![]() |
||||||
ประเวศ วะสี |
วิสุทธิ์ ใบไม้ |
สมศักดิ์ สุขวงศ์ |
ฉลาดชาย รมิตานนท์ |
ชนวน รัตนวราหะ |
ระพี สาคริก |
ยศ สันตสมบัติ |
ปัญหาหลักของการพัฒนากระแสหลัก | |
หนึ่ง การให้ความหมายของ การพัฒนา ว่าคือการพัฒนาเศรษฐกิจละเลยวิถีชีวิตด้านอื่นๆ |
|
ประวัติศาสตร์การวางแผนการพัฒนาของมนุษย์ หากจะกล่าวให้เฉพาะเจาะจงคือการวางแผนพัฒนา | |
ประเทศไทย อย่างน้อยก็เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา นอกจากจะแยกการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ อย่างขาดออกจากกันแล้วยังกลับเน้นความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก ราวกับว่า ชีวิต ของมนุษย์ทั้งชีวิตมีเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่ากิจกรรมด้านอื่นๆ เช่นการศึกษา สุขภาพ อนามัย ศิลป วัฒนธรรม แบบแผนการใช้ทรัพยากรที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเมือง และที่สำคัญที่สุดคือศีลธรรม จริยธรรมที่เป็นเครื่องชี้นำและผูกมัดให้ผู้คนอยู่ร่วมกันและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสงบสันติและเกื้อกูลกันถูกละเลย สังคมไทยก็ดี สังคมโลกก็ดี จึงเป็นสังคมที่มีปัญหามากมายในขั้นวิกฤตในขณะนี้ จริงอยู่เศรษฐกิจหรือ เรื่องปากเรื่องท้อง เป็นเรื่องสำคัญไม่มีใครปฏิเสธ แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะต้องทำอย่างมีขอบขีดที่พอเหมาะพอควร และจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย | |
สอง การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน |
|
ผลของการพัฒนาตามแนวทางในข้อที่หนึ่งคือการมุ่งเน้นการสร้างอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ | |
เป็นเป้าหมายหลัก จึงทำให้เกิดการระดมใช้ทรัพยากรอย่างเร่งด่วน ไม่มีบันยะบันยัง เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีผู้เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจแบบ ขุดคุ้ย ตัดฟัน ดูดซับ เอาทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากธรรมชาติ (extraction economy) ซึ่งด้านหนึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่วางพื้นฐานอยู่บนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ปราศจากชีวิต เช่น แร่ธาตุต่างๆ หรือเคยมีชีวิตเช่น เชื้อเพลิงที่ได้จากซากพืช สัตว์ที่ตายไปแล้ว และทับถมอยู่ใต้ดิน ในรูปของลิกไนท์ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้นทรัพยากรเหล่านี้ นอกจากไม่มีชีวิตชีวาแล้วแต่เมื่อใช้หมดแล้วก็หมดไปเลยไม่อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งแม้จะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีชีวิต เช่น การทำไม้ การเกษตรแผนใหม่ และอุตสาหกรรมประมงส่งออกเป็นต้น แต่การใช้ก็เป็นไปในลักษณะทำลายล้างมากกว่าที่จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ธภาพที่ดีกับธรรมชาติส่วนที่มีชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจแบบนี้ครอบงำโลก ประเทศไทยและมนุษยชาติทั้งมวลมาเป็นเวลานาน และดูราวกับว่าจะสามารถดำเนินต่อไป ได้อย่างมีผลิตภาพไร้ซึ่งขอบเขตจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่ไม่สนใจใยดีกับคุณค่าของ ชีวิต ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งทั้งสิ้น (ฉลาดชาย รมิตานนท์ 2533 : 96) อย่าว่าแต่ชีวิตของพืชสัตว์แมลงตัวเล็กตัวน้อยหรือไม้ใหญ่สัตว์ใหญ่ แม้แต่ชีวิตมนุษย์ด้วยกันเองก็หาได้สนใจไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาที่เป็นมา กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปหากไม่มีการต่อสู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนา ยังคงปล่อยให้การพัฒนาเป็นการพัฒาที่ขูดรีดตักตวงเอาจากธรรมชาติแต่ถ่ายเดียว โดยไม่มีการให้อะไรคืนกลับแก่ธรรมชาติเลย วิกฤตการณ์ต่างๆ ทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศไทยและโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ นอกจากจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างได้ผลทันการแล้วโอกาสที่จะกลายเป็นวิกฤตที่รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับก็ยิ่งมีมากขึ้น | |
รูปธรรมที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ การเริ่มแตกสลายของระบบนิเวศทางบก และระบบนิเวศทางน้ำ |
|
สาธารณชนทั่วไปมักได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐแต่เพียงว่า เราได้สูญเสียพื้นที่ป่า ไปปีละกี่หมื่นกี่แสนไร่ดังนั้นเราจะต้องปลูกป่าขึ้นมาทดแทนให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ไร่ ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น การสูญหายไปของพื้นที่ป่าอันเป็นผลพวงของการกำหนดนโยบายและการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐ แท้จริงแล้วมีผลกระทบที่สำคัญแฝงอยู่คือการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพทั้งความหลากหลายของพืชและสัตว์ซึ่งการสูญเสียดังกล่าวมีปัญหาที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่าเราได้สูญเสียอะไรไปบ้าง ในอัตราความเร็วเท่าใด เป็นต้น นอกจากนั้นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปนั้น เป็นการสูญเสียที่สูญเสียแล้วสูญไปเลย การปลูกป่าตามที่รัฐได้กระทำมาแล้วและมีแผนที่จะทำ แม้ว่าในการกรณีอ้างว่าจะใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองก็ตาม แต่การปลูกป่าดังกล่าวก็ไม่อาจเรียกความหลากหลายทางชีวภาพของป่า ซึ่งประกอบด้วยพืช สัตว์ใหญ่น้อย นานาชนิด ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วกลับคืนมาได้ และยิ่งเป็น ป่าปลูก เพื่อหวังผลการใช้เนื้อไม้เชิงพาณิชย์ในรูปของ สวนป่า ด้วยแล้วมิได้มีผลดีต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เรียกว่าป่าปลูก ความจริงแล้วไม่ใช่ป่าตามความหมายทางวิชาการและความหมายของชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้เพราะป่าปลูกตามความหมายในความหมายของกรมป่าไม้ เป็นเพียง ไร่ต้นไม้ ฉะนั้นจึงไม่ขัดอะไรกับคำว่า ป่าไม้ ในความหมายของกรมป่าไม้เพราะหัวใจของวิธีคิดที่อยู่เบื้องหลังคือ ไม้ แต่จะใช้คำว่า ป่า เฉย ๆ ไม่ได้ เพราะมีต้นไม้ชนิดเดียวหรือสอง-สามชนิดในขณะที่ป่ามีพืช สัตว์ นับร้อย นับหมื่นชนิดขึ้นอยู่กับประเภทและสภาพของป่านั้นๆ | |
ในกรณีของระบบนิเวศทางน้ำ สาธารณชนได้รับทราบวิกฤตการณ์ของระบบน้อยมากเมื่อเทียบกับ |
|
ระบบนิเวศทางบก โดยเฉพาะเรื่องของป่า จริงอยู่แม้จะมีการพูดถึงและรณรงค์เรื่อง แนวปะการังบ้าง แนวหญ้าทะเลบ้าง สัตว์หายากเช่น พะยูนบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วสาธารณและหน่วยงานของรัฐยังคงไม่ก้าวไปไกลจากการเก็บขยะมูลฝอยตามชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสักเท่าใดนัก แม้กระนั้นก็ดี กิจกรรมทำนองนี้ก็ยังคงมีน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม การพัฒนาการประมงของไทยหมายถึง การระดมจับสัตว์น้ำในอ่าวไทย ในช่วงสิบปีเศษๆ ที่ผ่านมา เพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องก็ดี อาหารสัตว์เพื่อส่งออกก็ดี อุตสาหกรรมปลาป่นเพื่อผสมในอาหารสัตว์เพื่อส่งออกก็ดี อุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งก็ดี เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพของท้องทะเลไทยไปอย่างไม่มีวันกลับคืนมาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เหมือนเดิมได้ ผลที่สุดทะเลก็กำลังจะตายไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจับสัตว์น้ำส่งออกมากเกินไป จะเห็นได้จากมูลค่าส่งออกรวมประมงไทยที่ปรากฎในงานเขียนของทศพร วงศ์รัตน์ ปีพ.ศ.2520 มีเพียง 3,628 ล้านบาท พอถึงปี พ.