![]() ![]() |
ประเภทผ้าทอ |
|||
![]() จากหลักฐานที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นชี้ให้เห็นว่ามีการทอผ้าหลายประเภท กล่าวคือมีทั้งผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า หรือผ้าโพกศรีษะ และผ้าที่ใช้เฉพาะบางลักษณะ เช่น ผ้าห้อย สำหรับแต่งตัวโนราเป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทอใช้เองในครัวเรือนแล้ว ยังทอเพื่อขายหารายได้ให้ครอบครัว ดังที่ปรากฏในเพลงร้องเรือที่ว่า |
|||
ไก่เถื่อนเหอ | ขันเทือนทั้งฟ้า | ||
ได้ผัวโนรา | น้องยาอีทอผ้าห้อย | ||
ถึงไปเล่นไหนรำไหน | ไม่ได้ขัดใจพี่บ่าวน้อย | ||
น้องยาอี้ทอผ้าห้อย | ค่อยเล่นค่อยรำไป |
||
ต้นดีปลีเหอ | ต้นดอกดีปลี | ||
ทองไหมใจดี | ทอผ้าเก้ากี่ให้ผัว | ||
ทอทั้งเช็ดหน้า | ทอทั้งผ้าโพกหัว | ||
ทอลายเก้ากี่ให้ผัว | แต่งตัวลงเรือใหญ่ | ||
หอหูกเหอ | น้องทอฟืมเส (สี่) | ||
น้ำไหลใต้เก | ทอลายลูกหวาย | ||
ผืนหนึ่งทอนุ่ง | ผืนหนึ่งทอขาย | ||
ทอลายลูกหวาย | สำหมรับพี่ชายนุ่ง | ||
ผ้าทอพื้นเมืองของนครศรีธรรมราช ที่จัดว่ามีชื่อเสียงไม่แพ้ผ้าทอภาคอื่น ๆ ก็คือ "ผ้ายกนคร" จัดเป็นผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง มีปรากฏในเพลงร้องเรือที่ว่า | |||
เมืองคอนเหอ | มีผ้าลายทองเป็นพับพับ | ||
จัดเป็นสำหมรับ | ประดับทองห่างห่าง | ||
จะนุ่งก้าไม่สม | จะห่มก้าไม่ควรเจ้าเอวบาง | ||
ประดับทองห่างห่าง | สำหมรับขุนนางนุ่ง | ||
งานช่างทอผ้ายกนครมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้และราชธานีว่าเป็นเยี่ยม ในสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนหนึ่งกล่าวว่า ขุนช้างเศรษฐีเมืองสุพรรณบุรีนุ่งผ้ายกไปเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว เมื่อครั้งพลายแก้วแต่งงานกับนางพิม ดังบทเสภาที่ว่า "คิดแล้วอาบน้ำนุ่งผ้ายกทองของพระยานครให้" คำว่า "พระยานคร" ในที่นี้คือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชนั่นเอง |
ผ้าที่ใช้โลหะประกอบในการทอ |
|||
ผ้ากรองทอง |
|||
ผ้ากรองทอง เป็นผ้าที่เกิดจากการนำเส้นลวดทอง หรือไหมทองมาถักทอกันเป็นผืนผ้า เมื่อต้องการให้มีความงดงามมากขึ้นก็มีการนำปีกแมลงทับมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาปักลงไปบนผืนผ้า |
|||
ผ้ากรองทองนี้ นิยมใช้ทำเสื้อครุยของพระมหากษัตริย์ สไบ หรือผ้าทรงสะพัก สำหรับเจ้านายสตรีชั้นสูง ผ้ากรองทองนี้พบในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี อิเหนา ขุนช้างขุนแผน และรามเกียรติ์ ในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างแต่งตัวจะไปขอนางพิมกล่าวถึงผ้ากรองทองไว้ว่า | |||
