ชื่อท้องถิ่น
ไพล , ว่านไฟ(ภาคกลาง), ปูเลย, ปูลอย (เหนือ), มิ้นสะล่าง (เงี้ยว - แม่ฮ่องสอน), ปันเลย (เขมร)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Zingiber montanum (J. Konig ) Dietr . ex Link (Z. purpureum Roscoe)

วงศ์

ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ

 

ลักษณะ

เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7 - 1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอก แทงจากเหง้าใต้ดินกลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง รูปกลม

ขยายพันธุ์

ใช้เหง้าปลูก ชอบดินเหนียวปนทรายมีการระบายน้ำดี แสงแดดพดสมควร จะปลูกเป็นแปลงหรือเป็นกอก็ได้ วิธีปลูกทำโดยการขุดเหง้าจากกอเดิมตัดลำต้นทิ้ง และนำไปปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ ดูแลความชื้นและวัชพืชสม่ำเสมอ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เหง้าแก่จัด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ร้อยละ 0.8 และมีสารที่ให้สีชื่อ Curcumin

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

แก้ท้องอืด ท้องขึ้น ขับลม : ใช้เหง้าแก่ล้างให้สะอาด ฝานเป็นชิ้น ๆ ตากแดดให้แห้ง นำมาบดเป็นผงละเอียด ใช้ผงบดประมาณ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน ผสมกับเกลือเล็กน้อย รับประทาน

แก้โรคบิด : ใช้เหง้าสดฝานเป็นแว่น สัก 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทานหรือใช้ฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน

โรคหืด : ใช้เหง้าไพล 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลูและพิมเสน อย่างละ 1/2 ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยารวม 1 ช้อนชา ชงรับประทานหรือปั้นเป็นยาลูกกลอนเก็บไว้รับประทานก็ได้

แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ : ใช้เหง้าไพล 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำมาทาถูนวดบริเวณที่เกิดอาการ หรือ ตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเค้าเข้าด้วยกัน แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้เกิดความร้อนขึ้นมา ประคบบริเวณที่ปวดเมื่อยและฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย

ข้อควรรู้

    -

เพกา สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ฟักทอง