Untitled

http://www.tungsong.com



ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

วัฒนธรรมหรือระบบคิดของชาวบ้านว่าด้วยธรรมชาติกับมนุษย์

 

จริงอยู่คนไทยในสมัยก่อนและชาวบ้าน ชาวชนบทอาจไม่มีคำว่า “ธรรมชาติ” อยู่ในภาษาพูดแต่
ธรรมชาติที่เป็นรูปธรรมที่เขาเห็นได้หรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างแน่นอน เช่น ป่า ดอย ดิน หิน น้ำ ลม ไฟ (แสงแดดและอุณหภูมิ) พืชและสัตว์ และเมื่อวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขาจะต้องพึ่งพาอาศัย หรือต้องได้รับอิทธิพลจากสิ่งเหล่านั้น มนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ทุกหนทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะถูกเรียกว่า “ด้อยพัฒนา” หรือ “ป่าเถื่อน” (primitive) ขนาดไหน ก็ล้วนแล้วแต่ได้เรียนรู้สั่งสม ถ่ายทอดและปรับเปลี่ยนความคิดและความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกว่าธรรมชาติมาโดยตลอด ความรู้ดังกล่าวนี้อาจเชื่อมโยงหรือไม่เชื่อมโยงกับอำนาจเหนือธรรมชาติเลยก็ได้ กล่าวคือมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ในความหมายที่เป็นความรู้ที่เกิดจากการทดลองใช้ ทดลองกิน ทดลองทำมาหลายชั่วอายุคน จนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือมีประโยชน์ที่สุด พร้อมกันนั้นก็อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนให้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือความรู้ในเรื่องพืชอาหารและพืชสมุนไพรเป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า การที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตนี้เองทำให้มนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่อ
ให้มีชีวิตรอดอยู่เป็นเบื้องแรก ดังนั้นภูมิปัญญาความรู้ของมนุษยชาติจึงน่าจะเริ่มต้นจากการเสาะแสวงหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการมีชีวิตรอด เช่นปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น เพราะฉะนั้นในบทความนี้จึงใคร่เสนอการศึกษาวิจัยที่เริ่มจากวัฒนธรรมหรือระบบคิดที่เป็นตัวกำหนดหรือชี้นำวิถีชีวิตด้านการหาหรือผลิตอาหาร ยารักษาโรค และวัตถุปัจจัยที่จำเป็นอื่น ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะของผู้คนในสังคมไทย โดยมีเค้าโครงคร่าวๆ ดังนี้

 

ก. การใช้พืชและสัตว์ในฐานะที่เป็นอาหาร หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร

 

ข. การใช้พืชและสัตว์ในฐานะที่เป็นยา (สมุนไพร) หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งยา

 

ค. การใช้พืชและสัตว์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

 

หัวข้อดังกล่าวข้างบนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นกับการพัฒนา ซึ่งได้เริ่มลงมือไปบ้างแล้วบางส่วน และจะมีการนำข้อมูลและบทวิเคราะห์ออกมานำเสนอต่อวงวิชาการและสาธารณชนเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

 

อย่างไรก็ตามประเด็นต่อไปที่อยากนำมาเสนอเพื่อพิจารณาคือ เรื่องของผลกระทบของการเปลี่ยน
แปลงวัฒนธรรมหรือระบบคิดในสังคมไทยที่มีผลต่อเนื่องสู่การทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ


สัมพันธภาพระหว่างอำนาจเหนือธรรมชาติ BACK การพัฒนาคือการเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือระบบคิด