www.tungsong.com
สภาพทั่วไป
การปกครอง
เศรษฐกิจและสังคม
สวัสดิการสังคม
ทำเนียบข้าราชการ
ศักยภาพของอำเภอ
ปัญหาและความต้องการ
นโยบายผู้ว่าฯ
 

ปัญหาและความต้องการของอำเภอ

          ในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของอำเภอ ได้จากการทำประชาคมในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ นำมาประกอบกับข้อมูลทั่วไป ของอำเภอ และข้อมูลสรุปผล กชช. 2 ค. ระดับอำเภอ และข้อมูลการประมวล จปฐ. โดยคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ ได้แยกกลุ่มเป้าหมายและความต้องการออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้
          1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
          2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน
          3. ด้านเศรษฐกิจชุมชน
          4. ด้านสังคมและชุมชน
          5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          6. ด้านการพัฒนาการและงานบริหาร
     
 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 

  ปัญหา ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
ก. ปัญหาหลัก  
1. ถนนชำรุด
    ทำให้การคมนาคมไม่สะดวกโดยเฉพาะฤดูฝน
- ก่อสร้างและปรับปรุงถนนในหมู่บ้านทุกสาย ให้สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล โดยใช้วัสดุ (ลูกรัง, หินผุ, หินคลุก) ที่มีคุณภาพกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
- ถนนในหมู่บ้าน สายสำคัญที่อยู่ในเขตชุมชนก่อสร้างเป็นถนน ค.ส.ล.
- ก่อสร้างและปรับปรุงถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่าตำบลเป็นถนนลาดยาง
2. มีไฟฟ้าใช้ยังไม่ทั่วทุกพื้นที่
    - สาเหตุจากการย้ายพื้นที่ของประชาชนเข้ามาอยู่ใหม่
- ให้ อบต. รวมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำรวจชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วจัดทำแผนการขยายเขตไฟฟ้าตามลำดับ ความสำคัญของชุมชน
3. ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดเพียงพอ - ส่งเสริมรณรงค์ให้ประชาชนทุกครัวเรือน มีภาชนะรองน้ำฝนให้เพียงพอสำหรับดื่มในครอบครัว และรณรงค์ให้ประชาชนขุดบ่อน้ำตื้นสำหรับน้ำที่ใช้ตามฐานะการเงิน
- จัดให้มีระบบประปาหมู่บ้านและประปาชนบทครอบคลุมทุกพื้นที่
- สำหรับประปาหมู่บ้าน ให้ตั้งกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำบริหารการจัดการ
- สำหรับประปาชนบทให้ อบต. เป็นผู้บริหารการจัดการโดยมอบให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำ
ข. ปัญหารอง  
1. ยังไม่มีโทรศัพท์ใช้ทั่วทุกพื้นที่ - ให้มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ในเขตชุมชนครอบคลุมทุกพื้นที่
- ให้มีโทรศัพท์ใช้ทุกครัวเรือนโดยเน้นจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชนหนาแน่นและชุมชนที่มีการค้าเป็นเป้าหมายเน้นหนักก่อน
- ให้มีแผนการขยายหมายเลขโทรศัพท์ที่ชัดเจนว่าจะมีการขยายปีละกี่เลขหมายในพื้นที่ใด
     

 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

ปัญหา

ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
1. ยาเสพติด - ร่วมมือ ส่วนราชการ ประชาชน องค์กรภาคเอกชน ให้ยาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้าน
- พัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะของประชาคมหมู่บ้านให้เข้มแข็งและมีศักยภาพในการจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน โดยประชาชน ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ทำให้หมูบ้านปลอดยาเสพติดอย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไป
- ก่อสร้างและปรับปรุงถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่าตำบลเป็นถนนลาดยาง
     

