|
|
 |
เพลงทุ่งสงรำลึก
| อาหารของชาวทุ่งสง |
อาหารของชาวทุ่งสง |
คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด
เค็ม
เปรี้ยว
แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด
พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ
รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด
ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น
เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ
อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง
ซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ
ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง
บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ
ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ
แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น
อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้มักเกี่ยวข้องกับปลาและอาหารอื่นๆ
จากทะเล นอกจากนี้ ใช้เครื่องเทศโดยเฉพาะขมิ้น
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลืองๆ แทบทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด
ไก่ทอด
อาหารคาวที่ชาวทุ่งสงนิยมรับประทานขนมจีนกับผักสดและผักดองหลากชนิด
ซึ่งมีขายทั้งวัน สมัยก่อนไม่มีตู้เย็นใช้ ดังนั้น
ในการประกอบอาหารต้องทำแต่พอรับประทาน
ใช้น้ำมันหมูและน้ำมันบัวในการปรุงอาหาร
ร้านอาหารที่เก่าแก่ในทุ่งสง ได้แก่ ร้าน ย่งฮง แสงไทย
แสงโสม และบุญญา ขนมของชาวทุ่งสง ได้แก่ ขนมหวัก ขนมกรอก
ขนมจู้จุน ขนม ปะดา และข้าวเหนียวปิ้ง สำหรับอาหารเช้า
ได้แก่ ชากาแฟ โจ๊ก ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวเหนียวปิ้ง
และปาท่องโก๋ |
|
|
 |
 |
ร้านย่งฮง สาขา 1
ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2553 |
ร้านแสงไทย
ถ่ายเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2553 |
ร้านอาหารขึ้นชื่อของเมืองทุ่งสง |
|
|
ร้านอาหารขึ้นชื่อของเมืองทุ่งสงในอดีต
ได้แก่ ร้านน้ำชามุ่ยหลี ริมถนนชนปรีดา
ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่จนถึงปัจจุบัน ร้านน้ำชามุ่ยเอี้ยง
ริมถนนชนปรีดา ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว ร้าน ย่งฮง
(เมนูเด็ดคือแกงกระหรี่ และขาหมูต้ม) ซึ่งเปิดดำเนินมาแล้วถึง
4 ชั่วอายุคน (รุ่นเตี่ยผัด ลูกยก) ร้านย่งฮงนี้
ย้ายที่ตั้งร้านมาจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน และปัจจุบันมี 2
สาขาอยู่ห่างกันเพียง 2-3 คูหา ร้านยงไทย
(เมนูเด็ดคือแกงเผ็ดแบบปักษ์ใต้ และต้มยำ) ร้านแสงไทย
(อาหารจีนทั่วไป และปัจจุบันเป็นร้านขายข้าวราดแกง) ร้านฮุ้ยกี่
(ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ร้านแสงโสม (ขายอาหารตามสั่ง-แยกมาจากร้านย่งฮง)
เจ้าของเดิมของร้านย่งฮง ผู้สามีได้แยกตัวมาเปิดร้านแสงโสม
เข้าซอยเล็กน้อยจากถนนสายทุ่งสง-กันตัง (ทางไปตำบลที่วัง)
|
สำหรับ ขนมฝรั่งนั้น
เข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งแรกในแผ่นดินของรัชกาลที่ 3
โดยชาวโปรตุเกสนำเข้ามาเผยแพร่ |
|
 |