http://www.tungsong.com
Home
| Guestbook
|Local Agenda 21
|Download Document
 
[ องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติการ 21] [ แผนปฏิบัติการ 21 ในบริบทไทย ] [ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 21 ] [ โครงการแผนปฏิบัติการ 21 ]

หน่วยงานระดับชาติหลายหน่วยงาน ในประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนงานซึ่งส่งผลกระทบ
ต่อสภาวะในระดับท้องถิ่น ในที่นี้รวมไปถึงแผนระดับภูมิภาคของสภาพัฒน์ ฯ แผนพัฒนาเทศบาล ที่รับการสนับสนุนจากกรมการปกครอง แผนพัฒนาชนบทของกรมพัฒนาที่ดิน " ผังเมืองรวม " ของกรมผังเมืองที่ใช้สำหรับเทศบาลต่าง ๆ แผนการใช้ที่ดินสำหรับการปกครอง ในระดับต่าง ๆ ( จังหวัด ตำบล สุขาภิบาล) และแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัดตามแนวของกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แผนต่าง ๆ ในระดับชาติยังขาดการประสานและขาด ส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการจัดทำแผน เราไม่สามารถปฏิเสธที่จะให้หน่วยงานระดับชาติเข้ามาช่วย ในการจัดทำแผน เพื่อกำหนดแนวทาง หรือกรอบทางด้านเศรษฐกิจและด้านกฎหมายแบบกว้าง และโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรปันส่วนทรัพยากร ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และในการกระจายงบประมาณอย่างไรก็ตาม การวางแผนเข้มแบบผสมผสาน ที่จะทำให้เรามั่นใจ ได้ว่าจะเกิดการประสานงานกันระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ และก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาแบบ ประสานพลังงานเป็นหนึ่ง ( Synergistic ) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีกระบวนการที่จัดทำขึ้น ได้มีการประสาน งานในระดับท้องถิ่นอย่างแท้จริงเท่านั้น แนวทางการดำเนินงานของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และ ประเทศญี่ปุ่นการจัดแผนหรือโครงการต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับแต่ละเมือง และแต่ละจังหวัดโดยที่ท้องถิ่น จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความต้องการ และจะนำไปประสานกับแผนระดับภูมิภาค และระดับชาติ ทั้งนี้จะต้องให้สอดคล้องกับแนวคิด โครงสร้าง และทรัพยากรของแต่ละเมือง หรือ จังหวัดด้วย

แผนปฏิบัติการ 21 นี้ เหมาะที่จะช่วยให้ประเทศสามารถพัฒนากระบวนการวางแผนแบบ
ผสมผสานได้ดีมากขึ้นซึ่งจะเกิดผลดังต่อไปนี้ คือ
       - เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาและลดผลกระทบในเชิงลบ ( Negative Externalities ) เช่น มลพิษข้อขัดแย้งเกี่ยวการใช้ที่ดินเป็นต้น
       - เปลี่ยนกระบวนการพัฒนาให้เป็นแบบที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

จากความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง การวางแผนแบบ เดิม ๆ
ในเรื่องโครงสร้างระดับชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ครอบคลุมระบบเศรษฐกิจแบบภูมิภาค ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไปแล้ว การวางแผนแบบใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการที่จะต้องร่วมเอาผู้ที่มี ส่วนได้เสียหลัก ๆ ทั้งหมด เข้าไปอยู่ในกระบวนการวางแผนด้วย และนี้คือประเด็นสำคัญ ในแผน ปฏิบัติการ 21 ทั้งนี้เพื่อ
       - ให้รู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง
       - ให้ได้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานปฏิบัติหรือหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบดำเนินการ ตามแผน
       - ให้เกิดพันธสัญญา( Commitment ) ของหน่วยงานปฏิบัติที่สำคัญต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ตามแผน
       - ให้เกิดการะดมทรัพยากร จากหน่วยงานที่ปฏิบัติที่สำคัญต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้รับจาก รัฐบาลในการดำเนินงาตามแผนต่าง ๆ ให้เป็นจริง

การวางแผนแบบการมีส่วนร่วมในระดับชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการวางแผน
ระดับชาติไม่คุ้มค่าอีกต่อไปแล้ว สิ่งที่ต้องการ และมีความสำคัญระดับชาติ คือ นโยบาย ยุทธวิธี หลักความรู้ วิชาการ และงบประมาณ ดังนั้นควรมีการกำหนดกรอบของการวางแผน และยุทธวิธี นระดับภูมิภาคในการใช้และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกันให้ยั่งยืนได้อย่างไร การมีส่วนร่วมของชุมชน จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในระดับจังหวัด และเทศบาล ในการจัดทำแผน ปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม

ผลของกระบวนการในการวางแผน และการจัดการที่เกิดขึ้นภายใต้สิ่ง ที่เราเรียกกันว่า
Principle of Subsidiarity หมายความว่า กิจกรรมต่าง ๆ จะมีการวางแผน และการจัดการ ในระดับที่ใกล้กับจุด ที่ได้รับผลกระทบโดยกิจกรรมนั้น ๆ มากที่สุด และนี่เป็นหลักการที่ใช้ เป็น พื้นฐานของการพูดคุยกันอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรปเกี่ยวกับการวางแผนและการจัดการในอนาคต

เมื่อเป็นเช่นนี้แผนจึงถูกจัดขึ้นมาในลักษณะที่ได้มีการพูดกันแล้วเพื่อการพัฒนาแผนปฏิบัติการ 21
สำหรับประเทศไทย มีการผนวกแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมชุมชน เข้าไปในกระบวนการวาง แผนพัฒนาเมือง และพัฒนาระดับจังหวัด และภูมิภาค ทั้งนี้โดยสนองตอบต่อนโยบายและยุทธวิธีที่ รัฐบาลกลางกำหนดขึ้น

โอกาสที่จะได้มีการนำเอา ระบบการวางแผนอย่างนี้ไปใช้ จะมีมากกว่าระบบการวางแผนและ
การจัดการแบบบนลงล่าง (Top-Down) ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความยืดหยุ่นส่วนการจัดทำแผนจากล่างสู่บน นั้นจะมีการปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่ากล่าว คือสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการโดยที่ชุมชน ต่าง ๆ เป็นผู้กำหนดขึ้นมาในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วม ในกระบวนการวางแผนและการจัดการ

หลักการสำคัญประการที่สอง ของการวางแผนแบบใหม่ก็คือ การสร้างเครือข่าย " Networking "
และที่สำคัญ คือ ชุมชน เทศบาลและจังหวัดต่าง ๆ ไม่ควรรอให้องค์กรของรับบาลกลางมาจัดหาให้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านเทคนิค งบประมาณ หรือการควบคุมกิจกรรมด้านการพัฒนาสายการติดต่อ สื่อสารที่สำคัญระหว่างพื้นที่ ที่มีลักษณะและปัญหาคล้าย ๆ กัน เช่น
       - ชุมชนชาวประมงชายฝั่งเรียนรู้เรื่องการจัดการชายฝั่งจากชุมชนชายฝั่งอื่น ๆ
       - เมืองขนาดกลาง เรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมที่สุด ในการจัดการน้ำเสียจากเมืองที่มีขนาดพอ ๆ กันที่สามารถแก้ปัญหาที่คล้าย ๆ กันได้
       - จังหวัดที่เผชิญปัญหาด้านการวางแผน การใช้ที่ดิน หรือการจัดการป่าไม้ ควรจะเรียนรู้ และ แลกเปลี่ยนความเห็น กับจังหวัดที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เพื่อศึกษา และทดลองดำเนินการ วิธีต่าง ๆ ที่น่านำมาใช้ด้วยกันในการปรับปรุงระบบการจัดการที่มีอยู่แล้ว

องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติการ 21 back การจัดทำแผนปฏิบัติการ 21