ศ.2532 มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 56,000 ล้านบาท (สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ,ศุภชัย หล่อโลหะการ, บก., 2532 : 136) อย่างไรก็ตาม ประมงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็ไม่สู้เดือดร้อนเท่าใดนัก เพระยังสามารถออกจับปลาตามน่านน้ำสากลได้แต่ก็ต้องเดินทางไปไกลจนบางครั้งไปถึงน่านน้ำแถบนอกชายฝั่งแอฟริกาทำให้ต้นทุนสูง อนาคตก็ไม่แน่นอนหากต้องการลงทุนต่ำก็ลักลอบจับปลาในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น เป็นผลทำให้เกิดความขัดแย้งตึงเครียดระหว่างประเทศอยู่เสมอ กลายเป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ที่สาธารณชนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเบื้องหลังความขัดแย้งนั้นๆ ก็พากันประนามประเทศคู่ขัดแย้งกับเราตามจังหวะ ปี่กลอง ที่นายทุนและรัฐเป็นผู้บรรเลงให้ ยิ่งไปกว่านั้นทัศนะของอธิบดีกรมประมงคนหนึ่งที่เคยแสดงในารยการโทรทัศน์ครั้งหนึ่งใจความว่า เรามีปลาอะไรดีๆ แพงๆ เราก็น่าจะจับส่งขายต่างประเทศเอาเงินเข้าประเทศดีกว่า ส่วนคนไทยเรานั้นเราเป็นชาติที่มีฝีมือในการปรุงอาหาร ฉะนั้นคนไทยไม่จำเป็นต้องกินปลาอะไรที่ดีๆ เราสามารถกินปลาอะไรก็ได้ เพราะเรามีฝีมือทำให้มันอร่อยได้ ทัศนะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นวิธีคิดที่มุ่งเน้นว่า การพัฒนาคือการนำเอาทรัพยากรไปขายเพื่อให้ได้เงิน เป็นความต้องการของรัฐ ความสุขความพึงพอใจ (ในกรณีนี้คือได้รับประทานของที่ดี รสชาดดี) ของคนไทยเป็นเรื่องรอง ผลทางสังคมเศรษฐกิจของนโยบายการใช้ทรัพยากรทางน้ำเพื่อส่งออกดังกล่าวนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคไทยต้องเผชิญกับปัญหาปลาราคาแพงแต่คุณภาพต่ำแล้วชาวประมงชายฝั่งซึ่งเป็นคนยากจนก็ประสบกับปัญหาการขาดแคลนปลาให้จับเพื่อการยังชีพอีกด้วย ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทะเลไทย แน่นอนว่าได้ถูกทำลายลงไปอย่างรุนแรงแล้ว | |
ในกรณีของระบบนิเวศน้ำจืด ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ การ |
|
สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ นอกเหนือจากจะท่วมพื้นที่ป่าจำนวนมากมาย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางน้ำ ทั้งน้ำจืดและต่อเนื่องไปถึงน้ำเค็มในหลายกรณี การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบอย่างมากมายเกินกว่าที่สาธารณชนจะได้มีโอกาสรับรู้วงจรของสิ่งมีชิวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือครึ่งบกครึ่งน้ำจะถูกกระทบกระเทือนในลักษณะที่เป็นห่วงโซ่ต่อเนื่องกันไปทั้งระบบ การอ้างว่าสามารถแก้ปัญหาเรื่องปลาโดยการสร้างบันไดปลาโจน นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่ประโยชน์ที่ผู้สร้างเขื่อนได้รับคือภาพพจน์ที่ดี การอ้างว่าอ่างเก็บน้ำที่เกิจากการสร้างเขื่อนจะช่วนให้เกิดการพัฒนาการเลี้ยงปลาน้ำจืดก็อาจได้ผลอยู่บ้างในการเพิ่มปริมาณของปลาบางชนิด ซึ่งอาจไม่ใช่ปลาในท้องถิ่น และอาจเป็นศัตรูที่เข้ามาทำลายสิ่งมีชีวิตในน้ำตามธรรมชาติของระบบนิเวศนั้นก็ได้ ดังนั้นผลเสียในการสูญพันธุ์ของปลาพื้นเมืองอีกมากมายหลายชนิดก็เกิดขึ้นตามมาอย่างมหาศาล ความเสียหายดังกล่าวนี้ ไม่อาจคิดคำนวณค่าเป็นเงินตราได้ กับทั้งยังเป็นการสูญไปอย่างไม่มีวันเรียกกลับคืนมาได้อีกด้วย | |
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การพัฒนาที่ผ่านมากำลังเป็นอยู่และจะดำเนินต่อไปนั้นหาใช่การพัฒนา |
|
ทียั่งยืน (sustainable development) ที่พึงปรารถนาไม่ ด้วยเหตุว่าเป็นการพัฒนาที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างสิ้นเปลือง และหมดสิ้นสูญไปในระยะสั้น ทั้งยังเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพที่มนุษย์ชาติในอนาคตต้องฝากชีวิตเอาไว้ลงไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย | |
สาม การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม |
|
การพัฒนาประเทศไทยนับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่หนึ่งจนกระทั่งฉบับที่เจ็ดในปัจจุบัน กล่าว | |
ได้ว่าเป็นการพัฒนาที่วางอยู่บนฐานของการใช้ทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะพิจารณาในระดับประเทศ ภูมิภาคและในระดับโลกล้วนแต่เกิดปรากฏการณ์อันเดียวกัน กล่าวคือกลุ่มที่มีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองก็จะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสใช้ทรัพยากรได้มากกว่าโดยมีกฎหมายหรือกฎระเบียบรองรับส่วนผู้ที่มีทุนน้อย ได้แก่ เกษตรกรชนบทผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็ก โดยเฉพาะเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกิน เป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุด ด้อยอำนาจต่อรองที่สุด ก็จะมีโอกาสใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้อยที่สุด หากจะได้ประโยชน์บ้างก็มักจะตกอยู่ในสภาพของผู้ละเมิดกฏหมายของบ้านเมือง ตกอยู่ในฐานะของผู้ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่นถูกตราหน้าว่าเป็น มอดไม้ บ้าง กองทัพมด บ้าง ผู้บุกรุกป่า บ้าง ถูกรัฐเข้าใช้กำลังทำลายถิ่นฐานบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยและไร่นาดังเช่นในกรณีของ คจก. (โครงการจัดที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้) ในภาคอีสาน แต่ในขณะเดียวกันนายทุนผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นผู้จ้างวานกลับร่ำรวยและนำความร่ำรวยนั้นเข้ามาหาอำนาจทางการเมือง เพื่อขยายโอกาสการผูกขาดการใช้ทรัพยกรของตนเองและพวกพ้องต่อไป โดยอาศัยช่องว่างหรือจุดอ่อนของกระบวนการพัฒนาระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ยังไม่อาจพัฒนาได้เต็มที่ ในขณะเดียวกันอัตราการเติบโตทางทางเศรษฐกิจของประเทศก็เพิ่มขึ้น กลุ่มทุนที่ควบคุมระบบเกษตรอุตสาหกรรมก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ปอ เพื่อป้อนให้แก่โรงงานและผู้ส่งออกตามนโยบายของรัฐ ก็ยังคงยากจนเหมือนเดิม หรือบางรายก็ยากจนลงกว่าเดิม (เช่นในกรณีผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม) ต้องตกเป็นหนี้สินและสูญเสียที่ดินทำกินไปตลอดระยะเวลา เหล่านี้การปฏิรูปที่ดินที่มีผลจริงจังก็ไม่เกิดขึ้น กฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมรยุคสมัยที่ผู้คนจำนวนมากไร้ที่ทำกิน แต่ผู้คนจำนวนน้อยถือครองที่ดินไว้เกินความจำเป็น ก็ยังไม่มีโอกาสเกิด | |
รูปธรรมของการใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมไม่ปรากฎให้เห็นในตัวเลขแสดงอัตราการเติบโตทาง |
|
เศรษฐกิจ ตัวเลขแสดงผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP ) ก็ไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริงแต่ประการใด แต่ตัวเลขของประชาชนผู้ไร้ที่ทำกินต้องอาศัยอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติฯ เกินกว่าสิบล้านคนก็ดี ตัวเลขหญิงโสเภณีและรวมทั้งผู้ชาย และเยาวชนที่ต้องต้องดำรงชีพด้วยการขายบริการทางเพศ จำนวนกว่าล้านคนก็ดี เพียงสองตัวอย่างนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมของความเป็นธรรม | |
สี่ ปัญหาอธิปไตยในการจัดการทรัพยากรของประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาสูญหายไป |
|
หากพิจารณาประวัติศาสตร์การพัฒนาของโลกตามแนวทางของตะวันตกที่เป็นการพัฒนากระแสหลัก | |
ของโลกและของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้อาจเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นกระบวนการพัฒนาที่ดำเนินมาได้ยาวนานพอควร กล่าวคือในระดับโลกเริ่มตั้งแต่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) ซึ่งเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษเมื่อกลางคริสตศตวรรษที่ 18 ความจริงแล้วระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นห้วงเวลาเพียงร้อยปีเศษซึ่งสั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถ้าเปรียบเทียบเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบที่ซับซ้อน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาหลังสิ่งมีชีวิตที่ไม่ซับซ้อนด้วยซ้ำไป ก็ยังเกิดขึ้นมาเมื่อ 600 ล้านปีมาแล้ว เมื่ออดีตของโลกและสิ่งมีชีวิตยาวนานมากดังกล่าวแล้ว อนาคตของโลกนับแต่นี้ไปก็น่าจะยาวนานไม่น้อยกว่าอดีตหากเราไม่ช่วยกันเร่งทำลายมันเสียในระยะเวลาอันสั้น ภายใต้นามของการพัฒนา อย่างไรก็ตามหากหันมาพิจารณาประวัติศาสตร์ร้อยปีเศษๆ ของการพัฒนาตามกระแสโลกตะวันตก และการพัฒนาของประเทศไทยไปพร้อมๆ กัน เราจะเห็นได้ว่าเป็นการพัฒนาที่เรียกกันจนกระทั่งชินชาว่าการพัฒนาแบบ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือ มือใครยาวสาวได้สาวเอา สาระสำคัญของมันก็คือ ประเทศ กลุ่มประเทศที่มีอำนาจอาศัยอำนาจทางการเมืองการทหารและเทคโนโลยีที่สูงกว่าเข้าไปยึดเอาประเทศเล็กประเทศน้อยเป็นเมืองขึ้นหรืออาณานิคม หลังจากนั้นก็ดำเนินการดูดซับเอาทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งแรงงาน แรงปัญญาของผู้คนของประเทศที่เป็นเมืองขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศเจ้าของเมืองขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เราเรียกกันว่า ลัทธิล่าเมืองขึ้น หรือลัทธิอาณานิคม (Colonialism) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สิ่งที่เคยเกิดกับพม่า ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น และที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือ สยามหรือประเทศไทยแม้จะไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกโดยตรง แต่เราได้สูญเสียทรัพยากรไม้สักให้กับบริษัทของประเทศอังกฤษไปเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จะประเมินค่าได้ หลังสงครามโลกครั้งที่สองเงื่อนไขของการเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป การครอบงำเพื่อใช้ทรัพยากรของประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่เข้มข้นและแนบเนียนมากขึ้น ภายใต้คำขวัญของ การค้าเสรี หรือระบบเศรษฐกิจแบบเสรีแต่ภายใต้กติกาที่ดูราวกับเสรีนี้ ผู้ที่มีทุนสูง เทคโนโลยีสูง มีระบบข้อมูลข่าวสารที่ ดีกว่า มีอิทธิพลต่อกลไกขององค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางการเมืองและกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือ องค์กรทางการเงิน เช่น ธนาคารโลก (World BanK) และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) เป็นเครื่องมือสร้างและธำรงไว้ซึ่งความได้เปรียบในเชิงการใช้ทรัพยากรของโลกหรือของประเทศต่างๆ แม้กระทั่งสงครามระหว่างประเทศก็เป็นเครื่องมืออของการสร้างการเติบโตให้กับกลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ทั้งในด้านการเข้าไปจัดการประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศอื่นๆ เช่น กรณีการควบคุมอุตสาหกรรมน้ำมันในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ของประเทศตะวันตก นำไปสู่การรวมตัวของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) ในทศวรรษที่ 1970 ต่อ 1980 และล่าสุดสงครามระหว่างอิรัคกับสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรเมื่อ พ.ศ.2534 เป็นต้น | |
สงครามนอกจากจะเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจในการเข้าไปตักตวงผลประโยชน์จาก |
|
ทรัพยากรของประเทศเล็กๆ แล้วสงครามยังหมายถึงการเติบโตและการดำรงอยู่ของอุตสาหกรรมผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่เมื่อสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงก็ดี สงครามเย็นหรือการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรกับอดีตสหภาพโซเวียตจบสิ้นลงด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตก็ดี มีผลทำให้การสะสมอาวุธหมดความจำเป็นลงเป็นลำดับ ดังนั้นอุตสาหกรรมของประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกซึ่งหลายอย่างมีส่วนสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกจากอุตสาหกรรมอาวุธ และยุทโธปกรณ์ต่างๆ ต้องปิดกิจการเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และท้ายสุดเยอรมันนี ซึ่งมีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ดูว่าแข็งที่สุดในโลก ก็เริ่มประสบกับปัญหา | |
ในกรณีของประเทศไทยในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา เรามีความรู้สึกกันว่าทุนของต่างชาติ เช่นกลุ่มโลก |
|
ตะวันตก กลุ่มชาติในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ใต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี เป็นต้น ได้ระบาดข้ามพรมแดนเข้ามาตักตวงผลประโยชน์นานาชนิดและรูปแบบในประเทศไทย รวมทั้งการเข้ามาใช้ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าของเรา เช่น ระบบเกษตรครบวงจร (contact farming) ที่ทุนต่างประเทศเข้ามาใช้ทั้งที่ดิน น้ำ แรงงานของไทยเพื่อปลูกพืชผลต่างๆ แต่ผลกำไรตกอยู่กับทุนต่างชาติ การทำนากุ้งกุลาดำก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอีกตัวอย่างหนึ่ง ระบบสวนป่าก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้มีการเตรียมการและบรรจุเข้าในแผนแม่บทป่าไม้ของประเทศไทยแล้วเช่นกัน เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่กำลังตามมา สำหรับทุนของประเทศไทยเอง เมื่อไม่นานแข่งขันกับทุนต่างชาติได้ ก็จะหันไปขูดรีดตักตวงทรัพยากรจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรณีการเข้าไปทำไม้ในพม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น | |
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า เส้นพรมแดน ระหว่างประเทศที่กำหนดกันไว้ในแผนที่หรือในพื้นที่จริงไม่มี |
|
ความหมาย อธิปไตยของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนาไม่มีความหมาย ในทางปฏิบัติ และท้ายสุดแล้วการแตกสลายของอธิปไตยในการควบคุมจัดการทรัพยากรของแต่ละประเทศย่อมหมายความถึงการแตกสลาย สูญหาย ลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพนั่นเอง | |
ห้า การละทิ้งภูมิปัญญาและเทคโนโลยีดั้งเดิม |
|
การพัฒนากระแสที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นแนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์และวิถี | |
ชีวิต ตลอดจนวิธีคิดหรือภูมิปัญญาของตะวันตกโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และการประยุกต์วิทยาศาสตร์มารับใช้มนุษย์หรือเทคโนโลยีนั่นเอง ตามจริงแล้ววิทยาศาสตร์ในตัวของมันเองอาจไม่ใช่ผลผลิตของภูมิปัญญาตะวันตกอย่างสิ้นเชิงแต่เพียงฝ่ายเดียว หลายความคิด หลายสิ่งประดิษฐ์มีรากเหง้ามาจากตะวันออกด้วยซ้ำไป เช่น หลักการเรื่องลูกสูบกับกระบอกสูบอันเป็นหัวใจสำคัญของเครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดภายใน (internal combustion engine) อาจมาจากกระบอกสูบลมของช่างหลอมโลหะตีโลหะจากเอเชีย เช่นเดียวกับเข็มทิศ ดินปืนและกระจกนูน (lenses) เป็นต้น (Harris,1971:454-56) เมื่อตะวันตกสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์มาสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งอาวุธการทหาร จึงได้ขยายอิทธิพลออกไปครอบงำประเทศอื่นๆ ในส่วนต่างๆ ของโลกในรูปของลัทธิดังกล่าวแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมโดยตรง (เช่นประเทศไทย) ก็ดี ต่างก็พากันหันมารับเอาแนวคิด แนวทางตลอดจนวิธีการพัฒนาประเทศตะวันตกมาใช้ ด้วยการช่วยเหลือ ส่งเสริม และแนะนำจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกโดยหวังว่าจะสามารถ้ำาวทันประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น บ้างก็คิดว่าเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเบี้ยล่างเขาตลอดไป ประเทศต่างๆ เหล่านี้ต่างก็พากันละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนเอง แล้วหันเข้ายึดกุมภูมิปัญญาตะวันตกเป็นสรณะ | |
ประเทศไทย (สยามในยุคนั้น) ก็ถูกดึงเข้าสู่กระแสการพัฒนาแนวตะวันตกมาตั้งแต่รัชสมัย |
|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จริงอยู่โดยทั่วไปเราเรียกการเปลี่ยนแปลงประเทศสยามที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้น ว่าเป็นการ ปฏิรูปสังคม บ้าง เป็นการ ปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน บ้าง แต่เมื่อพิจารณาในเชิงการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรใหม่ตามระบบตะวันตก ที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของป่าเขตร้อน (tropical forest) อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น | |
การจัดการป่าก็เริ่มขึ้นอย่างเป็นระบบตามระบบของอังกฤษ ซึ่งยากที่จะปฏิเสธได้ว่าเป็นการ |
|
จัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อไม้ที่มีค่าในทางเศรษฐกิจ (ขายได้ราคา) เป็นเป้าหมายหลัก และในยุคนั้นไม้สักคือหัวใจขอการจัดการป่า หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการจัดการไม้ไม่ใช่การจัดการป่านั่นเอง ด้วยเหตุนี้ในด้านเทคนิคการ บำรุงป่า ของการจัดการแบบนี้ จึงต้องคอยระมัดระวังดูแลต้นไม้ที่มีราคาเป็นเงินสูงมากเป็นพิเศษ มีการจ้างคนงานถากถางบริเวณโคนต้นไม้ให้โล่งเตียน ต้นใดมีเถาวัลย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติขึ้นเลื้อยเกี่ยวพันก็ให้ตัดฟันเถาไม้เลี้อยทิ้งเสียเป็นต้น โดยไม่คิดว่าเถาวัลย์และไม้ชั้นล่างคลุมดินชนิดต่างๆ มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคนิคการจัดการป่าของไทยที่รับมาจากตะวันตกนั้น เป็นการจัดการเพื่อเงินตราเป็นส่วนใหญ่มาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนการดูแลรักษาป่าไม้ให้ยืนยงอยู่ตามธรรมชาติเพื่อรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่งจะเริ่มมีการพูดถึงขึ้นบ้างในช่วงปัจจุบันนี้เอง | |
ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องของการจัดการป่านั้น หน่วยงานของรัฐไม่เคยเชื่อว่ามี หรืออาจมีแต่ |
|
ก็ถือว่าใช้ไม่ได้เป็นระบบ จากการศึกษาโดยนักวิชาการที่อยู่นอกกรอบแนวคิดกระแสหลักของการจัดการป่าเพื่อไม้ในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาสามารถยืนยันได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้นเป็นลำดับพร้อมทั้งตัวอย่างความสำเร็จของการจัดการป่าของชาวบ้านกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย นับจำนวนเป็นพันๆ ป่า และมีตัวเลขมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาระสำคัญของการจัดการป่าของชาวบ้าน คือ การจัดการป่าทั้งป่า เพื่อประโยชน์ที่มีลักษณะเป็นเอนกประสงค์ นับตั้งแต่ป่าในฐานะเป็นต้นน้ำลำธารเพื่อการทำไร่ ทำนา อุปโภค บริโภค จับสัตว์น้ำ และเก็บพืชน้ำหรือพืชที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำเป็นอาหาร ป่าในฐานะที่เป็นดินเพื่อการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ ป่าในฐานะเป็นแหล่งที่มาของยารักษาโรคและอาหารป่าในฐานะที่เป็นที่มาของวัสดุเพื่อก่อสร้างบ้านเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ และหัตถกรรมต่างๆ ป่าในฐานะของเชื้อเพลิงเพื่อหุงต้มและให้ความอบอุ่น ป่าในฐานะเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ป่าในฐานะของแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติวิทยา และที่สำคัญที่สุดซึ่งไม่ปรากฏในการจัดการป่าของรัฐ คือ ป่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่แห่งการสืบทอดอุดมการและความเชื่อ เป็นสถานที่ที่ธรรมชาติ อำนาจศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ และมนุษย์ธำรงรักษาไว้และสืบทอดปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรและมีดุลยภาพต่อกันและกันให้ยืนยาวต่อไป ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงมีระบบการจัดการป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ คือมีวัตถุประสงค์ การใช้ที่ชัดเจน มีกฎมีระเบียบที่ออกมาอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง มีองค์กรที่คอยดูแลรักษาป่าและผู้คนให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่ได้ตกลงร่วมกันไว้เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ผืนป่านับพันๆ ป่าเหล่านี้ ซึ่งต่อมาเราเรียกว่า ป่าชุมชน จึงสามารถอยู่รอดได้ปลอดภัยได้จนบัดนี้ ป่าชุมชนบางแห่งมีอายุนับร้อยๆ ปีด้วยซ้ำไป | |
นอกเหนือจากเรื่องป่า ซึ่งในกรณีของประเทศไทยเรามิใช่ป่าธรรมดาแต่เป็นป่าเขตร้อน (tropical |
|
forest) ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมีความสำคัญต่อการดำรงคงอยู่ต่อไปของโลก ของพืช สัตว์ และมวลมนุษย์ชาติทั้งปวง ตัวอย่างของการพัฒนาที่แท้จริงแล้วไม่ใช่การพัฒนาหากเป็นหารทำลายทั้งทรัพยากรและภูมิปัญญาไทย กับทั้งยังไม่เป็นการพัฒนาที่สร้างความเป็นธรรมและไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืนมีอีกมากแต่เนื่องด้วยข้อจำกัดในด้านเนื้อที่และเวลา จึงยังไม่นำมากล่าวในที่นี้ จะนำเสนอการขยายความในเรื่องของการพัฒนา ปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของคนไทย คือการเกษตรกรรม การประมง และการแพทย์ เป็นต้น | |
หก ชุมชนชนบท ซึ่งเป็นรากฐานของสังคมทุกๆ สังคมไม่ว่าสังคมอุตสหกรรมหรือสังคมเกษตร หรือ |
|
สังคมที่ถูกจัดว่ากำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ตามความหมายเดิมที่ใช้กันอยู่ชุมชนชนบทเหล่านี้ กำลังประสบกับภาวะวิกฤตทั้งๆ ที่หากพิจารณากันให้ลึกซึ้งแล้ว ชุมชนคือชุมชนที่เคยทำบทบาทที่เป็นคุณูปการต่อมนุษยชาติมาโดยตลอด กล่าวคือเป็นชุมชนที่ทำการผลิตธัญญาหารเลี้ยงดูมนุษย์ทุกหนแห่ง เป็นส่วนของสังคมที่ไม่เคยผลิตปัจจัยที่เป็นเครื่องมือที่มีอำนาจและบทบาทในการทำลายชีวิตและสิ่งแวดล้อม ไม่เคยผลิตอาวุธหรือเทคโนโลยีที่มีผลในการทำลายล้างเลย ตรงกันข้ามกลับเป็นส่วนของสังคมที่ทำหน้าที่ เลี้ยงดู (nurturing) มวลมนุษยชาติ บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ และเป็นชุมชนที่ผู้คนยังปฏิบัติต่อกัน และกันในฐานะที่เป็นคนที่เท่าเทียมกัน ผลของการพัฒนาของโลกและ ของประเทศไทยเราได้ทำลายชุมชนลงไปในทุก ๆ ด้าน โดยมีสมมติฐานที่เป็นอวิชชาว่า ชนบทด้อยพัฒนา ฉะนั้นเราต้องพัฒนาชนบท คือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหรือระบบคิดของชนบทให้เป็นระบบคิดที่มี ทุนนิยม เป็นปริญญาเบื้องหลัก ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็นชุมชนชนบทล่มสลายทั้งทางกายภาพ กล่าวคือการสูญเสียที่ดินทำมาหากิน การใช้ที่ดินและทรัพยากรต่างๆ อย่างขาดการอนุรักษ์และไม่มีถาวรภาพ ดินเสีย น้ำเสื่อม ป่าโทรม สัตว์หายเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทั่วไป ในด้านจิตภาพ หรือจิตวิญญาณของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องเหลวไหลงมงายล้าหลังไม่ทันสมัยชีวิตของผู้คนซึ่งเคยพึ่งพาอาศัย ต่อกันในรูปของการ ลงแขก เอามื้อเอาวัน เป็นต้น ก็กลายเป็นสังคมที่ตัวใครตัวมัน นาใครนามัน เรือนใครเรือนมัน ลูกใครลูกมัน ฉะนั้น ลูกของฉัน...ฉัน จะขายคนอื่นอย่ายุ่ง จึงเป็นสิ่งที่ชาวไทยไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ในเมืองที่อ้างว่าเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาและผู้คนมีเมตตาธรรม จึงได้เกิดขึ้นมาแล้ว และได้กลายเป็นวิกฤตทางวัฒนธรรมของชาติคือ สาธารณชนคนส่วนใหญ่เห็นเรื่องนี้เป็นของธรรมดา และที่อุกฤตที่สุดก็คือ รัฐและกลไกของรัฐให้การสนับสนุนทางอ้อม โดยการวางเฉยต่อปัญหาจนกระทั่งถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีการขายบริการทางเพศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ และที่สุดก็คือเข้าไปมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง | |
![]() |
![]() |
ยุทธวิธีของการพัฒนาเป็นการแยกแยะวิถีชีวิตของคนออกเป็นส่วนๆ | BACK | คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ | ![]() |