เกิดที่บ้านหัวสวน หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ.2477 บิดาชื่อป่าน เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลเกาะทวด และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางช่างฝีมือหลายอย่างเช่น ช่างไม้ ช่างวาด ช่างแกะสลัก ช่างจักสาน ฯลฯ มารดาชื่อ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 8 คน เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ด้วยเหตุที่บิดาเป็นช่าง ทำให้เขาสนใจและเรียนรู้วิชาการช่าง จากบิดามาแต่เด็ก เมื่ออายุได้ 9 ปี เขาได้ไปอยู่กับท่านอาจารย์ปี้ที่วัดโบสถ์ (ธาราวดี) ตำบลเกาะทวด เพื่อเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดโบสถ์ จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ 4 อายุได้ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหน้าพระบรมธาตุชาวบ้าน เรียกว่า "วัดหน้าธาตุ" อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีพระครูการามเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาแล้วจำพรรษาอยู่วัดนั้น ขณะเป็นสามเณรได้ตั้งใจศึกษาธรรมะจน สอบได้นักธรรมเอก หลังจากบวชได้ 3 ปี ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท้าวโคตร แต่ยังคงศึกษาบาลีอยู่ที่วัดหน้าพระ บรมธาตุ บวชอยู่ได้ 7 พรรษา จึงกลับไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์ซึ่งเป็นวัดที่บ้านเกิด ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การศึกษาธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณรประจำวัดโบสถ์ ขณะที่บวชก็ได้ใช้ความสามารถช่วยในการก่อสร้างกุฏิวิหารและศาลาของวัดด้วย บวชอยู่ได้ 10 ปี จึงลาสิกขา

        ต่อมาได้แต่งงานกับนางสาวเอื้อน เยี่ยมสวัสดิ์ ซึ่งเป็นชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีฯ พาครอบครัวมาอยู่ที่บ้านเกาะทวด มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน ยึดอาชีพทำนา และก่อสร้างเป็นอาชีพหลัก ในขณะเดียวกันก็สนใจเรื่องการจักสานด้วย เป็นการจักสานโดยใช้หวายและทำเพื่อใช้เองในครอบครัว ต่อมาได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านหมน ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เคลือบ ดำอ่อน นอกจากจะได้รับความรู้ในเรื่องการจักสานจากหนังสือบุด (สมุดข่อย) ซึ่งปู่เขาเขียนไว้ และยังได้รับจากเรือนจำนครศรีธรรมราชส่วนหนึ่งด้วย เขาได้เห็นเครื่องจักสานย่านลิเภาซึ่งเป็นของเก่าแก่ซึ่งมีรูปร่างลักษณะและลวดลายสวยงามมาก จึงเกิดความคิด ถ้ามีการฟื้นฟูการจักสานย่านลิเภาขึ้นอีกคงจะดี จึงได้เริ่มหาย่านลิเภาในบริเวณบ้านหมนซึ่งพอจะมีอยู่บ้าง ครั้งแรก ๆ สานเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาสามารถผลิตขายได้ราคาดี พัฒนาการอำเภอเมืองนครศรีฯได้มาประชุมชาวบ้านที่บ้านหมนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ชาวบ้านเสนอให้มีการจัดสอนการจักสานด้วยย่านลิเภา โดยให้ เคลือบ ดำอ่อน ผู้มีความรู้ด้านนี้เป็นผู้สอน พัฒนากรอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจ่าสิบเอกสมบูรณ์ เสนะสุขุม ได้ไปปรึกษา เคลือบ ดำอ่อน เรื่องจะให้เปิดสอนการจักสานย่านลิเภา จะเปิดสอนที่บ้านหมน เพราะชาวบ้านที่สนใจจะได้เรียนด้วย โดยให้ภรรยาและลูกหลานนายทหารถ้าสนใจก็มาเรียนได้

         เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2519 ใช้โรงเรียนชุมชนวัดหมน เป็นสถานที่สอน โดยสอนตั้งแต่ตอนบ่ายจนถึงห้าโมงเย็น ครั้งแรกมีผู้มาเรียนประมาณ 50 คน เมื่อเปิดได้ 2 เดือน สภาสตรีจังหวัดนครศรีธรรมราชทราบข่าวจึงให้เงินมา 6,000 บาท สำหรับใช้ประโยชน์ในกิจการจักสานย่านลิเภาที่บ้านหมน เคลือบ ดำอ่อน จึงประชุมปรึกษาชาวบ้านเพื่อซื้อบ้านทำศูนย์ฝึกวิชาชีพจักสานย่านลิเภา ชาวบ้านก็เห็นด้วย ซื้อบ้านในราคา 3,000 บาทเป็นบ้านเล็ก ๆ ชั้นเดียวพื้นปูนหลังคามุงจาก มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อยู่กลางชุมชนบ้านหมน ส่วนเงินอีก 3, 000 บาท ไว้ใช้สำหรับต่อเติม (ปัจจุบันศูนย์ฯ นี้ได้รื้อสร้างอาคารใหม่แล้ว) ใช้เวลาเปิดสอนอยู่ที่โรงเรียน เป็นเวลา 2 ปี ในปีสุดท้ายมีผู้มาเรียนประมาณ 100 กว่าคน หลังจากนั้น ก็ยังคงสอนอยู่แต่เป็นการสอนที่ไม่กำหนดเวลาและสถานที่แน่นอน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีความรู้สามารถถ่ายทอดให้ผู้สนใจอื่น ๆ ได้แล้ว จึงสอนโดยการเยี่ยมเยียนตามบ้านคอยแนะนำเทคนิควิธีใหม่ ๆ และออกแบบลวดลายเพิ่มเติมให้เป็นครั้งคราว เคลือบ ดำอ่อน เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจ ของชาวบ้านหมน ชาวบ้านจึงมักเรียกเขาว่า "ครูเคลือบ"
ปี พ.ศ.2523 ได้เคยเข้าไปอบรมการจักสานที่กระทรวงอุตสาหกรรม และในงานกาชาดประจำปีที่กรุงเทพฯ เขาจึงได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรอบรมพัฒนากรอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา และได้รับเชิญให้ไปสอน เช่น กลุ่มฝึกวิชาชีพ (อิสลาม) ที่ค่ายลูกเสือ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
ในปี พ.ศ.2527 ได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้เป็นผู้สอนหัตถกกรมจักสานใบตาลแก่ชาวบ้านอยู่ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

