www.tungsong.com
สภาพทั่วไป
การปกครอง
เศรษฐกิจและสังคม
สวัสดิการสังคม
ทำเนียบข้าราชการ
ศักยภาพของอำเภอ
ปัญหาและความต้องการ
นโยบายผู้ว่าฯ
  นโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการ
ของนายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

   ก. นโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการทั่วไป
  1.  นครฯ เป็นเมืองพระต้องเอาธรรมะเข้าแก้ไขปัญหา
       -  ธรรมะคือหน้าที่ การที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์ถือว่าได้ปฏิบัติธรรมะแล้ว
       -  ต้องมีหิริ โอตัปปะ
  2.  ข้าราชการมีหน้าที่สำคัญคือให้บริการประชาชน
       -  สร้างความพึงพอใจและประทับใจให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการ
  3.  ข้าราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  4.  ข้าราชการ คือ ผู้ช่วยเหลือประชาชนและแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
       -  ออกท้องที่ รับฟังความเดือดร้อนและปัญหาของราษฎร
       -  ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้
  5.  ข้าราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ
       ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถไม่เห็นแก่ตัว
  6.  แก้ไขปัญหาอย่างฉับพลันและรับผิดชอบ

   ข. นโยบายเน้นหนัก 8 ประการ เร่งรัดพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราช
  1.  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          ดำเนิการตามมาตรการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 9 มาตรการ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องที่ให้พออยู่พอกิน
          1.  การเกษตรผสมผสาน (ทฤษฎีใหม่) วนเกษตร เกษตรยั่งยืน เกษตรปลอดภัยสารพิษ
          2.  กลุ่มออมทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน
          3.  กลุ่มอาชีพและการแปรรูปสินค้าเกษตร
          4.  ลานค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน
          5.  การบริโภคสินค้าชุมชนและการรวมตัวของผู้บริโภค
          6.  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
          7.   การสร้างประชาคมทุกระดับ และกระบวนการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจชุมชน
          8.  การสร้างศูนย์ศึกษาและการพัฒนาด้านการเกษตร
          9.  การพัฒนาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
  2.  การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          -  ผนึกกำลังและความร่วมมือในการดำเนินการจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และประชาชน
  3.  การแก้ไขปัญหายาเสพติด
          -  ต้องได้รับความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนตามแนว "ราษฎร์ - รัฐร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด"
          -  ทำให้หมู่บ้านปลอดยาเสพติดโครงการ "หมู่บ้านสีขาว"
  4.  เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
          -  ต้องใช้ทรัพยากรประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ดึงดูดนักท่องเที่ยว
          -  เน้นวิธีการประชาสันพันธ์ ต้อนรับ และรักษาความปลอดภัย
  5.  การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริหรือโครงการเกี่ยวเนื่องกับพระราชดำริ
  6.  การส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
          -  ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำท้องถิ่น ทุกคนต้องศึกษารัฐธรรมนูญให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบ
          -  ให้ อบต. มีบทบาทร่วมกับอำเภอ จังหวัด ในการ่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในท้องที่
  7.  เร่งรัดอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8.  เร่งรัดและสานต่อโครงการต่อเนื่อง

   ค.  การนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ
  1.  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          ดำเนินการตามมาตรการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องที่ให้พออยู่พอกิน
        1.1  การเกษตรผสมผสาน (ทฤษฎีใหม่) วนเกษตร เกษตรยั่งยืน เกษตรปลอดสารพิษ)
            - ในปี 2543 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนาว อำเภอบางขัน (มีนายสมหมาย ศรีสะอาด เป็นผู้ใหญ่บ้าน) ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนดีเด่น ของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งถือเป็นหมู่บ้าน แม่แบบในการขยายเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงให้หมู่บ้านอื่นได้เป็นตัวอย่างต่อไป
