www.tungsong.com
   
[ ประวัติ ]  [ สภาพทั่วไป ]  [ ภูเขา ลำน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติ ]  
[ การคมนาคม]  [ สภาพทางเศรษฐกิจ]  [ ผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด]  
[ การดำเนินการตามนโยบายสำคัญของจังหวัด ]  [ การท่องเที่ยว ]  [ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ] [ ปัญหาของอำเภอ ]



        
สภาพทางเศรษฐกิจ

         1. การเกษตร
            ผลผลิตด้านการเกษตรในอำเภอทุ่งใหญ่ เป็นสาขาที่สำคัญและทำรายได้ให้แก่ประชาชนมากที่สุด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้
             1.1 ยางพารา มีความสำคัญอันดับ 1 ของอำเภอ ทำรายได้ให้อำเภอประมาณ 463 ล้านบาทต่อปี ผลผลิตโดยเฉพาะประมาณปีละ 257,394 เมตริกตัน
            พื้นที่ปลูกยางพาราของตำบลต่างๆ

 ตำบล  พื้นที่ปลูกยางพารา จำนวนครัวเรือนที่ทำการปลูก
 ปริก  31,987 1,418
 ท่ายาง  22,901 718
 ทุ่งใหญ่  27,496 1,123
 ทุ่งสัง  13,590 417
 บางรูป  28,627 2,183
 กุแหระ  31,485 516
 กรุงหยัน  37,986 587

        1.2 ข้าว มีพื้นที่ปลูก 29,223 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 7,306 ต้น ในปีการเพาะปลูก 2536/37 โดยมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ในท้องที่ตำบลทุ่งสัง รองลงมาตำบลบางรูป ปริก ตามลำดับ
         พื้นที่ทำการปลูกข้าวของตำบลต่าง ๆ

 ตำบล  พื้นที่ปลูกข้าว (ไร่) จำนวนครัวเรือนที่ทำการปลูก
 ปริก  6,181 307
 ท่ายาง  2,764 509
 ทุ่งใหญ่  4,347 454
 ทุ่งสัง  10,171 427
 บางรูป  6,325 332
 กุแหระ  2,592 250
 กรุงหยัน  1,253 189

        1.3 กาแฟ มีพื้นที่ 1,273 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 200 ตัน ในปีการเพาะปลูก 2536/37 มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในตำบลกรุงหยัน รองลงมาตำบลกุแหระ ตามลำดับ
          พื้นที่ทำการเพาะปลูกกาแฟของตำบลต่าง ๆ

 ตำบล  พื้นที่ปลูกกาแฟ (ไร่) จำนวนครัวเรือนที่ทำการปลูก
 ปริก  55 18
 ท่ายาง  68 23
 ทุ่งใหญ่  38 10
 ทุ่งสัง  17 8
 บางรูป  35 12
 กุแหระ  355 120
 กรุงหยัน  705 234

        1.4 ปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 2,267 ไร่ ตำบลที่ปลูกมากที่สุดคือตำบลบางรูป รองลงมา ตำบลกรุงหยัน ผลผลิตปี่หนึ่งๆ ประมาณ 1,000 ตัน
        1.5 สวนไม้ผลยืนต้น ไนพื้นที่มีผลไม้ประเภทไม้ยืนต้นที่สำคัญ คือ เงาะ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 350 ไร่
                  นอกจากนี้แล้ว ยังมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ แตงโม และถั่วปันหยี เป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในปีหนึ่งๆ ไม่น้อย เนื้อที่ที่ทำการปลูกแตงโมและถั่วปันหยีของอำเภอทุ่งใหญ่ประมาณ 7,200 ไร่ มีเกษตรกรปลูกประมาณ 700 ราย ทำเงินรายได้เข้าท้องที่อำเภอทุ่งใหญ่ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทต่อปี ส่วนตำบลที่ปลูกมาที่สุดคือ ตำบลบางรูป รองลงมาคือตำบลทุ่งสัง และตำบลกรุงหยัน สวนผลไม้

 สวนผลไม้ยืนต้น  พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)
 มะพร้าว  2,885
 ทุเรียน  380
 เงาะ  350
 ส้มโอ  500
 กระท้อน  120
 มะม่วง  206
        1.6 พื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก และพื้นที่จัดทำไร่นาสวนผสม

