 |
|
 |
|
ชื่อท้องถิ่น |
เขลียง เหมียง เหลียง มันควาย |
ชื่อวงศ์ |
GNETACEAE |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gnetum gnemon Lonn.Var.Tenerum Markgr |
ลักษณะลำต้น |
เป็นไม้ทรงพุ่มอยู่ใต้ร่มเงา ลำต้น เป็นข้อ ๆ สูงประมาณ 3-4 เมตร แต่ส่วนใหญ่สูงประมาณ 3 เมตร |
ลักษณะใบ |
ใบจะออกมาจากปลายยอดและกิ่ง ใบรีปลายแหลม ออกมาเป็นคู่ ๆ ใบยาว 10-20 เซนติเมตร |
ลักษณะดอก |
ดอกออกเป็นช่อมีขนาดเล็ก ออกมาตามข้อกิ่ง แต่ละช่อดอก ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร คล้ายดอกพริกไทย มีปุ่มหุ้มโคนดอก เวลาบานกลีบดอกสีขาวเกสรสีขาวเป็นฝอย |
ลักษณะผล |
ผลมีลักษณะกลมรี คล้ายรูปไข่ หัวแหลม ท้ายมน ผลอ่อนและผลแก่สีเขียว เมื่อสุกเหลืองเข้ม ช่อหนึ่งจะมีผลประมาณ 10-15 ผล |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร |
ยอดอ่อน ผลดอกอ่อน |
ใช้เป็นอาหารประเภท |
ต้มกะทิ แกงกะทิ แกงส้ม แกงพริก ทำห่อหมก แกงจืดหมูสับ ผัดเผ็ด ลวกจิ้มน้ำพริก กินสดเป็นผักเหนาะ ผลสุก ผลแก่ นำมาต้มรับประทานได้ รสชาติเหมือนถั่ว |
รสชาติ |
หวานอมขม มีฝาดเล็กน้อย |
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ |
ต้นอ่อนติดราก ปักชำ ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด |
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี |
ดินร่วนซุย และมีปุ๋ยอินทรีย์ ตามธรรมชาติ สมบูรณ์ปริมาณน้ำเพียงพอ และมีร่มเงาได้เป็นอย่างดี |
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต |
- |
ส่วนที่เป็นพิษ |
กล่าวกันว่าถ้าใช้มือที่เปียกน้ำเก็บใบเขลียงมาก ๆ จะทำให้แสบมือแต่ถ้ามือแห้งจะไม่มีอาการ |
ประโยชน์ใช้สอย |
ไม่มี |
ความเชื่อ |
ไม่มี |
สรรพคุณทางสมุนไพร |
ใบอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นยาบำรุงกำลัง ตำพอกใบหน้า ช่วยลอกฝ้า ใบหน้าเป็นนวลใย |