http://www.tungsong.com
 
ยินดีต้อนรับสู่.....อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
   
   
   
   
สภาพทั่วไป
  ทิศเหนือ จดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชและอำเภอพระพรหม
  ทิศใต้ จดอำเภอเชียรใหญ่
  ทิศตะวันออก จดอำเภอเชียรใหญ่และอำเภอปากพนัง
  ทิศตะวันตก จดอำเภอชะอวดและอำเภอร่อนพิบูลย์
มีเนื้อที่ประมาณ 76,341 ไร่ หรือ 122,145 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ทางด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มทำการเกษตรได้ดี ได้แก่ พื้นที่ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขาและตำบลสวนหลวงบางส่วน
2. ทางด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ป่าพรุ สภาพดินเปรี้ยวทำการเกษตรได้ผลผลิตน้อย ได้แก่ ตำบลทางพูน และตำบลสวนหลวง
  2. การปกครอง
 
อำเภอเฉลิมพระเกียรตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชไปทางทิศใต้ของถนนสายนครศรี ฯ-สงขลา ระยะทางประมาณ 28 กม. โดยที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติเปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ที่บริเวณอาคารชั่วคราวริมถนนสายนครศรีฯสงขลา ต่อมาภายหลังได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเสร็จ จึงได้เปิดให้บริการประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอใหม่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 และได้เปิดใช้ที่ว่าการอำเภอใหม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2541
 
อำเภอเฉลิมพระเกียรติแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 35 หมู่บ้าน ดังนี้
    ตำบลดอยตรอ มี 5 หมู่บ้าน
    ตำบลทางพูน มี 6 หมู่บ้าน
    ตำบลสวนหลวง มี 12 หมู่บ้าน
    ตำบลเชียรเขา มี 12 หมู่บ้าน
 
ประชากร ณ เดือนธันวาคม 2543 ทั้งหมด 35,444 คนแบ่งเป็นชาย 17,638 คน หญิง 17,806 คน
  3. การสาธารณสุข
 
อำเภอเฉลิมพระเกียรติยังไม่มีโรงพยาบาลแต่ได้จัดเตรียมสถานที่ไว้รองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอ
 
ปัจจุบันมีสถานีอนามัยจำนวน 6 แห่ง คือ
 
1. สถานีอนามัยดอนตรอ
 
2. สถานีอนามัยสระเพลง
 
3. สถานีอนามัยโคกคราม
 
4. สถานีอนามัยสวนหลวง
 
5. สถานีอนามัยบ้านป่าหวาย
 
6. สถานีอนามัยโคกกะถิน
  4.การประกอบอาชีพ
 
อาชีพหลักประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือทำนา ส่วนใหญ่คือทำนาเพียงครั้งเดียว เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ยกเว้นในพื้นที่ตำบลเชียรเขาและสองหมู่บ้านของตำบลสวนหลวง มีการทำนา 2 ครั้งเนื่องจากระบบชลประธานเพียงพอ อาชีพรองคือการทำไร่นาสวนผสม การปลูกบัวบก การทำมาลัยดอกมะลิและรับจ้างทั่วไป
 
รายได้เฉลี่ยจากการสำรวจข้อมูล จปฐ ปี 2542 ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 11,650 บาทต่อปี
  5.ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 
5.1 การศึกษา
 
สังกัด
จำนวนโรงเรียน
จำนวนครู
จำนวนนักเรียน
  โรงเรียนสังกัด สปช.
18 โรง 2 สาขา
247 คน
3,811 คน
  โรงเรียนสังกัด สช.
1 โรง
9 คน
75 คน
  โรงเรียนสังกัดกรมสามัญ
2 โรง
58 คน
1,468 คน
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2 แห่ง
-
-
 
5.2 ศาสนา มีวัดจำนวน 9 วัด 3 สำนักสงฆ์ คือ
    ตำบลดอนตรอมี วัดดอนตรอ วัดจันทร์ และสำนักสงฆ์ใต้หล้า
    ตำบลทางพูนมี วัดสหกธรรมมิกการาม วัดทางพูน และสำนักสงฆ์บ้านปากช่อง
    ตำบลสวนหลวง วัดพังยอม วัดทุ่งเฟื้อ และสำนักสงฆ์หนองหินหลัก
    ตำบลเชียรเขามี วัดบางหว้า วัดป่าหวาย วัดโคกกะถิน วัดสระไคร
 
5.3 วัฒนธรรมและประเพณี
          - ประเพณีชักพระ
          - ประเพณีสงกรานต์
          - ประเพณีงานวันกตัญญูเทิดทูนผู้สูงอายุ
  6.สถาบันการเงินการธนาคาร
 
ธนาคารพาณิชย์มี 1 แห่ง คือธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  7.รัฐวิสาหกิจ
 
ที่ว่าการไปรษณีโทรเลขชะเมา
  8.ตลาดนัด
 
มีตลาดนัด 4 แห่งคือ
    ตลาดชะเมา นัดทุกวันอังคารและวันจันทร์
    ตลาดสระไคร นัดทุกวันจันทร์และวันศุกร์
    ตลาดหนองหม้อ นัดทุกวันพุทธและวันอาทิตย์
    ตลาดดอนตรอ นัดทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
กลับสู่หน้าแรก