http://www.tungsong.com
|
|
|Download Document
|
![]() |
![]() |
[ องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติการ 21] [ แผนปฏิบัติการ 21 ในบริบทไทย ] [ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 ] [ โครงการแผนปฏิบัติการ 21 ] |
![]() |
|
แผนปฏิบัติการ 21 ไม่ได้เกิดขึ้นได้เองโดยตัวของมัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
หรือภาคีต่าง ๆ จะต้องเข้าใจว่ากระบวนการนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร และต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือบุคคลอย่างไร เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบที่มีอยู่ หน่วยงานต่าง ๆ ต่อไปนี้ มีบทบาทหรือมี ส่วนสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงระบบการวางแผน และการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - เทศบาล จะต้องเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบการวางแผน และการจัดการแบบใหม่ขึ้นมาบรรดา นายกเทศมนตรี และเทศมนตรีที่ได้มาจากการเลือกตั้ง ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกอง และ พนักงานเทศบาล จะต้องดำเนินการแผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 และต้องได้รับการสนับสนุนจาก ชุมชน รวมทั้งประสานงานกับส่วนกลาง เพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากร และงบประมาณ ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผน | |
- มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ละการฝึกอบรมโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยและฝึก อบรมอื่น ๆ สามารถจัดให้มีสิ่งซึ่งจำเป็น ด้านการวางแผนและการจัดการ ในการจัดทำแผน ปฏิบัติการท้องถิ่น 21 | |
- ภาคธุรกิจเอกชนให้ท้องถิ่นเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาแผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 ซึ่ง สามารถเข้ามามีส่วนร่วม และช่วยเหลือได้เลย ผ่านทางหอการค้าจังหวัดในท้องที่นั้น องค์กรธุรกิจต่าง ๆ และกรอ. รูปแบบการวางแผนและการจัดการแบบใหม่ ชี้ให้เห็นว่าจะ ต้องมีการวางแผนในระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกันมากกว่าเดิมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งหมายความรวมถึง การให้การสนับสนุนกิจการด้านอุตสาหกรรม และการพาณิชย์ที่ เหมาะสม กับท้องที่นั้น ๆให้มากขึ้นซึ่งองค์กรธุรกิจมักจะมีความพร้อม และความชำนาญ ด้านเทคนิค และด้านการเงิน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะกระตุ้นให้การนำไปใช้เพื่อก่อ ให้เกิดระบบการวางแผน และการจัดการในระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น | |
- องค์กรพัมนาเอกชนอื่น ๆ อาทิ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น 1 และหาแนวทางเพื่อให้ ได้มาซึ่งการสนับสนุนและและทรัพยากร ในอันที่จะช่วยให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในระบบ การวางแผนและการจัดการ | |
หน่วยงานส่วนกลาง ก็ยังคงจะมีบทบาทสำคัญต่อไป อย่างไรก็ดี จะต้องมีการปรับเปลี่ยน |
|
บทบาทการที่เป็นฝ่ายกำหนดทิศทางของการพัฒนา การดำเนินการโครงการพัฒนา ในภูมิภาคต่างๆ และการควบคุมความคิดริเริ่มของท้องถิ่นให้เป็นแบบพี่เลี้ยงที่ค่อยให้การสนับสนุน และด้านนโยบาย และกรองงานด้านยุทธวิธีสำหรับกระบวนการพัฒนาในระดับชาติ รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจกฎหมาย และการจัดหา และสนับสนุนทรัพยากรที่สำคัญ และจำเป็นในการดำเนินการ ทรัพยากรที่ว่านี้ รวมไปถึงการค้นคว้า ในสิ่งที่มีราคาแพง และหายากเกินไปสำหรับสถาบันต่าง ๆ ในภูมิภาค และใน ท้องถิ่นที่จะจัดหาได้เองโดยลำพัง หน่วยงานรัฐส่วนกลางยังควรมีบทบาท ในการจัดสรรงบประมาณ โดยให้เกิดการกระจายจากส่วนกลางที่ร่ำรวยกว่า ไปยังส่วนที่ยากจนกว่า | |
อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณของชาติ ในสัดส่วนที่มากกว่าที่เป็นอยู่ |
|
ใน ปัจจุบันและกระจายตรงไปยังระดับจังหวัดและเทศบาล เพื่อนำไปใช้ในการกำเนินการตามแผนงาน โครงการได้ตามวิจารณญานของท้องถิ่น จริงอยู่ที่มีข้อสังเกต ให้มีการระมัดระวัง ในกรณีขาดความ โปร่งใส และความจริงใจทางการเมืองหรือในกรณีที่กระบวนการวางแผนไม่ถูกต้องเหมาะสมหรือระบบ การคลังที่ไม่รัดกุม อย่างไรก็ดี ควรมีการเรียกร้องให้ใช้มาตราการที่จะช่วยพัฒนา และสนับสนุนการ วางแผนและการจัดการในระดับท้องถิ่น และมาตราการ ในการป้องกันการคอรัปชั่นที่จริงจัง แต่ไม่ใช่ เหตุผล เพราะต้องการจะจำกัดอำนาจ และทรัพยากรของท้องถิ่นเฉย ๆ | |
เมื่อมีการเรียกร้องให้มีการเพิ่มอำนาจ ให้จังหวัดและเทศบาลก็จะมีการร้องเรียนให้หน่วยงาน |
|
ในระดับจังหวัด และเทศบาล มีอำนาจและทรัพยากรมากขึ้นด้วยในประเด็นนี้ สันนิบาตเทศบาลควร จะเป็นองค์กรที่มีบทบาท ในการประสานงาน ทั้งในแง่ของการสร้างเสริมความสามารถ ในระดับ ท้องถิ่น การค้นคว้าวิจัยแบบมีระบบ และจัดโครงการฝึกอบรม ทั้งชี้แจง หรือแสดงถึงความต้องการ ของท้องถิ่น เพื่อให้มีอำนาจการบริการและมีทรัพยากรมากขึ้น | |
แผนปฏิบัติการ 21 ในบริบทไทย | back | โครงการแผนปฏิบัติการ 21 |