http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document
 
[ องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติการ 21] [ แผนปฏิบัติการ 21 ในบริบทไทย ] [ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 ] [ โครงการแผนปฏิบัติการ 21 ]

ประมุขส่วนใหญ่ของรัฐต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วยได้มีการลงนามในแผนปฎิบัติการ 21
ที่มีความยาว 400 หน้า หรือจำนวน 40 บท ที่เมือง ริโอ เดอ จาเนโร เพื่อใช้ เป็นแนวทาง ปฎิบัติงานชั้นพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาแบบยั่งยืน ในระหว่างทศวรรษที่ 21 ต่างก็คาดหวังว่า แต่ละประเทศจะจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 ของตนเองขึ้น ที่เรียกว่า " แผนหรือยุทธวิธีเพื่อ ความยั่งยืนแห่งชาติ " ภายในระยะเวลา 2 - 3 ปี หลังจากการประชุมสุดยอดที่เมือง ริโอ หลายประเทศ ในยุโรปรวมทั้งสหราชอาณาจักร ได้จัดทำเอกสารชุดนี้ขึ้นมา ในทวีปเอเซีย หลายประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น หรือ ฟิลิปปินส์ ก็ได้จัดทำเอกสารชุดนี้ขึ้นมาแล้ว เอกสารเหล่านี้ จะเป็นกรอบสำหรับแผนงานโครงการ และแผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 ในระดับ ภูมิภาคและระดับท้องถิ่น

สำหรับประเทศไทย ยังไม่ได้จัดทำแผน หรือยุทธวิธี เพื่อความยั่งยืนระดับชาติขึ้นมาเลย
อย่างไรก็ตาม กระบวนการวางแผนกิจกรรม ในเรืองสิ่งแวดล้อม ก ็ได้มีการริเริ่มขึ้นแล้วในระดับ จังหวัดและในระดับเทศบาล และกระบวนการเหล่านี้ เราสามารถใช้เพื่อก่อให้เกิดระบบสำหรับ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 ได้ดังต่อไปนี้

1. กระบวนการเทศบาลนำร่องกำลังขยายตัว และควรขยายต่อไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็น
แผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 ที่สมบรูณ์แบบและสามารถนำไปใช้กับเทศบาลทุกพื้นที่ และควรผนวก เข้าไปอยู่ในกระบวนการ วางแผนการใช้ที่ดินระดับท้องถิ่น

2. แผนปฏิบัติการเพื่อจัดการคุณภาพ และสิ่งแวดล้อม ในระดับจังหวัดที่จัดทำขึ้นมาในกรอบ
ของ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2523 ควรจะได้มีการปรับปรุง ต่อไปอีก เพื่อให้เท่าทัน และประสานสอดคล้อง กับแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมเมือง ที่เทศบาล จัดทำอยู่ และควรจะครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ นอกเหนือจากกระบวนการวางแผนและการพัฒนา ในระดับจังหวัดตัวอย่าง เช่น โครงการสร้างและปฏิบัติงานของ กรอ. และกระบวนการวางผัง ระดับจังหวัด ที่กรมผังเมืองกำลังจัดทำขึ้น

3. ควรจะได้มีการพัฒนาเรื่อง กระบวนการวางแผนกิจกรรมของชุมชน ในฐานะที่เป็นฐานเพื่อ
ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 และในฐานะที่เป็นฐานสำหรับ การสรรหาองค์ประกอบต่างๆรวมทั่งกิจกรรมสำหรับแผนงาน ( เทศบาลเมืองหนองคายได้ร่วมมือ กับ 4 ชุมชน ในการจัดและประสานผังชุมชนเข้าด้วยกันกับแผนพัฒนาชุมชน โดยได้รับการสนับ สนุนจาก ส่วนแผนพัฒนาท้องถิ่น และสำนักพัฒนาเมือง )

4. แผนปฏิบัติการภูมิภาค 21 ( Regional Agenda 21 ) ควรจะได้มีการจัดทำขึ้น โดย
อาศัยความร่วมมือจากเทศบาล และจัวหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ - เพื่อจัดทำกรอบ ( Framework ) " ผังโครงสร้าง ( Structure Planning ) " สำหรับ แผนระดับจังหวัดและเทศบาล

       - เพื่อจัดทำกรอบ ( Framework ) " ผังโครงสร้าง ( Structure Planning ) " สำหรับ แผนระดับจังหวัดและเทศบาล

       - เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรม และ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแต่ละภูมิภาคต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน เข้าสู่กระบวน การวางแผนพัฒนา เช่น ดินแดนล้านนาที่ห้อมล้อมด้วยภูเขา ทีราบสูงแห้งแล้งแห่ง อีสาน และภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะเด่นของทรัพยากรตามแนวชายฝั่งทะเลและลักษณะ ทางภูมิภาคด้าน ต่าง ๆ

แผนปฏิบัติการภูมิภาค 21 เหล่านี้ควรจะได้ผนวกกระบวนการวางแผนในระดับภูมิภาค
ของสภาพัฒน์ฯที่จะใช้เป็นเครื่องตัดสินว่าอะไรที่ควรจะเป็นทิศทางของการพัฒนาในระดับภูมิภาค ซึ่งจัดทำขึ้น โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญก่อนหลังที่เราควรจะได้มีการกำหนดขึ้นมาล่วงหน้าด้วย


back แผนการปฏิบัติการ 21 ในบริบทไทย