" ครั้งแล้วลุกออกมานอกห้อง | นุ่งยกห่มกรองทองเฉิดฉาย | ||
เรียกบ่าวเล็กเล็กเด็กผู้ชาย | มากมายตามหลังสะพรั่งมา ." | ||
ผ้าเข้มขาบ |
|||
เป็นผ้าที่ใช้ไหมทอควบกับทองแล่งมีลักษณะเป็นริ้วตามยาว มียกดอกด้วย บางทีอาจยกดอกสีเดียว บางครั้งอาจยกดอกหลายสี ลักษณะการทอจะใช้แผ่นเงินกาไหล่ทองมาแผ่บาง ๆ หุ้มเส้นไหมแล้วทอโดยใช้ปริมาณใหม่ทองสลับกับไหมธรรมดา |
|||
ผ้าเข้มขามมีกล่าวถึงในวรรณคดีไทยกล่าวเรื่อง ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ วังข์ทอง อิเหนา ในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระพันวษาแต่งองค์จะประพาสป่า กล่าวว่า | |||
ทรงเครื่องต้นสำหรับประพาสไทย | ตามพิชัยฤกษ์กำลังวัน | ||
สนับเพลาเชิงงอนช้อนกราย | พระภูษาเข้มขาบริ้วทองคั่น | ||
ผ้าตาด |
|||
เป็นผ้าที่ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งทองจำนวนเท่า ๆ กัน คำว่าทองแล่งนี้หมายถึงแผ่นเงิน กาไหล่ทองที่ตัดแล่งออก เป็นอย่างเดียวกับเส้นตอกแล้วนำมาทอสลับกับไหมสีต่าง ๆ ผ้าตาดมีหลายชนิด คือ ถ้าใช้ไหมสีทองก็จะเรียกว่า "ตาดทอง" สำหรับลวดลายที่ทอก็มีลักษณะต่างๆ กัน ถ้าทอยกเป็นดอกสี่เหลี่ยม ก็เรียกว่า "ตาดตาตั้กแตน" ถ้าทอยกเป็นคชกริช เรียกว่า "ตาดลายคชกริช" ถ้าปักหรือเขียนดอกทึบลงไป เรียกว่า "ตาดระกำ" |
|||
ผ้าตาดส่วนมากนิยมใช้เป็นผ้านางในทรงสะพักเป็นฉลองพระองค์สำหรับงานพิธีสำคัญของเจ้านายชั้นสูง ตาดปีกแมลงทับ ใช้สำหรับเจ้านายฝ่ายใน | |||
ผ้าตาดมีกล่าวถึงในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่นอิเหนา รามเกียรติ์ และดาหลัง ตัวอย่าง เช่น ในเรื่องพระอภัยมณี ตอนที่ทหารที่ไปทัพที่ลังกาเตรียม ตัวกลับบ้าน ต่างไปซื้อผ้ากลับบ้านด้วยดังนี้ | |||
บ้างซื้อเครื่องเป็นฝรั่งดังหมายมาด | ทั้งโหมดตาดอัตลัดเข็มขัดขัน | ||
ผ้านมสาว |
|||
เป็นผ้าไหมมีทองแล่ง ทอเป็นเส้นยืนและเส้นพุ่ง แล้วเอาลวดเงินพับให้โปร่งแหลมคล้ายขนมเทียน ตรึงด้วยทองแท่ง แลดูเป็นแสงพราวคล้ายประดับเพชร สำหรับผ้านมสาวนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผ้าตาดเงินหนามขนุน |
|||
ผ้าปัตหล่า |
|||
เป็นผ้าทอด้วยไหมทับทองแล่ง มีเนื้อบาง ผ้าปัตหล่านิยมใช้ทำฉลองพระองค์ ปรากฏมีฉลองพระองค์ครุยปัตหล่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นฉลองพระองค์ครุยเก่าแก่ที่สุดที่มีอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ |
|||
ผ้าปัตหล่านั้นมีปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่นปรากฏในเรื่องดาหลังตอน กุดาวิราหยาแต่งตัวเข้าเฝ้าท้าวล่าส่ำ ว่า | |||
" ทรงภูษาส่านตระการตา | ฉลององค์ปัตลาจีบเจียน | ||
แล้วคาดเจียระบาดโอ่อ่า | รจนาด้วยลายระบายเขียน " | ||
ผ้าโหมด |
|||
เป็นผ้าที่ใช้กระดาษทองแล่งตัดให้เป็นเส้น ๆ แล้วนำมาทอสลับกับไหม มีหลายสีเรียกชื่อตามสีของไหม เช่น โหมดแดง โหมดเหลือง โหมดเขียว ผ้าโหมดนิยมใช้ทำพระมาลา |
|||
ผ้าชนิดนี้ปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน และอิเหนา ในขุนช้างขุนแผน ตอน พระพันวษาพระราชทานผ้าให้ขุนแผนและพลายงาม เมื่อจะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงผ้าโหมดไว้ว่า | |||
" แล้วจึงตรัสสั่งคลังวิเสท | ให้จัดเสื้อโหมดเทศอย่างก้านแย่ง | ||
พรจันดวงพุดตานส่านสีแดง | ทั้งสมปักตามตำแหน่งขุนนางใน " | ||
ผ้าทอยก |
|||
ผ้ากุศราช |
|||
ผ้าชนิดนี้มีความหมายตามพจนานุกรม หมายถึงผ้าบุราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลายแต่มีดอกดวงเด่น เนื้อหยาบ ทนทาน เป็นผ้าฝ้ายทำด้วยด้ายอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการนำฝ้ายมาตีเกลียวเป็นเส้นด้านเสียก่อน แล้วจึงนำมาทอยกดอกเป็นผืนผ้า ผ้ากุศราช นิยมใช้เป็นผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าคาดพุง และในบางครั้งใช้ห่อคัมภีร์ |
|||
ในวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ใน ร.2 ตอนเจ้าเงาะหรือพระสังข์ ใช้ผ้ากุศะหราดครั้งอยู่กระท่อมปลายนากับนางรจนา ผู้ประพันธ์ได้ทรงนิพนธ์ถึงลักษณะที่เจ้าเงาะแสร้งทำว่า | |||
" แล้วแกล้งหยิบตั้งบนเชิงกราน | ควักข้าวสารมาใส่ก่อไฟหุง | ||
คลี่ผ้ากุศะหราดออกคาดพุง | กางมุ้งเสียให้ดีแต่วี่วัน.." | ||
ผ้ายก |
|||
ผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้สูงกว่าพื้นผ้า คำว่ายกมาจากลักษณะการทอเส้นด้ายที่เชิดขึ้นเรียกว่า เส้นยก ผ้ายกนิยมใช้เป็นผ้านุ่ง สำหรับเจ้านายฝ่ายในจะทรงพร้อมกับเสื้อเยียรบับแขนยาว และมีทรงสะพักสำหรับเวลาออกงานพระราชพิธี |
|||
ผ้าเขียนทอง |
|||
เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดจากการนำผ้าลายปกติมาเขียนเส้นทองตามขอบลาย ผ้าชนิดนี้ใช้นุ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ลงมาถึงเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดเท่านั้น มีข้อห้ามผู้ที่ยศต่ำกว่านี้ใช้ ถ้าใช้ถือเป็นผิด ผ้าเขียนทอง ปรากฏในวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนเจ้าเมืองหมันหยาแต่งตัว ได้กล่าวถึงผ้าเขียนทองไว้ว่า |
|||
" ทรงสุคนธ์รวยรินกลิ่นเกสร | สอดใส่สนับเพลาลายกระสัน | ||
ทรงภูษาพื้นขาวเขียนสุวรรณ | กรวยเชิงสามชั้นบรรจงโจง " | ||
ผ้ายั่นตานี |
|||