            -  โครงการพ่อรักลูกผูกจิตให้ชีวิตโค เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (โครงการของจังหวัด) ปี 2542 เป็นโครงการสนับสนุนโคเพศเมียรายละ 1 ตัว อำเภอบางขันได้รับ 3 ตัว แจกจ่ายให้ราษฎร 3 ราย ในหมู่ที่ 6 ต.วังหิน ม. 7 ต.บางขัน ม. 2 ต.บ้านนิคม ขณะนี้วัวแข็งแรงดีพร้อมที่จะให้ลูกได้
            -  เกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 2 แปลง เพื่อเป็นแปลงสาธิตการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร
        1.2  กลุ่มออมทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน
             -  มีกลุ่มออมทรัพย์ทั้งสิ้น15 กลุ่ม สมาชิก 1,198 คน โดยมียอดเงินฝากในปี 2543 จำนวน 1,698,600 บาท ยอดเงินสะสมทั้งสิ้น 6,672,000 บาท
            -  โครงการที่จะดำเนินการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในปี 2544 จำนวน 6 แห่ง คือ หมู่ที่ 1,2,8,11 ตำบลบ้านนิคม หมู่ที่ 2,4 ตำบลวังหิน
        1.3  กลุ่มอาชีพและการแปรรูปสินค้าเกษตร
            -  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 18 กลุ่ม
           - ศิลปะประดิษฐ์ 5 กลุ่ม (ดอกไม้จันทน์, หมอนอิง)
            -  เพิ่มรายได้นอกภาคเกษตร 6 กลุ่ม (ทำแชมพูสระผม 20 คน) ม. 9 ตำบลบ้านลำนาว
       1.4  ลานชุมชน ตลาดนัดชุมชน
            -  มีตลาดสด 1 แห่ง ลานค้าชุมชน 1 แห่ง (บ้านไสยาสน์) และตลาดนัดชุมชนกระจายอยู่ทุกตำบลให้แหล่งชุมชนทั้งสิ้น 10 แห่ง
            -  ร้านค้าชุมชน (ร้านค้าสหกรณ์) จำนวน 4 แห่ง คือ ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านไสยาสน์ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านนาตำเสา ร้านค้าสหกรณ์บ้านไร่ยาว ร้านค้าสหกรณ์ควนสะตอ
       1.5  การสร้างประชาคมทุกระดับ และกระบวนการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจชุมชน
            -  อำเภอได้เน้นให้ความสำคัญกระบวนการประชาชน ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ให้มีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรม ในการร่วมจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (2545 - 2549) และบทบาทในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล บทบาทในการเผยแพร่ประชาธิปไตย และการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ
            -  นำผู้นำชุมชนมุสลิม จำนวน 50 คน ดูงานด้านศาสนา วัฒนธรรม ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลาเพื่อให้สามารถเป็นผู้นำชุมชนไปสู่การพัฒนาอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง และปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลาม
       1.6  การสร้างศูนย์การศึกษาและการพัฒนาด้านการเกษตร อำเภอบางขันมีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ดังนี้
            - ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังหิน มีกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อเป็นแหล่งถ่านทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ดังนี้
          1.  โครงการสาธิตไร่นาสวนผสม ปลูกขนุนและเลี้ยงปลา หมู่ที่ 6 ตำบลวังหิน จำนวน 1 แห่ง เป็นแปลงสาธิตถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร
          2.  โครงการสาธิตการเลี้ยงไก่ กลุ่มที่ 11 ตำบลวังหิน ขณะนี้สามารถขยายเครือข่ายออกไปได้อีก 20 ราย
          -  ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบางขัน มีกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อเป็นแหล่งถ่านทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ดังนี้
          1.  โครงการสาธิตการป้องกันกำจัดโรคทุเรียน หมู่ที่ 13 ตำบลบางขัน เพื่อใช้เป็นแปลงดูงานของเกษตรกร
          2.  โครงการสาธิตการบำรุงรักษาสวนทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลบางขัน เพื่อใช้เป็นแปลงดูงานและเรียนรู้ของเกษตรกรข้างเคียง
          -  ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบ้านลำนาว มีกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อเป็นแหล่งถ่านทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ดังนี้
          1.  โครงการสาธิตการเลี้ยงไก่พื้นเมือง (300 ตัว) ม. 9 ตำบลบ้านลำนาว ขยายผลเกษตรกรข้างเคียง 20 ครัว ๆ ละ 20 ตัว
          2.  โครงการสาธิตการปลูกพืชผสมผสาน (ทุเรียน มังคุด ลองกอง) ม. 11 ตำบลบ้านลำนาว แปลงเรียนรู้ระบบการให้น้ำและการปลูกพืชร่วม 5 ไร่/แปลง
