ย่านลิเภาเป็นเฟินเถาชนิดหนึ่ง ชื่อทางพฤกศาสตร์ : Lygodium flexuosum
วงศ์ : Schizaceae มีอยู่หลายชนิดเช่น L.Circinatum sw., L.flexuosum Sw.
ชอบขึ้นในดินทรายบริเวณที่ลุ่มที่มีความชื้นสูง ใบมีลักษณะเล็กยาว ปลายมีแฉกคล้ายตีนจิ้งจก ในภาษามาลายูจึงเรียกว่า "ลิบู" (แปลว่าตีนจิ้งจก) คำว่า "ลิเภา" คงจะเพี้ยนมาจากลิบูนั่นเอง เถาของย่านลิเภาเมื่อนำมาลอกออกจะได้เปลือกเป็นเส้นบาง ๆ แต่เหนียว เป็นงานฝีมือที่ละเอียดประณีตจนเป็นที่นิยมในสำนักของเจ้าพระยานคร กล่าวกันว่า เจ้าเมืองนครได้เคยนำมาถวายเจ้านายในกรุงเทพฯ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยายมราช (ปั้นสุขุม) ครั้งที่ดำรงตำแหน่งพระยาสุขุมนัยวินิต สมุหเทศภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ฟื้นฟูส่งเสริม จนงานจักสานย่านลิเภาเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูงในกรุงเทพฯ ต่อมาได้มีการฟื้นฟูครั้งสำคัญอีก 2 ครั้ง คือในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม มีการจัดประกวดการสานหมวกย่านลิเภา และใน พ.ศ. 2513 ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ครูสอนการสานย่านลิเภามาร่วมสอนในโครงการศิลปาชีพ ยังได้มีการพัฒนารูปแบบทำเป็นกระเป๋าถือเลี่ยมทองหรือประกอบเงินถมทอง จนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชิดหน้าชูตาอย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช หัตถกรรมย่านลิเภาได้รับการพัฒนารูปแบบการสานลายซึ่งพัฒนาจากลายขัดมาเป็น ลายดอกสีเหลี่ยม ลายสอง ลายตาสับปะรด ลายคชกริช และลายลูกแก้ว ยังมีการนำวัสดุแต่งประเภท ทอง นาก เงิน มาใช้เป็นเครื่องประกอบในผลิตภัณฑ์ให้สวยงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
        งานหัตถกรรมย่านลิเภาจึงกลายเป็น "ศิลปหัตถกรรม" แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของชาวนครศรีธรรมราช ภูมิปัญญาความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งอาชีพเป็นได้เป็นอย่างดี จึงเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาอนุรักษ์ และพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง


        เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดทั่วทั้งราชอาณาจักร ได้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่อันแท้จริงของราษฎร ทรงทราบถึงความต้องการรายได้เสริมเพื่อให้เพียงพอแก่การยังชีพในภาวะปัจจุบัน ทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านและพืชวัตถุดิบพื้นบ้าน ซึ่งจะนำมาประกอบงานฝีมือได้ รวมทั้งการทำผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาของชาวนครศรีธรรมราช โครงการอาชีพ เสริมในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อดูแลการดำเนินงาน พระราชทานชื่อว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้โอกาสชาวนาชาวไร่และครอบครัวสามารถจัดหารายได้เสริมเป็นประจำ โดยไม่ต้องหวั่นต่ออุปสรรคดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นการยกคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้น

2. เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดศิลปหัตถกรรมไทยที่กำลังจะเสื่อมสูญไปให้คงอยู่ โดยการผลิตผลงานให้มีคุณภาพดีเยี่ยมอยู่เสมอ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นความสำคัญอันมีอยู่ระหว่างปัญหาที่น่าหนักใจทั้งสองประการนี้ จึงได้ทรงตัดสินพระทัยที่จะแก้ไขสถานการณ์ ด้วย โครงการฝึกหัดศิลปาชีพ ขึ้นตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ได้มีอาชีพข้างเคียงที่จะสามารถเพิ่มพูนรายได้ โดยไม่ต้องฝากชีวิตไว้กับดิน ฟ้า อากาศแต่อย่างเดียว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจึงได้ทรงตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น ในการนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นประเดิม ทรงมีพระราชดำริ จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2 ศูนย์
คือที่บ้านเนินธัมมัง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่
และที่บ้านค้อแดง หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ ทั้งสองแห่งนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงแนะนำให้เน้นงานฝีมือจักสานย่านลิเภา จักสานสื่อกระจูด และทอผ้ายกนคร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในศูนย์ทั้งสองแห่งนี้หลายครั้ง