  ด้านเศรษฐกิจชุมชน

  ปัญหา ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
ก. ปัญหาหลัก  
1. ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร - พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อการเกษตร
- ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร
2. ราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำ - ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่ให้ผลผลิตตอบแทนต่อไร่สูง
- ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการเกษตร
- ส่งเสริมวิถีชีวิตเป็นเกษตรกรผสมผสาน ให้มีการปลูกพืชรอง หรือเลี้ยงสัตว์เสริม นอกจากการปลูกยางพาราหรือพืชอื่น ๆ เป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียว
3. ขาดตลาดรองรับผลผลิตด้านการเกษตร - ส่งเสริมให้ตลาดนัดซึ่งมีอยู่แล้ว เป็นตลาดกลางรับซื้อสินค้าการเกษตรที่รับซื้ออย่างเป็นธรรม
- ตั้งศูนย์สาธิตการตลาดรับซื้อและขายสินค้า หรือผลิตผลทางการเกษตรหรือผลผลิตที่ใช้วัสดุธรรมชาติ
ข. ปัญหารอง  
1. ขาดการรวมกลุ่มด้านการเกษตร - พัฒนากลุ่มการเกษตรที่มีอยู่แล้วให้มีการบริหารการจัดการที่เข้มแข็ง
- ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มสาขาการผลิต ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ กลุ่มที่มีความเข้มแข็งให้พัฒนาจัดตั้งในรูปสหกรณ์
2. ขาดข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร - พัฒนาหอกระจายข่าวในหมู่บ้านให้เป็น ให้มีการกระจายข่าวสารด้านการเกษตรโดยเฉพาะข่าวสารความเคลื่อนไหว ราคาสินค้าการเกษตรที่สำคัญ เช่น ราคาแผ่นยางดิบประจำวัน
- ตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จด้านการเกษตรเป็นศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรในทุกด้าน
     

 ด้านสังคมและชุมชน

  ปัญหา ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
ก. ปัญหาหลัก  
1. ขาดเอกสารสิทธิ์ - เร่งรัดให้มีการออกเอกสาร สปก. 4 - 01 โดยจัดทำแผนเป้าหมายการออกแต่ละปีให้ชัดเจน
- สำรวจพื้นที่ที่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ (น.ส. 3 ก. หรือโฉนด) ได้แล้วจัดทำโครงการเดินสำรวจออกเอกสารสิทธิ์กำหนอเป้าหมายการออกเอกสารสิทธิ์เป็นรายปีให้ชัดเจน
2. ขาดสถานที่เล่นกีฬา - จัดให้มีลานกีฬาทุกหมู่บ้าน
3. ขาดเงินทุนด้านการเกษตร - ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และเครือข่าย ให้ขยายครอบคลุมทั้งพื้นที่
4. สถานบริการด้านการสถานสุขไม่เพียงพอ - จัดตั้งกองทุนให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่
- ก่อสร้างสถานีอนามัยเพิ่มเติมให้สามารถบริการประชาชนได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่
- ส่งเสริมบทบาท อบต. ให้เข้ามาบทบาทด้านสาธารณสุขมากขึ้น
ข. ปัญหารอง  
1. เด็ก คนชรา คนพิการขาด
สวัสดิภาพ
- รณรงค์ให้มีการจัดทำบัตรสุขภาพทุกครัวเรือน
- ให้ อบต. จัดทำข้อมูลเด็ก คนชรา คนพิการ เพื่อจัดทำแผนการช่วยเหลือด้านสวัสดิการคนชรา คนพิการ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอยังชีพ ได้รับการช่วยเหลือทุกคน
2. เด็กก่อนวัยเรียนขาดสถานที่ศึกษา - จัดให้มีสถานที่รับเด็กก่อนวัยเรียนให้เพียงพอ และครอบคลุมทุกพื้นที่
     

  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

  ปัญหา ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
ก. ปัญหาหลัก  
1. ป่าไม้ถูกทำลาย - สร้างจิตสำนึกประชาชนให้รักหวงแหนป่า
- ปลูกป่าชุมชนและส่งเสริมให้ราษฎรทุกครัวเรือนปลูกต้นไม้ไว้ใช้เอง
2. การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ - สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักหวงแหนป่า
- ให้ประชาชนเข้ามีบทบาทร่วมในการดูแลรักษาป่า
ข. ปัญหารอง  
1. แหล่งท่องเที่ยวขาดการดูแลเอาใจใส่ - พัฒนาบ่อน้ำร้อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอ และให้ อบต. เข้ามามีบทบาทในการดูแลบำรุงรักษา
     

  ด้านการบริหาร และงานบริการ

  ปัญหา ทิศทาง/แนวโน้มการพัฒนาที่ต้องการ
  -
 

 วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ

          ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทุกคน จะร่วมมือประสานพัฒนาให้บังเกิด
          (1) ประชาชนได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วหน้า
          (2) ปวงประชาปลอดภัย
          (3) เศรษฐกิจยั่งยืนก้าวไกล
          (4) ร่วมใจรักษาสิ่งแวดล้อม
          (5) พร้อมใจใฝ่ศึกษา
          (6) สุขภาพถ้วนหน้า
          (7) ประสานการพัฒนาแบบประชาคม