 ตำบล  พื้นที่ปลูกพืชไร่ (ไร่)  พื้นที่ปลูกผัก (ไร่)  พื้นที่จัดทำไร่นาสวนผสม (ไร่)
 ท่ายาง  250  13  -
 กรุแหระ  485  48  -
 กรุงหยัน  470  22  -
 ทุ่งใหญ่  250  50  -
 ทุ่งสัง  1,125  544  8
 บางรูป  1,500  265  5
 ปริก  500  125  81
 รวม  4,580  1,362  94

        1.7 การวมกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรในพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่ ได้มีการรวมกลุ่ม แยกได้ดังนี้
                1. กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยาง จำนวน 13 กลุ่ม
                2. กลุ่มเกษตรกรทำสวนยาง จำนวน 5 กลุ่ม
                3. กลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา จำนวน 1 กลุ่ม
                4. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 12 กลุ่ม
                5. กลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 4 กลุ่ม

2. การประมง
     การประมงเป็นอาชีพรองที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกอาชีพหนึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ส่วนใหญ่จะมีการเลี้ยงสัตว์น้ำตามฤดูกาล คือ ฤดูฝนใช้น้ำในการเลี้ยงสัตว์น้ำจากธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง ระบบการชลประทานไม่เพียงพอต่อการประกอบการ น้ำแห้งขอดในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรที่เลี้ยงปลาเป็นอาชีพจึงประกอบการได้เพียงปีละประมาณ 2 ครั้ง
        2.1 โครงการส่งเสริมและการบริการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่งเสริมและบริการด้านการเพาะเลี้ยงให้ความรู้ทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีการประมงใหม่ๆ และทันสมัยอยู่เสมอ ส่งเสริมเรื่องการจัดการและบริหาร เงินลงทุนในการประกอบการ
        2.2 โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง โดยการออกประชาสัมพันธ์ ประชุมชี้แจงงานด้านอนุรักษ์เพื่อให้ราษฎรเกิดความรักและหวงแหน ช่วยกันอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ออกตรวจตราปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การประมง
        2.3 โครงการประมงหมู่บ้าน แบ่งได้
             1. กิจกรรมจัดตั้งทำนบปลาประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง คือ
                 - ทำนบปลาป่าสระพัง หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งใหญ่พื้นที่โครงการ 10 - 0 - 23 ไร่ ก่อสร้างโดยงบประมาณ ปีงบประมาณ 2535
                 - ทำนบปลาหนองเตย หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งสัง พื้นที่โครงการ 18 - 3 - 16 ไร่ ก่อสร้างโดยงบประมาณ ปีงบประมาณ 2536
             2. กิจกรรมประมงโรงเรียนในเขตพื้นที่ล้าหลัง จำนวน 2 โรงเรียน คือ
                 - โรงเรียนวัดคลังสินธาราม หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งใหญ่ พื้นที่บ่อเลี้ยงปลา จำนวน 2 ไร่ ก่อสร้างโดยเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ 2535
                 - โรงเรียนบ้านบางรูป หมู่ที่ 4 ตำบลบางรูป พื้นที่บ่อเลี้ยงปลา จำนวน 2 ไร่ ก่อสร้างโดยงบประมาณ ปีงบประมาณ 2536
             3. โครงการเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงในแหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน จำนวน 20 แห่ง พื้นที่รวม 230 ไร่ จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อย 468,000 ตัว เพื่อพัฒนาศักยภาพการประมงในแหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน และเพิ่มอาหารโปรตีนประเภทปลาให้กับราษฎรในชนบท
        2.4 โครงการบำรุงพันธุ์ปลาแบบประชาอาสา แบ่งได้ 2กิจกรรม คือ
             1. การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง พื้นที่ 12 ไร่
             2. การฝึกอบรมระดับอนุรักษ์ โดยอบรมนักเรียน จำนวน 200 คน ระยะเวลาการอบรม 1 วัน เพื่อขยายผลการอนุรักษ์ไปยังเด็กนักเรียน
        2.5 โครงการพิเศษของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
             1. หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 1 กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกอุยเทศ ให้ราษฎรเลี้ยงจำนวน 100 ครัวเรือน บ่อในพื้นที่อยู่อาศัยขนาด 170 ตารางเมตรต่อบ่อ จำนวน 2 บ่อต่อ 1 ครัวเรือน รวม 200 บ่อ และบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่ทำกินขนาด 0.5 ไร่ จำนวน 67 บ่อ
             2. หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 3 กิจกรรมเลี้ยงปลากินพืช จำนวน 41 ครัวเรือน และกิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำ บ้านเสม็ดจวน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 6 ครั้ง จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำ 1,244,658 ตัว
3. ปศุสัตว์
        การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่เป็นอาชีพรองอีกอาชีพหนึ่งของประชาชน ทำให้มีรายได้เสริมจากอาชีพหลัก