  2.  การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
          -  ผนึกกำลังและความร่วมมือในการดำเนินการจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และประชาชน
          -  เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 กำนันตำบลบ้านนิคม พร้อมสมาชิก อพปร. ทำการจับกุมนายสม
  3.  การแก้ไขปัญหายาเสพติด
       3.1  มาตรการการป้องกันปราบปราม
          1.  ร่วมมือระหว่างตำรวจ ฝ่ายปกครอง ประชาชนในการป้องกันปราบปราม
          -  ผลการปราบปราม ตั้งแต่เดือน มกราคม - พฤศจิกายน 2543 จับกุมได้ทั้งสิ้น 137 ราย 138 คน มีกัญชาไว้ในครอบครอง 11 ราย ยาบ้าไว้ครอบครอง 27 ราย เสพยาบ้า 3 ราย มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง 21 ราย มีพืชกระท่อมไว้ในครอบครอง 4 ราย เสพกระท่อม 71 ราย มียาบ้าไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 1 ราย (2 คน)
          2.  สถานีตำรวจ และอำเภอจัดทำทะเบียนประวัติผู้ติดยาบ้า ผู้ค้ายาเสพติด เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันและปราบปราม
          3.  ผลการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติดเฉลิมพระเกียรติ ในปี 2543 อำเภอบางขัน มีหมู่บ้านปลอดยาเสพติดเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 5 หมู่บ้าน คือ
          -  หมู่ที่ 9 (บ้านไสยาสน์) ตำบลบ้านลำนาว (ครั้งที่ 1/2542)
          -  หมู่ที่ 2 (บ้านคลองเสาใต้) ตำบลบ้านลำนาว (ครั้งที่ 2/2543)
          -  หมู่ที่ 2 (บ้านเขาวง) ตำบลนิคม (ครั้งที่ 2/2543)
          -  หมู่ที่ 7 (บ้านเหนือคลอง) ตำบลบ้านนิคม (ครั้งที่ 2/2543)
          -  หมู่ที่ 10 (บ้านใหม่) ตำบลวังหิน (ครั้งที่ 2/2543)
       3.2  การรักษา
          -  ในส่วนที่ทางราชการส่งตัวผู้ติดยาเสพติด จำนวน 3 ราย (ติดยาบ้า)
  4.  การดำเนินการโครงการพระราชดำริ หรือโครงการเกี่ยวกับพระราชดำริ
          โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียน ตชด. งานส่งเสริมการปศุสัตว์อันเนื่องจากพระราชดำริ โดยให้การสนับสนุนไก่ไข่อายุ 18 สัปดาห์ โรงเรียนละ 30 ตัว อาหารไก่โรงเรียนละ 1,000 กิโลกรัม จำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านไร่ยาว และโรงเรียนบ้านยูงงาม
          -  โรงเรียนบ้านยูงงามได้รับพันธุ์ไก่ไข่เพิ่มจากวิทยาลัยเกษตรนครศรีธรรมราช (ควนพลอง) จำนวน 80 ตัว รวมเป็น 130 ตัว ขณะนี้ได้รับผลผลิตแล้ว
          -  โรงเรียนบ้านไร่ยาว ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่เพิ่มจากบริษัทเครือเจริญโภคพันธุ์ จำนวน 150 ตัว รวมไก่ตามโครงการเป็นจำนวน 180 ตัว ขณะนี้ได้รับผลผลิตแล้วบางส่วน
  5.  เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
          บ่อน้ำร้อน ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ในปี 2543 โดยการสร้างเส้นทางเท้าคอนกรีตพร้อมรั้วเชื่อมระหว่างบ่อน้ำร้อน สร้างหลังคาคลุมบ่อน้ำร้อน (บ่อใหญ่) สร้างสะพาน ทำป้ายประชาสัมพันธ์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบล ให้งบประมาณอุดหนุนเป็นเงิน 502,820 บาท และป้ายสถานที่ท่องเที่ยว ได้งบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขณะนี้กำลังดำเนินการพร้อมทั้งดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเป็นผลได้มีประชาชนท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
  6.  การส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
          -  ส่งเสริมให้ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำท้องถิ่นมีความรู้ตามรัฐธรรมนูญ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรได้รับทราบ
          -  จัดตั้งศูนย์ประสานการเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อให้สนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ส. และได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งตามโครงการชูธงเพื่อประชาธิปไตย โดยจัดชุดอำเภอเผยแพร่การเลือกตั้ง 10 ชุด ๆ ละ 2 คน เพื่อออกเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้นำหมู่บ้าน ตัวแทนประชาคม หมู่บ้าน สมาชิกสภา อบต. ในรูปเวทีประชาคม เพื่อให้ผู้นำเหล่านี้เป็นแกนนำในการเผยแพร่ความรู้และวิธีการเลือกตั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  7.  เร่งรัดอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          -  รอบปี 2542 จับกุมคดีป่าไม้ 49 คดี ได้ผู้ต้องหา 6 คน ปี 2543 จับกุมคดีป่าไม้ 27 คดี ผู้ต้องหา 9 คน
  8.  เร่งรัดและสานต่อโครงการต่อเนื่อง