![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
การพัฒนาคือการเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือระบบคิดและวิถีการดำรงชีวิตกับผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ | |
จริงอยู่ที่ว่าความเปลี่ยนแปลงคือสัจธรรม แต่ประเด็นปัญหาอยู่ตรงที่ว่ามนุษย์เราประเทศเรากำลัง |
|
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีสมกับที่เรียกกันอย่างมีฉันทาคติว่าเป็น การพัฒนา จริงหรือไม่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยแม้ว่าจะเริ่มเห็นได้พอเป็นเค้าตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 4) และชัดเจนมากขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 5) ก็ตามที แต่การเปลี่ยนแปลงในความหมายของ การพัฒนา ร่วมสมัยมาเริ่มอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ.2500 เป็นต้นมานี้เอง | |
ประเด็นสำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาที่ต้องการนำเสนอในที่นี้มิใช่เสนอว่าประเทศไทย |
|
และอีกหลายๆ ประเทศเป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งถูกทำให้ด้อยพัฒนาโดยตกเป็นเมืองขึ้น หรือกึ่งเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่เราถูกชักนำให้คิดว่าเราด้อยพัฒนาและในที่สุดเราก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ | |
แล้วอะไรเล่าที่ทำให้ชาติทางตะวันตกเป็นประเทศที่พัฒนา มีอำนาจ คำตอบคือ ระบบคิด ที่วางราก |
|
ฐานอยู่บนระบบคุณค่าของลัทธิทุนนิยม ที่เป็นอุดมการหรือระบบคิด ที่ถือกำเนิดอย่างชัดเจนเมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในยุโรปเมื่อปลายคริสต-ศตวรรษที่18ระบบคิดหรือวัฒนธรรมทุนนิยมนี้อาจตีความได้หลายความหมาย แต่ในที่นี้ต้องการให้ความหมายถึงวัฒนธรรมที่ยึดถือเป้าหมายเศรษฐกิจ หรือความสำเร็จในทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและสังคม ความมั่งคั่งของประเทศชาติอยู่ที่การผลิตและการค้าอย่างเสรี นี่คือสิ่งที่อดัม สมิธ ปรมาจารย์ทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้วางรากฐานเอาไว้ให้ | |
ผลพวงจากระบบคิดดังกล่าวส่งผลให้หลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะยุโรปตะวันตก และยุโรปเหนือ |
|
เช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมณี ฮอลแลนด์ และต่อมาก็สหรัฐอเมริกาด้วย กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารสามารถขยายอิทธิพลไปยึดเอาประเทศต่าง ๆ เป็นเมืองขึ้น เพื่อตักตวงเอาทรัพยากรบ้าง ควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ต่อการคมนาคมบ้าง และเพื่อเป็นตลาดระบายสินค้าอุตสาหกรรมของตนบ้าง | |
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของมหาอำนาจเหล่า |
|
นั้นทั้งในเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกาและประเทศตามหมู่เกาะต่าง ๆ ต่อสู้ดิ้นรนทำสงครามเพื่อให้หลุดพ้นจากแอลลัทธิอาณานิคมและเมื่อได้เอกราชแล้วต่างก็ล้วนตั้งความหวังที่จะ พัฒนา ประเทศของเรา โดยยึดประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกเป็นแม่แบบ ในขณะเดียวกันประเทศมหาอำนาจในโลกก็เกิดแบ่งแยกเป็นสองค่าย คือค่ายหนึ่งรู้จักในนามโลกเสรี ส่วนอีกค่ายหนึ่งรู้จักกันในนามโลกสังคมนิยม หรือโลกคอมมิวนิสต์ มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็พยายามช่วงชิงอำนาจแข่งขันกันสร้างอิทธิพล ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ในโลกจึงถูกครอบงำโดยระบบคิดสองระบบ | |
ในกรณีของประเทศประวัติศาสตร์ทำให้เราต้องเข้าร่วมกับกระแสของโลกทุนนิยมหรือโลกเสรี |
|
ผลพวงที่ตามมาก็คือเราเห็นควรและต้องพัฒนาประเทศตามแนวทางของทุนนิยม ทั้งโดยสมัครใจของผู้นำประเทศ และโดยการผลักดันสนับสนุนของมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กระบวนการพัฒนาประเทศไทยเมื่อกล่าวก็คือ การละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมหรือระบบคิดดั้งเดิมลงไป พร้อมกันนั้นก็นำเอาภูมิปัญญาแบบทุนนิยม เข้ามาครอบลงไปจากส่วนบน | |
เมื่อนำเอาภูมิปัญญาทุนนิยมเข้ามาเป็นระบบคิดชี้นำในการพัฒนาประเทศเช่นนี้แล้วการพัฒนา |
|
เศรษฐกิจจึงได้รับความสำคัญก่อนวิถีชีวิตด้านอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายคือการเพิ่มผลผลิตเพื่อขาย เริ่มจากการเพิ่มผลผลิตการเกษตรเพื่อส่งออก และเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดถึงการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่(New Industrial Country)หรือ(NIC) | |
บนเส้นทางของการพัฒนาในแนวคิดนี้ เราจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตที่มีเป้าหมายสูงสุดว่า ความสุขในชีวิตคือ |
|
การมีพออยู่พอกิน มาสู่วิถีชีวิตที่ต่างคนต่างแข่งขัน ตัวใครตัวมัน ความสุขความสำเร็จในชีวิต วัดกันที่จำนวนเงินที่ทำได้และสินค้า ที่ซื้อหามาด้วยเงินตรา เกิดลัทธิบูชาสินค้า (commodity fetishism) เช่นลัทธิบูชารถเบนซ์ บูชาเพชรทอง ตู้เย็น โทรทัศน์ เป็นต้น | |
บนเส้นทางของการพัฒนาบนฐานของระบบคิดแบบนี้เองเราจึงเร่งระดมทำลายทรัพยากร สิ่งแวดล้อม |
|
และความหลากหลายทางชีวภาพภายใต้ชื่อของ การพัฒนา อีกด้วย | |
![]() ![]() |
![]() |
วัฒนธรรมหรือระบบคิดของชาวบ้านว่า | BACK | ทำไมการค่อย ๆ หายไปของแมลง พืชและนก | ![]() |