        โดยเริ่มฟื้นฟูและส่งเสริมอย่างจริงจังมาตั้งแต่ พ.ศ.2532 โดยนายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมงานจักสานย่านลิเภาให้บรรลุผลด้านการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน คือให้ผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น
บทบาทในการส่งเสริมงานจักสานย่านลิเภา
1. จัดตั้งศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านนครศรีธรรมราช ที่บ้านหมน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชใช้งบประมาณจากงบบำรุงพิเศษเพื่อบำรุงท้องถิ่นในจังหวัดที่มีการทำเหมืองแร่ จำนวน 286,318 บาท รวมกับงบประมาณสมทบจากราษฎรและองค์กรเอกชนอีก 279,050 บาทเพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมในการซื้อขายเครื่องจักสานย่านลิเภาของจังหวัดนครศรีธรรมราช

2. ประสานงานกับสมาคมสตรีนครศรีธรรมราช เพื่อขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งศูนย์ เป็นเงิน 27,312 บาท และขอยืมเงินจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยมาเป็นเงินทุนเริ่มต้น สำหรับจัดซื้อเครื่องจักสานย่านลิเภาจากผู้ผลิตเป็นเงิน 50,000 บาท

3. จัดตั้งกลุ่มจักสานย่านลิเภาตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวนหนึ่งกลุ่ม และสมาชิกลงหุ้นเพื่อนำมาเป็นทุนซื้อผลิภัณฑ์จากสมาชิก ได้เงินครั้งแรกจำนวน 56,400 บาท

4. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลท่าเรือ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มจักสานย่านลิเภาและผู้สนใจ นำเงินมาออมและสะสมเป็นกองทุนดำเนินกิจกรรมจักสานย่านลิเภาต่อไป

5. จัดกิจกรรมส่งเสริมการจักสานย่านลิเภาในงานเทศกาลเดือนสิบเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา โดยมีทั้งการประกวดการแข่งขัน การจำหน่าย และการสาธิตจักสานย่านลิเภาแบบทึบและแบบโปร่ง

6. สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนและการฝึกอบรม เพิ่มพูนทักษะแก่สมาชิกกลุ่มย่านลิเภาในตำบล ต่อไปนี้
       พ.ศ.2532 ให้การสนับสนุนกลุ่มตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง
       พ.ศ.2533 ให้การสนับสนุนกลุ่มหมู่ที่ 7 ตำบลปากพูน อำเภอเมือง
       พ.ศ.2534 ให้การสนับสนุนกลุ่มตำบลนาเคียนอำเภอเมือง
       พ.ศ.2535 ให้การสนับสนุนกลุ่มตำบลโพธิ์เสด็จอำเภอเมือง


        ริมทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช-สงขลา ช่วงกิโลเมตรที่ 11 ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านหมน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาคารถาวรชั้นเดียวหลังใหญ่ มีไม้ใหญ่ร่มครึ้มอยู่เบื้องหลัง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านนครศรีธรรมราช" เป็นความเพียรพยายามของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในอันที่จะส่งเสริมให้ชาวบ้านหมนรู้จักประกอบอาชีพหัตถกรรมลิเภาเป็นอาชีพรอง ด้วยความอนุเคราะห์ของเจ้าอาวาสวัดหมนอาคารถาวรของศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านนครศรีธรรมราชจึงถือก่อตั้งขึ้นในวัดหมน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 เปิดดำเนินการเป็นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา และที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตย่านลิเภาตำบลท่าเรือ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2532 เป็นต้นมา ตัวอาคารก่อสร้างขึ้นในวงเงิน 565,368 บาท เงินจำนวนนี้ได้มาจากงบประมาณพิเศษพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดที่มีการทำเหมืองแร่จำนวน 286,314 บาท ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธาสมทบอีกเป็นเงิน 279,050 บาท ในการก่อสร้างได้นำวัสดุเก่าแก่ที่ได้จากการรื้อถอนฉางข้าวบ้านหมนมาสมทบกับวัสดุใหม่ ส่วนค่าแรงก่อสร้างนั้นไม่ต้องจ่าย เนื่องจากชาวบ้านได้ร่วมใจกันก่อสร้าง
ผู้เป็นกำลังสำคัญในการแสวงหาทุนจากผู้มีจิตศรัทธามาก่อสร้าง คือ
        พ.ต.ต.พยุง สิงห์เถื่อน สารวัตรทางหลวง 4 กก.7

