http://www.tungsong.com


ประวัติศาสตร์   |    โบราณสถาน,วัตถุ  |   ศาสนา,ความเชื่อ  |   ภูมิศาสตร์   |   ชาติพันธุ์ วรรณกรรม  |   วัฒนธรรมประเพณี  |    อื่นๆ

ถ้ำตลอด | วัดไตรวิทยาคม | วัดถ้ำใหญ่ | แหล่งโบราณคดีถ้ำช้างเขาสำโรง (วัดสำโรง) | แหล่งโบราณคดีเขาเทียมป่า
 แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาพลู | ถ้ำไม่มีชื่อใกล้ถ้ำแรด

 
ถ้ำไม่มีชื่อใกล้ถ้ำแรด
 
ที่ตั้ง

หมู่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ

วันที่ 10 สิงหาคม 2536 พระจำนง เขมจาโร นายไสว ชัยรักษา และนายอุทิศ ศิริษา ได้แจ้งหน่วยศิลปากรที่ 8 ว่าได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก บริเวณถ้ำใกล้สำนักปฏิบัติธรรมสวนป่าเวฬุวัดถ้ำแรด หน่วยศิลปากรที่ 8 จึงมอบหมายให้นางสาวเตือนจิตร นิติยารมย์ เจ้าหน้าที่ธุรการ 4 นายธีรพงศ์ ลิมปนานนท์ ช่างโยธา 4 นายสำราญ จุลนวล คนงาน นางสุดาพร มณีรัตน์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ 1 และนายชุม ศรีจำรัส พนักงานขับรถยนต์ เดินทางไปตรวจสอบเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2536

สภาพของแหล่งเป็นภูเขาลูกขนาดย่อม มีคลองโสมไหลผ่านด้านทิศเหนือ และห่างจากถ้ำตลอดประมาณ 3 กิโลเมตร พระจำนง เขมจาโรเล่าว่า เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม นายอภิเชษฐ์ จันทร์ประดิษฐ์ เด็กวัดที่อยู่ในสำนักปฏิบัติธรรมได้ไปวิ่งเล่นบนน้ำ พบในบริเวณปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อขึ้นมาดูก็พบภาชนะดินเผาอีก 1 ใบ และเศษภาชนะดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง จึงแจ้งให้หน่วยศิลปากรที่ 8 ทราบ

จากนั้นคณะสำรวจจึงเข้าไปตรวจสอบถ้ำดังกล่าว และต้องปีนบันไดไม้เล็กๆ จากหน้าผาด้านทิศตะวันตกประมาณ 48 ขั้น และปีนต่อไปอีกทางด้านตะวันออก ก็จะถึงถ้ำโดยตัวถ้ำจะอยู่ห่างจากถ้ำแรดมาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร จากการสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาบริเวณพื้นถ้ำและตามซอกหินเล็กน้อย

สิ่งสำคัญ

1. ถ้วยดินเผาก้นตัดตกแต่งด้วยลายเชือกทาบสูง 9.05 เซนติเมตร ปากกว้าง 15 เซนติเมตร ขอบปากหนา 0.25 เซนติเมตร ก้นกว้าง 7.05 เซนติเมตร

2. หม้อดินเผาก้นกลม สูง 30 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ปากกว้าง 14 เซนติเมตร

3. เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ

4. เปลือกหอย

การกำหนดอายุสมัย

ก่อนประวัติศาสตร์

การประกาศขึ้นทะเบียน

พ.ศ.2536  หน่วยศิลปากรที่ 8 ดำเนินการสำรวจ