        ร้อยเอกเผือน คงเอียง เป็นบุตรนายหวาน และนางเอื้อน คงเอียง เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2479 หมู่ที่ 4 (บ้านคูวา)ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนระโนดวิทยามูลนิธิ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สมรสกับ น.ส.วิภา มีบุตรชายสองคนและบุตรสาวหนึ่งคน สมัครเข้ารับราชการทหารบก เคยดำรงตำแหน่งผบ.หมวดฝึกร้อยฝึก ป.พัน 15 ค่ายวชิราวุธนครศรีธรรมราช เคยไปราชการสงครามที่ประเทศเวียดนาม ในสังกัด ป.พัน 2 ร้อย 3 พลอาสาสมัคร เมื่อ พ.ศ.2511 ตำแหน่งครั้งสุดท้ายก่อนไปเป็นครูสอนจักสานย่านลิเภา คือ นายทหารประสานการยิง ป.พัน 15 (ปัจจุบัน คือ ป.พัน 105) ปัจจุบันเป็นครูช่างลิเภาที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไปเป็นช่างจักสานย่านลิเภาฝีมือเอกจนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เป็นครูสอนจักสานย่านลิเภาประจำศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ร้อยเอกเผือน คงเอียง รับราชการเป็นนายทหารประสารการยิง สังกัด ป.พัน 15 กองทัพภาคที่ 4 สนใจงานช่างหลายแขนงโดยเฉพาะงานจักสานย่านลิเภาได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้เริ่มฝึกหัดสานย่านลิเภาอย่างจริงจัง เมื่อ พ.ศ.2517 ขณะอายุได้ 38 ปี โดยมีนายวิจิตร เจิมธานีเป็นผู้ฝึกสอนที่สโมสรนายทหารกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี คุณหญิงวรี จิตรปฏิมา ภรรยาพลโทสัณฑ์ จิตรปฏิมา แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมให้แก่แม่บ้านทหารชั้นประทวน เมื่อเห็นว่าพอจะทำได้ ก็เริ่มต้นผลิตงานขึ้นมา ผลงานเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่มาพบเห็นหลายรายชมว่าชักเส้นลิเภาได้ดี เรียงร้อยเส้นเข้ากับโครงได้อย่างประณีต ใน พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ แม่ทัพภาคที่ 4 และคณะแม่บ้านทหารค่ายวชิราวุธได้นำกระเป๋าย่านลิเภาฝีมือ ร้อยเอกเผือนไปทูลเกล้า ฯ ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพินิจพิจารณาด้วยความพึงพอพระราชหฤทัย ทรงมีพระราชเสาวณีย์ขอตัว ร้อยเอกเผือนไปเป็นครูสอนจักสานย่านลิเภาแก่นักเรียนช่าง ในพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ที่โรงเรียนฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา กรุงเทพฯ และที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ.2524 เป็นต้นมา ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์ขยายงานจักสานย่านลิเภาไปสู่พสกนิกรในจังหวัดนราธิวาส และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุรปราการ เพื่อให้นักเรียนช่างและคนพิการที่ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมถ์ตามศูนย์ฝึกศิลปาชีพดังกล่าว ได้ฝึกหัดผลิตงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ให้กว้างขวาง จึงจำเป็นต้องเร่งหาช่างจักสานย่านลิเภาฝีมือดีจากจังหวัดนครศรีธรรมราชอันเป็นถิ่นกำเนิดศิลปะแขนงนี้มาเป็นครูสอน ร้อยเอกเผือนจึงเป็นหนึ่งในจำนวนช่างจักสานย่านลิเภาที่ได้รับคัดเลือกไปในคราวนั้น เมื่อเข้าประจำการที่ศูนย์ศิลปาชีพ ร้อยเอกเผือนได้ปฏิบัติหน้าที่ถ่ายทอดศิลปะการสานย่านลิเภาแก่ศิษย์หลายคน ขณะเดียวกันก็ได้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองควบคู่ไปด้วย ที่จัดว่าเป็นข่าวเกรียวกราวมากที่สุดในวงการนี้ ก็คือการทำพานลิเภาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขึ้นจำนวนสองใบ ใบแรกเป็นพานแว่นฟ้า (สำหรับใส่ผ้าไตร) ขนาดใหญ่เท่าของจริง จุดประสงค์จัดทำเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา เมื่อ พ.ศ.2530 ใช้เวลาทำสองปี ใบที่สองเป็นพานทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดทำเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาส ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา เมื่อ พ.ศ.2535 ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน กล่าวได้ว่าได้รับพระเมตตาและความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตลอดมา
ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรและพิธีกรในหลายโอกาส
       1. เป็นวิทยากรอบรมนักเรียน เรื่อง ความประพฤติของมนุษย์ เรื่องการทำสมาธิเรื่องความเชื่อในกฎแห่งกรรม และเรื่องหน้าที่ของพลเมืองดี
       2. เป็นวิทยากรพิเศษอบรม เรื่อง พระราชเสาวนีย์ และเรื่องความรักชาติ
       3. เป็นพิธีกรหน้าพระที่นั่งครั้งที่เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชน และทอดพระเนตรการแสดงพื้นบ้านซึ่งได้รับคำชมจากพระโอษฐ์ว่า "ครูเผือนพูดเก่งพูดให้คนเขารักชาติ" ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาไว้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนตลอดมา
ร้อยเอกเผือนจึงได้รับพระราชทานโล่และเข็มดังนี้
       1.โล่ครูจักสานย่านลิเภาดีเด่น (เมื่อ พ.ศ.2531)
       2. เข็มผู้ให้ความร่วมมือต่อส่วนรวมดีเด่น (เมื่อ พ.ศ.2525 - 2527)
       3. เข็ม ภปร. (ติดอกเสื้อ)
       4. เข็ม สก. (ติดอกเสื้อ)
       5. เข็ม จภ. (ติดอกเสื้อ)

         เป็นชาวบ้านวัดพระคุด ปัจจุบันตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ 146 หมู่ที่ 7 (ข้างวัดพระมงกุฎหรือพระคุด) ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานย่านลิเภาในตำบลนาเคียนทำกันเป็นกลุ่ม มีชื่อว่า "กลุ่มจักสานย่านลิเภา ตำบลนาเคียน" ละแวกข้างวัดพระคุด ทำกันเกือบทุกครัวเรือน มีพัฒนากรตำบลนาเคียนเข้ามาส่งเสริมโดยให้เงินยืมเพื่อการผลิตจำนวน 10,000 บาท เพื่อให้สมาชิกภายในกลุ่มกู้ไปซื้อวัสดุทำจักสานย่านลิเภา กลุ่มจึงแบ่งให้กู้ครัวเรือนละไม่เกิน 2,000 บาท การขายผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จ มักเอาไปขายส่งหลังสโมสรข้าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งมักให้ราคาดี ราคาผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาในช่วงเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม มักจะดีกว่าช่วงอื่น แต่หลังจาก เดือนพฤกษภาคมไปแล้วราคาจะไม่ค่อยดี แต่แม้ราคาจะขึ้นลงอย่างไร กลุ่มจักสานตำบลนาเคียนก็ยังคงทำกัน