4. ป่าไม้
      ก. ป่าสงวนแห่งชาติ มีอยู่ 8 ป่า คือ
        1. ป่าหนองพุด หมู่ที่ 4 ตำบลท่ายาง เนื้อที่ 62 ไร่
        2. ป่าขอนไทรหัก อยู่ในพื้นที่ ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลท่ายาง ตำบลปริก เนื้อที่ 15,206 ไร่
        3. ป่าปลายคลองโอม อยู่ในพื้นที่ตำบลปริก เนื้อที่ 4,469 ไร่
        4. ป่าทุ่งสัง - ปากเพรียง อยู่ในพื้นที่ตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งสัง ตำบลบางรูป เนื้อที่ 59,891 ไร่
        5. ป่าคลองกรุงหยัน อยู่ในพื้นที่ตำบลกุแหระ ตำบลกรุงหยัน เนื้อที่ 83,750 ไร่
        6. ป่าซ่องนกฮัง อยู่ในพื้นที่ตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลทุ่งสัง เนื้อที่ 9,748 ไร่
        7. ป่าควนลำภู อยู่ในพื้นที่ตำบลปริก เนื้อที่ 113 ไร่
        8. ป่าไสค่าย อยู่ในพื้นที่ตำบลท่ายาง ตำบลกุแหระ ตำบลกรุงหยัน เนื้อที่ 3,800 ไร่ หมายเหตุ ป่าสงวนทุกป่า ปัจจุบันถูกราษฎรบุกรุกเข้าถือ              กรรมสิทธิครอบครองทำประโยชน์เกือบเต็มพื้นที่ พื้นที่ป่าเหลือน้อยมาก และปัจจุบันสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กำลังเข้าดำเนินการปฏิรูปที่คืน
      ข. โครงการสำคัญในพื้นที่
          - โครงการแจก สปก. คือ โครงการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มี 4 โครงการ จำนวนราษฎร 1,689 ราย
          - โครงการฟื้นฟูสภาพป่าและศูนย์ศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลอง             กรุงหยัน เนื้อที่ 5,481 ไร่ เพื่อทดลองทางวิชาการ ส่งเสริมการปลูกป่าและศูนย์ศึกษาฟื้นฟูสภาพป่า
          - การดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง รวม 7 ตำบล 23 หมู่บ้าน

5. การพานิชยกรรมและการธนาคาร
      ธนาคารพาณิชย์มี 2 แห่ง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1 แห่ง การซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายรายย่อย การลงทุนการค้าในวงจำกัด มีสหกรณ์การเกษตรทุ่งใหญ่ ซึ่งมีเงินทุนหมุนเวียนสูงสุดเกือบ 2 ล้านบาท
6. การสหกรณ์ มีสหกรณ์การเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ ซึ่งมีเงินทุนหมุนเวียนสูงสุดเกือบ 2 ล้านบาท
7. การทำเหมืองแร่   มีบริษัทต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการ คือ
 บริษัท  ที่ตั้ง
  โชคพนา จำกัด  หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่
 ทุ่งใหญ่ยิบซัม จำกัด  หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ เอส อาร์  หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่
  แอนติ โพลลุต จำกัด  หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง
  บารากัตเหมืองแร่ จำกัด  หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งใหญ่ เป็นเหมืองแร่ดินขาว
8. การเงินและการคลัง สภาวะทางการเงินของอำเภอทุ่งใหญ่ จากการจัดการเก็บข้อมูลจากธนาคารพานิชย์ สิ้นเดือนกันยายน 2535 ปริมาณเงินฝากและการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธนาคารพานิชย์ในอำเภอ สิ้นระยะ 30 กันยายน 2536 มีเงินฝาก 79.17 ล้านบาท มีสินเชื่อ 180.62 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 228.14
9. การอุตสาหกรรม ในพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียงมีวัตถุดิบที่สามารถนำเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง คือ โรงงานอาหารกระป๋อง และโรงงานแปรรูปไม้ พารา

กลับสู่หน้าแรก