โครงสร้างการบริหารและอำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

1.          สำนักงานเลขานุการกรม   มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม   และราชการมิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง

 

(ก)      ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม

 

(ข)     ดำเนินการเกี่ยวกับแผนงานและการจัดทำงบประมาณของกรม

 

(ค)     ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนายการและงานเลขานุการของกรม

 

(ง)      ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารการปฏิบัติงานของกรม

 

(จ)      ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยนงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

2.          กองการเจ้าหน้าที่   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม เว้นแต่การฝึกอบรม

 

(ข)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง             หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

3.          กองคลัง   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    ดำเนินการเกี่ยว+กับการเงิน  การบัญชี  การบริหารงบประมาณ  การพัสดุ  อาคารสถานที่และยานพาหนะของกรม

 

(ข)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง            หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

4.          กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น  มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา  งานคดีปกครอง และงานคดีอื่น รวมทั้งการให้คำปรึกษา  วินิจฉัยและตีความข้อกฎหมาย

 

(ข)   จัดทำและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

(ค)   ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน  หรือร้องทุกข์อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น

 

(ง)    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

5.          กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    วางระบบการตรวจสอบระบบการเงิน  การบัญชี  และการพัสดุของท้องถิ่น

 

(ข)   ตรวจสอบ  วิเคราะห์  และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการคลัง การบัญชี การเงินและการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

(ค)   ติดตามผลการดำเนินงาน  และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการทุจริต หรือผิดปกติเกี่ยวกับการเงิน

 

(ง)    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

6.          ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    ดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ   ระบบงานคอมพิวเตอร์และเป็นศูนย์กลาง เครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานท้องถิ่น

 

(ข)   ศึกษา  และวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ของกรม

 

(ค)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

7.          สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนข้าราชการและลูกจ้างของกรม   ยกเว้นการพัฒนาข้าราชการระดับสูงและหลักสูตรทั่วไป

 

(ข)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้  รับมอบหมาย

 

8.          สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    พัฒนาระบบงบประมาณ ระบบบัญชี การจัดเก็บรายได้ และเงินกองทุนต่าง ๆ ของท้องถิ่น

 

(ข)   ส่งเสริม  สนับสนุนและประสานการดำเนินงานด้านการเงิน  การคลัง  การงบประมาณ การจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ของท้องถิ่น

 

(ค)   จัดสรรรายได้และเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายและ หลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

(ง)    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

9.          สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล  การกำหนดแนวทาง  จัดทำและปรับปรุงมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

 

(ข)   ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล

 

(ค)   ให้คำปรึกษา แนะนำ และติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

 

(ง)    ดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ และการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(จ)    ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น

 

(ฉ)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

10.     สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น   มีอำนาจหน้าที่

 

(ก)    พัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

(ข)   ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่น

 

(ค)   ส่งเสริม  สนับสนุน  และประสานการบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม  การศึกษา  สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

(ง)    ศึกษา  วิจัย  จัดทำ  และพัฒนามาตรฐานการบริการสาธารณะและตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตาม    มาตรฐานที่กำหนด

 

(จ)    ดำเนินการวางระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และเกณฑ์ชี้วัด ที่กำหนด

 

(ฉ)   ส่งเสริม  สนับสนุน  และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

(ช)   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

โครงสร้างการบริหาร และอำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ดูรายละเอียดคลิกที่ภาพ



 

จากโครงสร้างการบริหาร และอำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดังกล่าว  สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติราชการได้เป็น  3  ด้าน  คือ

 

§               แนวทางปฏิบัติราชการด้านการบริการประชาชน

 

§               แนวทางปฏิบัติราชการด้านการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

§               แนวทางปฏิบัติราชการด้านงานอำนวยการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน ตัวชี้วัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการแต่ละด้านดังกล่าว จำแนกเป็นเรื่อง ๆ ได้ ดังนี้



3หน้าที่ของ สถ.

BACK

แนวทางปฏิบัติราชการด้านการบริการประชาชน.4