![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
สัมพันธภาพระหว่างอำนาจเหนือธรรมชาติ ธรรมชาติและมนุษย์ | |
ความจริงแล้ววัฒนธรรมหรือความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและมนุษย์มีมานานมากแล้วในหมู่มนุษย์ทุก |
|
หนทุกแห่งและทุกเผ่าพันธุ์ในโลกมาโดยตลอด อาทิเช่นการตั้งคำถามว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ลมพายุ น้ำท่วม ฝนแล้ง แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ป่า ต้นไม้ มนุษย์ สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเป็นต้น มนุษย์ได้ตั้งคำถามเหล่านี้และคำถามอื่นๆ ทำนองเดียวกันมาโดยตลอด และยังจะต้องถามกันต่อไป ดังนั้นจึงต้องมีระบบคิดที่จะตอบคำถามเหล่านั้นน่าสังเกตว่าคำถามอาจเหมือนๆ กันในทุกๆ สังคม ทุกวัฒนธรรม ทุกาละ (time) และเทศะ (space) แต่แน่นอนว่า คำตอบย่อมจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าในยุคสมัยหรือในเงื่อนไขใด แหล่งความรู้ ใดจะเป็นผู้ตอบ บางยุคบางเงื่อนไขศาสนาทำหน้าที่ตอบ บางยุคบางเงื่อนไขศาสนาทำหน้าที่ตอบ บางยุคบางเงื่อนไขปรัชญาทำหน้าที่ตอบ และในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ก็ได้เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวแทนเป็นส่วนใหญ่เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้กระทั่งใน ยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปัจจุบัน บางเงื่อนไข บางสถานการณ์และบางเรื่องวิทยาศาสตร์ อาจไม่ตอบหรือไม่สามารถอธิบายไปเสียทั้งหมดทุกเรื่องทุกราวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ศาสนาและปรัชญารวมทั้ง ภูมิปัญญาชาวบ้าน อาจทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่าเป็นต้น | |
แต่เดิมมานั้น วัฒนธรรมหรือระบบคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ อำนาจเหนือธรรมชาติและมนุษย์กับสรรพสิ่ง |
|
ต่างๆ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตด้านศาสนาพิธีกรรมและความเชื่อของมนุษย์ก่อนที่จะเกิดศาสนาใหญ่ๆ ของโลก เช่น พุทธศาสนา คริสต์ อิสลามและฮินดู ระบบความเชื่อหรือศาสนาของมนุษย์ทุกหนแห่งในโลกก็ว่าได้เป็นการเคารพบูชาอำนาจเหนือมนุษย์เหนือธรรมชาติรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกรวมๆ ว่าเป็นลัทธิความเชื่อที่เชื่อว่าสรรพสิ่งทุกอย่าง (ที่ปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นธรรมชาติ) ล้วนแล้วแต่มีวิญญาณ หรืออำนาจที่มองไม่เห็นสิ่งสู่หรือกำกับอยู่ (animism) | |
ในกรณีของผู้คนที่พูดภาษาตระกูลภาษา ไต หรือ ไท ซึ่งคนไทยในปัจจุบันก็สังกัดอยู่ในกลุ่มนี้ |
|
เคยเชื่อและยังคงเชื่อในอำนาจเหนือมนุษย์เหนือธรรมชาติที่เรียกว่า ผี อยู่มากบ้างน้อยตามเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ความเชื่อในเรื่องผีนี้ มีความสำคัญและบทบาทถึงขั้นอธิบายโลก อธิบายธรรมชาติ อธิบายมนุษย์ และสรรพสิ่งต่างๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำรงอยู่อย่างไร และเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรเลยที่เดียว กล่าวคือเป็น โลกทัศน์ (world view) หรือส่วนหนึ่งของโลกทัศน์ หรือจักรวาลวิทยา (cosmology) ของผู้คนที่พูดภาษาตระกูลไตเลยก็ว่าได้ | |
ตัวอย่างเช่น คำถามว่าคนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เปลี่ยนแปลง เจ็บไข้ได้ป่วยและตายไปเพราะอะไร |
|
ระบบคิดหรือวัฒนธรรมในล้านนาอาจให้คำอธิบายว่า พ่อเกิด-แม่เกิด (ผี) ส่งให้มาเกิด ดังนั้นอาจทำให้คนเจ็บป่วยถึงตายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของทารก ในทางภาคอีสาน ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว รวมทั้งไทดำ-ไทยแดง และ ไท ในที่อื่นๆ อาจอธิบายว่า ปู่สังกะสาย่าสังกะสี ส่งให้มาเกิด เป็นต้น | |
คนเราเมื่อเกิดมาแล้วอาจเจ็บอาจไข้ บ้างก็หาย บ้างก็ตายเพราะอะไรผีบรรพบุรุษ ผีบ้าน ผีเรือน ผีป่า |
|
