เป็นลิเภาขนาดกลาง แต่ละเถาหรือแต่ละย่านมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ชอบขึ้นตามเชิงเขาสูง เช่น เขาหลวง และเขาบรรทัด

ชื่อท้องถิ่น : ลิบูปาดี ลิบูซือนิง (มลายู - นราธิวาส) ปูยุ่ง ลิเพาหยอง, ลิเพาหยอย, ย่านพองหยอง ,ย่านลิเภายุ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lygodium micro phyllum (cav.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : SCHIZACEAE
ลักษณะ :เป็นพืชพวกเฟิน ลำต้นเลื้อยใต้ดิน แทงใบขึ้นเหนือผิวดินเป็นระยะ ใบ ประกอบสามชั้น ก้านใบเรียวเล็กคล้ายเส้นลวด ยาวมาก บางครั้งยาวถึง 5 เมตร เลื้อยคลุมพืชอื่น ๆ และพันต้นไม้ใหญ่ ใบประกอบชั้นที่สอง เรียงสลับทอดระยะห่างกัน 5 -10 เซนติเมตร ก้านยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายก้านมีขนสีน้ำตาล ด้านข้างแยกแขนงหนึ่ง คู่ตรงข้ามกัน ยาวก้านละ 5 -10 เซนติเมตร ปลายก้านใบย่อยชั้นที่สองนี้ ปกติจะไม่เจริญยาวขึ้นอีก ยกเว้นเมื่อก้านใบชั้นแรกตอนบนถูกทำลายไป ปลายก้านใบย่อยชั้นนี้จะแตกตาเจริญขึ้น ทำหน้าที่แทนก้านใบเดิมต่อไป ใบย่อยเรียงสลับบนก้านใบย่อยชั้นที่สาม ก้านใบย่อยยาว 2 -3 มิลลิเมตร แผ่นใบย่อยรูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5 - 3.0 เซนติเมตร กว้าง 1 -2 เซนติเมตร ปลายมน โคนกว้าง สอบและบางครั้งมีติ่งหู ขอบใบที่ไม่สร้างสปอร์เรียบ ขอบใบที่สร้างสปอร์หยักเป็นแฉกลึกคล้ายนิ้วมือ ด้านล่างของแฉกมีกลุ่มของอับสปอร์เรียงตัวกันเป็นสองแถว มีเยื่อบางขนาดเล็กคลุม
        ลิเภายุ่ง ขึ้นทั่วไปในที่โล่ง บริเวณที่ลุ่มน้ำขังและที่ดอนบ้าง แต่ไม่มากนัก มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชียและแอฟริกา
        เปลือกของเถา หรือที่เรียกว่าย่าน ใช้จักสานเป็นกระเป๋าถือ และหมวก
        สรรพคุณทางยา :ราก ต้มกินแก้ร้อนใน ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะแดง หรือผสมตัวยาอื่นแก้โรคมะเร็ง ราก ใบ เถา ต้มดื่มน้ำ แก้เลือดพิการแก้ระดูมากะปริบกะปรอย

ชื่อท้องถิ่น : ลิเพา, ลิบูบือซา (มยายู- นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lygodium salicifolium Persl
ชื่อวงศ์ : SCHIZAEACEAE
ลักษณะ : ลิเภาใหญ่ เป็นพืชพวกเฟิน ลักษณะของลำต้นและใบมีใบเป็นเถาเลื้อยคล้ายลิเภายุ่ง (L. microphyllum) ต่างกันที่เถาใหญ่และแข็งกรอบ ลักษณะอื่นที่ต่างจากลิเภายุ่ง คือ ใบ ประกอบสี่ชั้น ก้านแขนงแรกสั้นมาก แตกก้านแขนงคู่ที่สองชิดหรือเกือบชิดก้านใบ ก้านชั้นที่สองแตกแขนงเป็นก้านช่อใบประกอบย่อย เรียงสลับ ใบประกอบย่อยแต่ละใบมีใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก 3 - 5 ใบ ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายใบมนถึงแหลม โคนหยักเว้าหรือหยักลึกคล้ายหัวลูกศร บางครั้งหยักเป็น 5 พู ขอบใบหยักละเอียด
        ลิเภาใหญ่ ขึ้นในบริเวณที่โล่งตามชายป่า มีเขตการกระจายพันธุ์ทุกภาคของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เปลือกของเถาใช้ทำหัตถกรรม
         สรรพคุณทางยา : ราก ต้มแก้ร้อนใน ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะแดง หรือผสมยาอื่นรักษาโรคมะเร็ง ราก ใบ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดพิการ แก้ระดูมากะปริบกะปรอย

ความเป็นมา
ความเป็นมา
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนการทำ