![]() ![]() |
![]() |
![]() ![]() ![]() เลือกย่านลิเภาใหญ่ เป็นย่านแก่ มีความสด มีความสมบูรณ์ตลอดเส้น และมีความยาวไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร การที่ต้องเลือกย่านลิเภาที่สดก็เพื่อให้สะดวกแก่การลอกเปลือกออกมาใช้งาน เพราะหากทิ้งให้แห้งจะลอกออกยาก ไม่สะดวกแก่การทำเป็นเส้นสำหรับสาน ไม้ริงโร เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhapis humillis ชื่อสามัญว่า Lady palm ลำต้นกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เปลือกเป็นแผ่นใยบาง ๆ สีน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร ใบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบหนึ่ง ๆ จะมีใบแผ่นเป็นแฉกประมาณ 10 แฉก ก้านใบยาวระหง ดูงามตา ชอบขึ้นในที่ร่มซึ่งมีแสงแดดรำไร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีมากในเขตเชิงเขา ลำต้นมีคุณสมบัติพิเศษตรงที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นหรืออ่อนตัวได้ดี สามารถดัดให้โค้งงอได้ง่าย และมีความทนทาน ใช้งานได้นานนับสิบ ๆ ปี ไม้ไผ่ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่ใหญ่ที่สุด ที่นิยมใช้ทำโครงผลิตภัณฑ์ลิเภา คือไม้ใผ่สด ไม้ไผ่ชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 3 - 4 นิ้ว ต้นสูงประมาณ 5 -10 เมตร ลำต้นกลมเกลี้ยง ผิวสีเขียว ถ้าแก่จัดมีสีเหลืองปน ปล้องหนึ่ง ๆ ยาว 12 - 16 นิ้ว แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มหรือกอใหญ่และทึบมาก มีมากในภาคใต้ นิยมใช้ทำเครื่องจักสาน โดยเฉพาะเครื่องมือจับปลาและใช้ในการก่อสร้างอาคารชั่วคราว ไม้หวาย เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calamus sp ชื่อสามัญว่า Rattan palm เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็ก ๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่ง ๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย นิยมใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง และเครื่องจักสาน ไม้หวายที่นิยมนำมาใช้ทำโครงผลิตภัณฑ์ลิเภาคือ หวายหอม |
![]() ![]() |
![]() ![]() เรียกว่า "ชักเรียด" วิธีการต้องเลือกชักเส้นจักตอกผ่านรูขนาดโตพอดีกับรูแป้นก่อน โดยชักผ่านตลอดเส้น ขณะชักเส้นจักตอก คมของแป้นจะเหลาตอกส่วนที่โตเกินรูแป้นออก ครั้นชักตอกผ่านรูขนาดโตแล้วก็ชักลอดผ่านรูแป้นขนาดเล็กลงตามลำดับ จนกระทั่งได้เส้นจักตอกโตตามขนาดที่ต้องการ การเหลาเส้นจักตอกโดยวิธีชักเรียด จะทำให้ตอกมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้น ผิวตอกจะเรียบลื่นสวยงาม และสามารถทำได้รวดเร็วด้วย การชักเรียดนิยมใช้ทำเส้นจักตอกขนาดเล็กที่เหลาด้วยมีดพร้าได้ลำบาก วัสดุที่ใช้เหลาแบบชักเรียดจึงต้องอ่อนตัวและเหนียวทน เช่น หวาย คลุ้มและย่านลิเภา มิเช่นนั้นจะขาดได้ง่าย การจะให้ผลิตภัณฑ์ลิเภาประณีตสวยงามมากเพียงใด จึงต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นเตรียมวัสดุ (หรือขั้นการชักเรียด มากเพียงนั้น) |
![]() ![]() |
![]() แบบที่หนึ่ง คือผลิตภัณฑ์ที่มีไม้เป็นโครง ได้แก่ กระเชอ กระเป๋า กล่อง กุบหมาก และ พาน ผลิตภัณฑ์ที่มีไม้เป็นโครง ในการสานจะต้องใช้เบ้าเป็นเครื่องกำหนดรูปทรง ตัวเบ้านิยมทำด้วยไม้เนื้ออ่อน มีรูปทรงแตกต่างกัน เช่น ทรงกลม ทรงรีรูปไข่ ทรงสี่เหลี่ยม ทรงหกเหลี่ยม และทรงหลังเต่า หากช่างต้องการสานให้มีรูปทรงอย่างใด ก็ใช้เบ้ารูปทรงนั้นมาเป็นแบบแล้วสานขึ้นรูปตามเบ้านั้น ![]() รูปแบบการสานนั้นนิยมทำกันสองแบบ แบบโปร่ง (หรือแบบขดขึ้นรูป) เริ่มสานจากก้นของภาชนะหรือเครื่องใช้นั้น โดยใช้หวายขดขึ้นรูปเป็นวงกลมแบบก้นหอย เวียนขึ้นไปตามเบ้าที่ใช้เป็นแบบแล้วนำย่านลิเภามาสานขัดเป็นแบบ "ลายเป้า" มีลักษณะของงานจักสานวิธีนี้จะเป็นลวดลายแบบโปร่งหรือเป็นตา ๆ แบบขัดยกลาย จะแยกส่วนของเครื่องใช้ออกสานทีละส่วน ได้แก่ ก้น ตัว ฝา ขอบ และหูหิ้ว แล้วค่อยนำมาประกอบเป็นรูปทรงทีหลัง การสานจะใช้ไม้ริงโรหรือไม้ไผ่เป็นโครง แล้วกรองเป็นผืนด้วยเส้นด้าย หรือไม้ไผ่เล็ก ๆ จากนั้นจึงใช้ย่านลิเภามาสานขัดเป็นลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกสี่เหลี่ยม ลายสอง ลายตาสับปะรด ลายลูกแก้ว สีของลวดลายส่วนใหญ่มีสี่สี คือ สีเนื้อ สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแก่ และสีดำ ลักษณะงานจักสานวิธีนี้จะเป็นรูปทึบ |
![]() ![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ |
![]() ครูช่าง |