ชื่อท้องถิ่น

ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโด (มาเลเซีย-นราธิวาส) มิลิดไม้ มะลิ้นไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Oroxylum indicum(L.) Kurz

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่อสามัญ

 

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย เปลือก เรียบสีเทาบางทีแตกเป็นรอยตื้นๆ เล็กน้อย ใบ ประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผล เป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบนสีขาว มีปีกบางโปร่งแสง

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดให้ต้นกล้าสูง 30-50 ซม. แล้วเตรียมหลุมกว้างและลึก 50-75 ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอกกรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ควรปลูกในฤดูฝน

ส่วนที่ใช้เป็นยา

เมล็ดแห้ง ราก ฝักอ่อน เปลือกต้นเพกา

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

-

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้ท้องร่วง : ใช้ราก เพกา ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ต้มให้เหลือ 2 แก้ว ใช้ดื่ม
   แก้ไอ ขับเสมหะ : ใช้เมล็ดแห้ง 1/2-3 กำมือ หนัก 1.5-3 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้ไฟอ่อน ๆ เคี่ยวนาน 1 ชั่วโมง ดื่มแต่น้ำครั้งละ 1/3 แก้ว วันละ 3 ครั้ง
   แก้แผลน้ำร้อนลวก : ใช้เปลือกเพกาฝนกับน้ำปูนใส ทาบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวกเป็นประจำ
   แก้ฝี ผดผื่นคัน : ใช้เปลือกสด ๆ ฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณที่เป็น หรือ ใช้เปลือกสดมาตำผสมเหล้าขาว พ่นบริเวณที่เป็น

พลู สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ไพล