และฯลฯ มาทำร้ายเอาหรือเปล่า ฉะนั้นความเจ็บความไข้ ความตายในบางกรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องถูกอำนาจเหนือธรรมชาติ เหนือมนุษย์เป็นผู้บันดาลด้วยก็ได้ เพราะฉะนั้นมนุษย์จะต้องเคารพเชื่อฟังผี เชื่อฟังบรรพบุรุษแม้บรรพบุรุษจะตายไปแล้วก็ยังไม่ไปไหนสามารถดูแลทุกข์สุขของลูกหลานได้ลูกหลานจึงต้องดูแลผีบรรพบุรุษให้อยู่ดีกินดี มีการสร้างหิ้งสร้างศาลให้อยู่ มีการเลี้ยงดูด้วย เหล้าไห ไก่คู่ เป็นต้น พร้อมกันนั้นลูกหลานก็ยังจะต้องครองชีวิตตามจารีตประเพณี (อิสานเรียกว่า ฮีต-คอง) ที่ดีงามที่บรรพบุรุษได้สร้างและสั่งสมกันมา ถ้าไม่ทำตามผีบรรพบุรุษอาจทำร้ายเอาได้ | |
จารีตประเพณี นั้นแท้จริงแล้วก็คือกฎเกณฑ์หรือการควบคุมทางสังคม (social control) ที่ทำ |
|
หน้าที่ชี้นำ และควบคุมพฤติกรรมของผู้คนผู้อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน มีรากเหง้าเดียวกัน ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและอยู่กันอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นคนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในล้านนามีประเพณีผิดผีอยู่หลายอย่าง อย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ หากหญิงชายมีความสัมพันธ์ทางเพศไม่ถูกต้องตามจารีตประเพณี เท่ากับเป็นการผิดผีและถ้าไม่ประกอบพิธีกรรม (เสียผี) ให้ถูกต้อง ผีปู่ย่า หรือผีบรรพบุรุษจะทำร้ายพ่อ-แม่ให้เจ็บไข้และอาจถึงตายได้ ฉะนั้นในกรณีนี้ ผี คือกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ของชุมชน ของสังคม ปัจจุบันเมื่อความเชื่อเรื่องผีถูกทำให้กลายเป็นเรื่องไร้สาระ พฤติกรรมทางเพศของคนหนุ่มสาวในล้านนาจึงไม่มีอะไรมายึดเหนี่ยวควบคุม การขายตัว ขายลูกไปเป็นโสเภณีจึงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็น | |
ภูมิ ป่า ต้นไม้ ต้นน้ำลำธารและ ฯลฯ ตามระบบคิดหรือวัฒนธรรมไทยล้วนแต่มีผีคอยดูแลรักษา |
|
ทั้งสิ้น ต้นไม้ใหญ่มักถือกันว่ามีผีประจำ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นระบบคิดที่เข้ามาแทนที่ควรเชื่อถือผีผีประจำต้นไม้ก็ได้รับการยกฐานะเป็นรุกขเทวดา ป่ามีเจ้าป่า ภูดอยมีเจ้าดอยต้นน้ำในทางล้านนาถือว่าทุกแห่งมี ผีขุนน้ำ คุ้มครองดูแลอยู่ ฉะนั้นหากคนเข้าป่าเพื่อแสวงหาปัจจัยที่จำเป็นเช่น เก็บของป่า ตัดไม้ หรือล่าสัตว์มาเพื่อเลี้ยงชีวิต ก็จะต้องขอ อนุญาตและจะต้องไม่เอาไปมากมายเกินความจำเป็น หาไม่แล้วผีอาจลงโทษให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ จริงอยู่วิทยาศาสตร์อาจบอกว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่อง งมงาย แต่ในทางสังคมศาสตร์โดยเฉพาะวิชามนุษยวิทยาจะไม่สรุปเช่นนั้น พร้อมทั้งเสนอว่าในการจะตัดสินใจว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรมีเหตุผลหรืออะไรงมงายนั้น จะต้องมองออกมาจาก ทัศนะภายใน ของผู้คนในวัฒนธรรมนั้นด้วยไม่ใช่เอาแต่ ทัศนะภายนอก เข้ามาจับแต่เพียงด้านเดียว นอกจากนั้นหากวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ในเชิง หน้าที่ ของมันแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เนื่องจากคนไทยในชนบทบางแห่งยังคงมีความเชื่อเรื่องผีอยู่นี้เอง ชุมชนชนบทหลายแห่งจึงยังคงรักษาวิถีชีวิตที่มีแบบแผนของการใช้ทรัพยากรที่ไม่ขูดรีด ตักตวงเอาจากธรรมชาติมากเกินไป ด้วยเหตุนี้เราจึงยังมีป่าผืนน้อยใหญ่นับจำนวนเป็นร้อยเป็นพันเหลือกระจายกันอยู่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน ในนามที่เราเรียกขานกัน ในปัจจุบันว่า ป่าชุมชน (community forests) นั้นเอง | |
จากข้อความที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจช่วยทำให้ข้อสรุปของนักสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาบางสำนัก |
|
ที่กล่าวว่า แท้จริงแล้วศาสนาหรือความเชื่อหาใช่อะไรอื่นไม่ คือสังคมนั้นเอง เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น | |
ดังนั้นหลายสิ่งหลายอย่างที่ชาวบ้านเชื่อและยึดถือเป็นภูมิปัญญาของเขาถูกภูมิปัญญาสมัยใหม่ ซึ่งมี |
|
รากเหง้าจากสังคมอื่น ประทับตราว่างมงาย ไร้เหตุผล เนื่องจากความไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดเป็นอวิชชาทางปัญญา แท้จริงแล้วภูมิปัญญาชาวบ้านมีคุณค่าในตัวของมันเอง สมควรที่จะได้ค้นคว้าศึกษาและฟื้นฟูเพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยชี้นำในการหาทางออกให้กับมนุษยชาติและธรรมชาติ ซึ่งดูราวกับว่ากำลังเดินไปสู่ทางตัน ใกล้เข้าไปเป็นลำดับ | |
![]() |
![]() |
วัฒนธรรมหรือระบบคิดของมนุษย์ | BACK | วัฒนธรรมหรือระบบคิดของชาวบ้านฯ | ![]() |