ผู้บริจาคเงินและวัสดุก่อสร้างใหญ่ ๆ ได้แก่
       นางสมศรี นวลมังสอ นายบุญล้อม บุญชัก แขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1
       สถานีตำรวจทางหลวง 4
       หจก.ผาทองทุ่งสง
       หจก.นครทวีกิจ หจก. ช.อมรภัณฑ์ โดยมี นายสุจินต์ ภูแสนธนสาร และนายสงวน ฤทธิพรัด เป็นผู้ออกแบบเขียนแบบ


        สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากจังหวัดให้รับผิดชอบการจัดส่งเสริมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในงานเทศกาลเดือนสิบ จังหวัดได้แต่งตั้งข้าราชการพัฒนาชุมชนเป็นกรรมการจัดงานเรียกว่า "แผนกประกวดงานฝีมือชาวบ้าน" เมื่อเห็นมีผู้สนใจเข้าชมมาก มีการแต่งตั้งข้าราชการต่างสังกัดมาร่วมเป็นกรรมการมากขึ้น จึงยกฐานะแผนกดังกล่าวขึ้นเป็นกอง เรียกว่า "กองประกวดและแข่งขันหัตถกรรมพื้นบ้าน" ตั้งแต่ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา โดยมีพัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน

                               

การประกวดผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาให้มีการประกวด 2 แบบ คือ แบบทึบ และแบบโปร่ง(แบบริงโร)

  ผลการประกวด พ.ศ. 2536

  1. ประเภทย่านลิเภาแบบริงโร (ยกเว้นกระเป๋า)
         รางวัลที่ 1
               นางน้อย อมรวัฒน์ 73/1 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               นางเตือนใจ อาชาฤทธิ์ 174/1 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางอำนวย เภรีฤกษ์ 162 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  2. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบริงโร
         รางวัลที่ 1
               น.ส.ประเสริฐ ลักษโณสุรางค์ 215/3 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               นางวิมล บุษบรรณ์ 123/2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางสิทธา เต็มรัตน์ 266 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  3. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ
         รางวัลที่ 1
               นางเกษร ดวงทิพย์ 228 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               ร้านบุญรัตน์พาณิชย์ ถนนเนรมิต ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               ร้านบุญรัตน์พาณิชย์ ถนนเนรมิต ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  พ.ศ.2537
  1. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบริงโร
         รางวัลที่ 1
               นางวิมล บุษบรรณ์ 123/2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               น.ส.ประเสริฐ ลักษโณสุรางค์ 215/3 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางบุญสม บุญเต็ม 163 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  พ.ศ.2538
    1. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบริงโร
         รางวัลที่ 1
               นางละมัย บุญชัก 49 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               น.ส.ประเสริฐ ลักษโณสุรางค์ 215/3 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางไมตรี กิโตประการ 123 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

  2. ประเภทย่านลิเภาแบบริงโร (ยกเว้นกระเป๋าลิเภา)
         รางวัลที่ 1
               นางอัมพร บุญเสมอ 73/1 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               นางวิมล บุษบรรณ์ 123/2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางแอ๊ด ตรางิ้ว 257/2 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  3. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ
         รางวัลที่ 1
               นายประจักษ์ รัตนบุรี 30/1 หมู่ที่ 2 ถนนกะโรม ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               นายวิรัตน์ ไชยบุรี 4 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นายสมพงษ์ จำปาทอง 25/6 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  4. ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ (ไม่ตกแต่ง)
         รางวัลที่ 1
               นางอาวรณ์ กังวาลก้อง 137/2 หมู่ที่ 7 ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 2
               นางเสงี่ยม คาวินธร 147/3 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

         รางวัลที่ 3
               นางทองกลิ่น กังวาลก้อง 39 หมู่ที่ 5 ตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  5.ประเภทกระเป๋าย่านลิเภาแบบทึบ (ยกเว้นกระเป๋า) ไม่มีการประกวด

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์