดของปลาวดาวหนามซึ่งเป็นศัตรูทำลายชีวิตปะการังก็ยังเป็นเรื่องที่นักวิชาการในปัจจุบันไม่สามารถระบุได้ชัดว่า สาเหตุของการระบาดดังกล่าวเกิดจากผลการกระทำของมนุษย์ หรือเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่มีข้อน่าสังเกตว่าการแพร่ระบาดของปลาดาวหนามในบางบริเวณของทะเลอันดามัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพบปลาดาวหนามจำนวนมากคือ หมู่เกาพีพี อาดังราวี และเกาะรอก ซึ่งเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศเสียหายมากจากการระเบิดปลา (หรรษา และคณะ,2529 ในสิริวัฒน์ วงษ์ศิริ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก.,2535 : 43-44) | |
![]() ![]() |
|
หาดหินหาดทราย | |
สถานภาพองค์ความรู้ของหาดหิน หาดทรายของเรายังมีน้อยมาก ทั้งๆ ที่บริเวณเหล่านี้มีอยู่มากมาย |
|
ประกอบกับสิ่งที่เราเรียกกันว่า "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว" ก็ได้รับการส่งเสริมจากนโยบายพัฒนาประเทศของรัฐมาโดยตลอดในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ผลกระทบต่อสัตว์บางชนิด เช่น จักจั่นทะเลทางฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ผู้คนนิยมนำมาบริโภค (โดยเฉพาะเป็นอาหารแปลกพิศดาร เพื่อสนองรสนิยมพิศดารของนักท่องเที่ยว - ผู้เขียน) ทำให้ปัจจุบันปริมาณของจั๊กจั่นลดลงมาก ผลกระของการขยายตัวของชุมชน ซึ่งต่อเนื่องกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวต่อเต่าทะเล ก็เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก.,2532 : 44) | |
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถยืนยันปัญหาหลักที่ข้อเขียนนี้ต้องการนำเสนอคือ การพัฒนาประเทศไทย |
|
ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาประเทศที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศเป็นอย่างมากพร้อมกันนั้นการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวก็ยังคงมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในขณะเดียวกันความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของนักวิชาการเองก็เป็นอยู่ค่อนข้างจำกัด ส่วนหนค่งเป็นเพราะการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเพียงพอ ในอีกส่วนหนึ่งนักวิชาการบางกลุ่มก็ได้รับการฝึกอบรมมาบนฐานทางวิชาการที่มีลักษณะเฉพาะเรื่องเฉพาะสัตว์บางชนิด พืชบางชนิด จนกระทั่งลืมมองความสำคัญขององค์รวมของระบบทั้งหมดซึ้งในที่นี้มิได้หมายความเฉพาะระบบนิเวศเท่านั้นแต่รวมถึงระบบสังคมที่มีสัมพันธภาพกับระบบนิเวศด้วย นอกจากนั้นประเด็นสำคัญที่รายงานฉบับนี้ต้องการนำเสนอพร้อมกันไปก็คือ องค์ความรู้ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพก็ดี การใช้ชีวิตและการพัฒนาที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งในที่นี้ขอเรียกรวมๆ ว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ก็ดี มักจะถูกมองโดยคนบางกลุ่มบางพวกว่าไร้คุณค่าไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่น่าเชื่อถือ | |
อย่างไรก็ตามได้มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน |
|
เรื่องของความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ "วิสุทธิ์ ใบไม้" กล่าวว่า หมอชาวบ้าน หรือหมอแผนโบราณสมัยก่อนมีความสำคัญต่อสังคมท้องถิ่นมาก แต่ในระยะหลังนี้จำนวนหมอชาวบ้านลดน้อยลงมาก หมอชาวบ้านรุ่นเก่าได้สูญหายตายจากไป บ้างก็อาจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่เล่าเรียนสืบทอดกันมาหลายชั่วตนตามประเพณีของคนโบราณ แต่บางคนก็ไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีอย่างน่าเสียดายยิ่ง อาจถือว่าเป็นการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ล้ำค่าไปอีกอย่างหนึ่งปัจจุบันหมอชาวบ้านเป็นกลุ่มคนที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ทนุถนอมไว้ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดวิขาการความรู้ในลักษณะการเช่นเดียวกับพืชและสัตว์บางชนิดที่ต้องได้รับการพิทักษ์ระกษาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ,ศุภชัย หล่อโลหะการ บก.,2532 : 10) | |
![]() |
![]() |
คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ | BACK | ทางเลือกของการพัฒนา : ภูมิปัญญาท้องถิ่น | ![]() |