เครื่องทอ

ฟืม ลักษณะคล้ายกับหวี ยาวเท่าความกว้างของหน้าผ้าทำหน้าที่ตบหรือกระแทกให้เส้นด้ายซึ่งสานขัดกันเป็นลายเนื้อผ้าแน่นติดกัน พบว่าเครื่องทอผ้าพื้นเมืองรุ่นเก่าบางเครื่องมีตัวฟืมอย่างประณีตมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ

ตีนฟืม มีลักษณะเป็นไม้สองอันผูกเชือกห้อยอยู่ตรงหน้า เป็นที่สำหรับใช้เท้าเหยียบ เพื่อขยับยกเขาเหยียบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ เวลาขัดลายดอกของเนื้อผ้า

ลูกพัน แผ่นไม้อยู่ตอนหัวสุดของเครื่องทอและอยู่ตรงที่หน้าตักของคนทอ ใช้สำหรับพันเส้นด้ายที่จะทอและพันผืนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว

เขา มี 2 อย่าง คือ เขายกดอกกับเขาเหยียบ

ลูกตุ้ง คือที่แขวนกระดานม้วนด้ายหักเก มี 2 ลูกซ้ายขวา

ลูกสวย หรือกระสวย คือที่ใส่หลอดด้าย รูปคล้ายเรือสำหรับพุ่งขวางไปมาเพื่อให้เกิดเนื้อผ้าขึ้นนอกจากที่กล่าวมายังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีก เช่น ลูกกะหยก นัด ผัง ตรน และคานเก เป็นต้น

ผัง เป็นไม้ที่ใช้ดึงให้ริมผ้าที่ทอเสร็จใหม่ทั้งสองข้างตึงเท่ากัน (หัวท้ายไม้ผูกเข็มสอดอยู่ใต้ผืนผ้า) เพื่อไม่ให้เส้นด้ายยุ่ง อันจะทำให้ฟันฟืมหักด้วย

นัด มีสองชนิดคือ "นัดใจ" กับ "นัดสอด" ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ อย่างละหนึ่งแผ่นหัวท้ายมนใช้สำหรับพุ่งสอดระหว่างเส้นด้วย

ตรน เป็นที่ใส่ไหมดอกใช้เฉพาะเวลาทอดผ้ายกดอกเท่านั้น ทำหน้าที่เหมือนกระสวย

คานเก เป็นเส้นโค้งไม้ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้แขวนฟืม เขา และอื่น ๆ เวลาทอผ้า



ความเป็นมา

ประเภทผ้าทอ