         เป็นชาวบ้านนาเคียนโดยกำเนิด ปัจจุบันย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ 137/2 หมู่ที่ 7 (หลังวัดพระมงกุฏ) ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกครั้งแรกโดยเรียนกับนายช่วน ราชกิจ เป็นชาวตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลนาทราย มีเขตติดต่อกับตำบลนาเคียน คือ อยู่คนละฝั่งคลองใช้เวลาไปเรียนกับนายช่าง 3 วัน หลังจากนั้นมาฝึกทำเองจนได้กระเป๋าใบหนึ่ง เวลานี้ทำกระเป๋าย่านลิเภามาแล้วประมาณ 20 ปี แบบที่ทำส่วนมากจะเป็นลิเภาแบบทึบ เดือนหนึ่งทำกระเป๋าได้ 3 ใบ ขายเฉลี่ยใบละ 2,000 บาท เคยส่งกระเป๋าย่านลิเภาเข้าประกวดในงานเทศกาลเดือนสิบ ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนหลายครั้งแล้ว และเคยเข้าแข่งขันทำกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบและจักสานย่านลิเภา รางวัลที่เคยได้รับ ได้แก่ ปี 2528 รางวัลที่ 2 ประเภทจักสานย่านลิเภา ปี 2529 รางวัลที่ 2 ประเภทจักสานย่านลิเภา ปี 2533 รางวัลที่ 1 ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ ปี 2535 รางวัลที่ 2 ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ ปี 2538 รางวัลที่ 1 ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ (ไม่ตกแต่ง)

         เป็นชาวสวนไส ปัจจุบันตั้งบ้านเรือนอยู่เลขที่ 48/2 หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กระเป๋าจักสานย่านลิเภาในบ้านสวนไส มีทำอยู่ 14 -15 ครัวเรือน มักทำกันในช่วงเวลาว่างจากการทำสวน ฝีมือไม่ค่อยละเอียดเหมือนเมื่อทำกันครั้งแรก เนื่องจากท้องตลาดต้องการในราคาที่ไม่สูงนัก ราคาที่จำหน่ายขณะนี้ประมาณใบละ 550 บาท เดือนหนึ่งทำได้ประมาณ 4 ใบ ปัญหาของการจักสานย่านลิเภาในบ้านสวนไส คือ วัตถุดิบที่นำมาทำมีราคาสูงมาก เมื่อก่อนย่านลิเภาขายกันร้อยละ 20 บาท มาปัจจุบันขึ้นเป็นร้อยละ 30 - 35 บาท แม้ราคาสูงอย่างนี้แล้วก็หาซื้อได้ไม่ง่ายนัก ต้องออกไปซื้อต่างอำเภอ คือ ย่านชุมชนมุสลิมในอำเภอท่าศาลา เวลาไปซื้อจะรวบรวมเงินจากคนในหมู่บ้านแล้วซื้อมาไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อจะทำได้หลายสัปดาห์

         เป็นชาวสวนไส ปัจจุบันตั้งบ้านเรือนอยู่เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำย่านลิเภามาตั้งแต่ปี 2522 เมื่อก่อนทำเฉพาะแบบทึบที่มีเส้นละเอียดมาก แต่มาปัจจุบันจะทำแบบหยาบ เนื่องจากแม่ค้าจะมารับซื้อแบบหยาบมากกว่า ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ แม่ค้าจะมารับซื้อครั้งหนึ่ง ถ้าไม่มารับซื้อ จะเอาไปส่งที่ร้านหลังสโมสรข้าราชการนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เขต 2 นครศรีธรรมราช

         เป็นชาวนครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ที่บ้านพักทหารชั้นประทวน บ้านเลขที่ 283 /18 บ้านพักทหาร ป.พัน 105 ค่ายวชิรวุธ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝึกฝนงานช่างสานลิเภามาจากคุณแม่ (นางประไพ เมืองแมน) คุณแม่เป็นหนึ่งในจำนวน 14 คน ที่ได้ไปเรียนและฝึกทำจักสานลิเภากับเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ที่คุณหญิงวรี จิตรปฏิมา ภรรยาแม่ทัพภาคที่ 4 จัดมาสอนเมื่อ พ.ศ.2517

ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนการทำ