Untitled

http://www.tungsong.com


ประเวศ วะสี

วิสุทธิ์ ใบไม้

สมศักดิ์ สุขวงศ์

ฉลาดชาย รมิตานนท์

ชนวน รัตนวราหะ

ระพี สาคริก

ยศ สันตสมบัติ

วัฒนธรรมมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม : วัฒนธรรมคือความคิด

 

วัฒนธรรมหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรม เป็นวัตถุมองเห็นได้จับต้องได้ มีให้เราเห็นและ
สัมผัสได้หลากหลายรูปแบบ เช่นเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหิน จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ จรวด ดาวเทียม วัดวาอาราม เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ศาสนสถาน รูปเคารพ ก็เป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น ประดิษฐ์ขึ้นมาเช่นเดียวกัน แต่เรามองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ ความจริงแล้ววัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมนี้ต่างหากที่มีความสำคัญมากกว่าวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นขวานหิน ธนูและลูกศร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ตัวสิ่งประดิษฐ์นั้นๆ หัวใจสำคัญของมัน คือ “ความคิด” ที่อยู่เบื้องหลังวัตถุเหล่านั้นต่างหาก

 

คำว่า “ความคิด” ในที่นี้มิได้มีความหมายแต่เพียงความคิดที่นำไปสู่การสร้างวัตถุนั้นเท่านั้นไม่
แต่หมายความรวมไปถึงสิ่งที่อาจสำคัญกว่าคือความคิดที่จะใช้หรือไม่ใช้สิ่งประดิษฐ์นั้นด้วย ตัวอย่างเช่นความคิดและทฤษฏีของ อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่การสร้างและใช้ระเบิดปรมาณูเป็นมหันตอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและธรรมชาติ ดังนี้เป็นต้น ความคิดในความหมายนี้คือ ศีลธรรม จริยธรรมนั่นเอง

 

พระพุทธรูปเป็นวัตถุที่มีความสำคัญทั้งในทางพุทธศาสนา ศิลปกรรมและโลหวิทยาแต่สิ่งที่สำคัญ
มากไปกว่านั้นคือ ศรัทธาความเชื่อที่เป็นพลังผลักดันให้มีการสร้างและเคารพบูชาพระพุทธรูปนั้น

 

ด้วยเหตุนี้นักมานุษยวิทยาบางสำนักจึงสรุปว่าท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมคือ
“ความคิด” หรือ “ระบบคิด” ของมนุษย์นั่นเอง

 

หากทำความเข้าใจวัฒนธรรมในเชิงนี้แล้ว เราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งความคิดทางวิทยาศาสตร์
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์คือผลของการค้นพบกฎของธรรมชาติโดยมนุษย์ ส่วนเทคโนโลยีคือการใช้ความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมารับใช้มนุษย์ ตามระบบความคิดของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อทั้งมนุษย์และธรรมชาติหรืออาจเป็นผลดีต่อเฉพาะมนุษย์ แต่มีผลร้ายหรือทำลายธรรมชาติก็ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้สิ่งที่เราเรียกว่า พัฒนาการทางวัฒนธรรม อารยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ้าไม่พิเคราะห์ให้ชัดเจน และถูกต้องแล้วสิ่งเหล่านั้นที่เราเคยทึกทักเอาว่าเป็นความก้าวหน้า ความทันสมัยอาจเป็นมหันตภัยต่อมนุษย์และธรรมชาติก็ได้


มนุษย์ต่างกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่วัฒนธรรม BACK วัฒนธรรมหรือระบบคิดของมนุษย์