เป็นผ้ามัสลินมีลายเป็นดอก เนื้อดี จัดเป็นผ้าลายเนื้อบางชนิดหนึ่ง นิยมใช้เป็นผ้านุ่งมีกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนกล่าวถึงการแต่งกายของพวกนางข้าหลวงเมืองดาหาว่า |
|||
" บ้างนุ่งผ้าตานีเป็นทีท่วง | ห่มแพรดวงม่วงอ่อนหงอนไก่ " | ||
ผ้าขนสัตว์ |
|||
ผ้าขนสัตว์ที่นิยมใช้ในราชสำนักก็คือผ้ากำพลหรือผ้ารัตนกำพล เป็นผ้าที่ทำขึ้นจากขนสัตว์ นิยมกันว่าชนิดที่เป็นสีแดง เป็นชนิดที่ดีที่สุด ผ้ารัตนกำพลนี้นิยมใช้เป็นผ้าคาดเอว เหมือนผ้ารัดประคต ในประเทศอินเดีย นิยมใช้เป็นผ้าคาดเอวสำหรับเครื่องแต่งกายในงานพิธีเช่นเดียวกับชุดพระราชทานของไทยในปัจจุบัน |
|||
ผ้ารัตนกำพลนี้ ถือเป็นเครื่องสำหรับราชาภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินอย่างหนึ่งในจำนวนของ ๕ อย่าง คือ พระมหามงกุฎ พระขรรค์ พระภูษารัตนกำพล พระเศวตฉัตร และเกือกทองประดับแก้ว | |||
ผ้าไหม |
|||
ผ้าปูม |
|||
ผ้าปูม เป็นผ้าไหมที่ทอเป็นลวดลายตาแปลก ๆ เนื้อไม่เรียบมีลายพลอมแพลม ส่วนใหญ่ผ้าปูมจะเป็นสีแดง ลวดลายของผ้ามักจะทำเป็นลายเชิง ผ้าชนิดนี้นิยมใช้เป็นผ้าหลวงพระราชทาน ผ้าปูมบางชนิดก็มีเชิง เรียกว่า ปูมเชิง แต่มักใช้ในราชสำนักเท่านั้น ผ้าปูมมีปรากฏในวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนจะแต่งงานบุษบา และจรกา ว่า |
|||
" นักเลงเหล้าเจ้าชู้หนุ่มหนุ่ม | คาดเข็มขัดนุ่งปุมเกี้ยวคอไก่ | ||
ทัดนาดมห่มสีน้ำดอกไม้ | หวีผมดำเส้นใหญ่แยบคาย " | ||
ผ้าแพร |
|||
เป็นผ้าที่ทอจากเส้นไหมเส้นเล็กละเอียด ผ้าแพรมีปรากฏกล่าวถึงไว้ในจดหมายเหตุของจีนกล่าวถึง "แพรตึ้ง" ซึ่งใช้สำหรับกษัตริย์สมัยสุโขทัย ซึ่งแสดงว่าในสมัยสุโขทัยเริ่มมีการใช้ผ้าแพรและถือเป็นของสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ ผ้าแพรมีหลายชนิด แบ่งตามเนื้อผ้าและประโยชน์ใช้สอย | |||
ผ้าม่วง |
|||
เป็นผ้าแพรชนิดหนึ่ง ซึ่งทอจากเส้นไหม ผ้าชนิดนี้ปรากฎในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแต่งตัวจะเข้าเฝ้าพระพันวษา เพื่อทูลขออภัยโทษให้ขุนช้าง ได้กล่าวถึงผ้าม่วงไว้ว่า |
|||
" แล้วพระไวยอาบน้ำชำระกาย | กรายเข้าเคหาผลัดผ้าเก่า | ||
นุ่งม่วงสีไพรไหมตะเภา | ห่มหนังไก่เปล่าปักเถาแท้ " | ||
ผ้าสมปัก |
|||
เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะกลาง มีขนาดกว้างยาวกว่าผ้าที่เคยนุ่งกันมาในสมัยก่อน ผ้าเป็นสีเป็นลายต่าง ๆ ขุนนางใช้นุ่งเข้าเฝ้า ในพระราชนิพนธ์ รามเกียรติ์ มีกล่าวถึงผ้าสมปักตอน คนธรรพ์ ยกทัพไปตีกรุงไกษเกศ ขุนนางพากันตกใจเพราะได้ทราบข่าวข้าศึก |
|||
" แจ้งว่าอสูรหมู่มาร | ตีด่านแตกมาก็ตกใจ | ||
ต่างคว้าสมปักเข้ามานุ่ง | จะทันเกี่ยวพุงก็หาไม่ " |
![]() เครื่องทอ |
![]() การสืบสานภูมิปัญญา |