http://www.tungsong.com


ประวัติศาสตร์   |    โบราณสถาน,วัตถุ  |   ศาสนา,ความเชื่อ  |   ภูมิศาสตร์   |   ชาติพันธุ์ วรรณกรรม  |   วัฒนธรรมประเพณี  |    อื่นๆ

เพลงทุ่งสงรำลึก  |  อาหารของชาวทุ่งสง

เมื่อปี พ.ศ. 2504 สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่ง  ได้นำวงดนตรีมาแสดงที่ทุ่งสง หลังประสบอัคคีภัยครั้งใหญ่ในปีพ..2500  ในการแสดงวงดนตรีไทยในยุคนั้นเปิดแสดงในโรงภาพยนตร์ (วิกหนัง)  การเดินทางของวงดนตรีจะเดินทางโดยทางรถไฟเท่านั้น  ครั้งหนึ่งๆ แสดงติดต่อกันประมาณ 5-6 วัน หรืออาจมากกว่าน้อยกว่านี้สุดแท้แต่จะได้รับการต้อนรับและอยู่ในความนิยมของแฟนเพลงมากน้อยแค่ไหน  ในคราวนั้นวงดนตรีของสุรพลเข้าพักที่โรงเรียนเอเชีย (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว)  ใช้เวลาการแสดงติดต่อกัน 5-6 วัน ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี เมื่อพักอยู่หลายวัน มีโอกาสรู้จักมักคุ้นกับนักดนตรีในถิ่น  เพราะในทุ่งสงสมัยนั้นมีวงดนตรีคณะหนึ่งคือวง ยูเอ็ม คาลิปโซ”  โดยมีครูจำนงค์  หอสุชาติ ครูสอนดนตรี โรงเรียนทุ่งสง เป็นหัวหน้าวง และมีนักร้อง  นักดนตรีอื่นๆ อีกหลายคน ได้แก่  ครูจรูญ  เมืองไทย เป็นนักดนตรี  นายอนันต์ เคอาร์  เป็นนักร้อง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า นายแววนายแววจะใช้ชื่อนักร้องว่า อัจจิบาบา

เมื่อสุรพล สมบัติเจริญ  ได้พบปะพูดคุยกับนักดนตรีเจ้าถิ่น ก็ชอบพอ ถูกอัธยาศัยกันอย่างรวดเร็ว  ตอนกลางวันซึ่งเว้นจากการแสดง  นักดนตรีเจ้าถิ่นก็จะเชิญชวนนักดนตรีและนักร้องของวงดนตรีสุรพล  ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น เที่ยวถ้ำ เที่ยวน้ำตกโยง และสถานที่ต่างๆ ตามที่เวลาจะอำนวย  จากการได้ไปเที่ยว ได้ชมธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร และน้ำตก ซึ่งสุรพล สมบัติเจริญ เกิดความประทับใจต่อธรรมชาติแวดล้อมที่สวยงามเป็นอย่างมากจึงได้แต่งเพลง ทุ่งสงรำลึกฝากไว้เป็นที่ระลึกกับหัวหน้าวงดนตรี ยูเอ็ม คาลิปโซวงนี้ ได้นำเพลงนี้ไปร้องในโอกาสต่างๆ โดยมอบให้นายแววหรืออัจจิบาบาเป็นผู้ร้อง  เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีนักดนตรี  นักร้องในวงต่างก็สูงวัยเข้าสู่วัยชรา  ประกอบกับวงดนตรียุคใหม่เข้ามาแทนที่  ในที่สุดวงดนตรี ยูเอ็ม คาลิปโซ ของทุ่งสงก็ปิดตัวเองลงโดยปริยาย และในช่วง 6-7 ปี ก่อนที่อาจารย์จรูญ เมืองไทยเสียชีวิต ได้ฟื้นฟูเพลงนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงมักได้ยินเพลงนี้อยู่บ่อยๆ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ ในงานสมรส และงานอื่นๆ จนทุกวันนี้

 

เพลงทุ่งสงรำลึก

    โอ้ทุ่งสงแดนนี้นี่เอย

   จะไม่ขอลืมเลย 

 ดินแดนที่เคยสุขสันต์

มองทางไหนล้วนชวนให้ฝัน 

ดังเป็นแดนสวรรค์

ที่สวยประเสริฐเพริดแพร้ว

โอ้เป็นบุญแล้วที่ได้มา  

จะไม่ขอลืมว่า 

  แดนนี้มีมนต์แม่นแล้ว

มองทิวเขาเป็นเนินป่าแนว    

 ดังสวรรค์เมืองแก้ว

สมแล้วทุ่งสงถิ่นงาม

**เป็นเมืองฟูเฟื่องไปด้วยพืชผล

 อีกทั้งฝูงชนนั้นเล่า

 เลิศล้นด้วยคุณธรรม

สมแล้วนี่หนาที่ชื่อทุ่งสงถิ่นทองแดนงาม 

 เที่ยวมาจนทั่วเขตคาม

ไม่เคยเห็นงามที่ไหน

แม้นจากไปหัวใจให้เตือน 

จะไม่ขอลืมเลือน

จนแม้จะชีพสลาย

คงคะนึงคิดถึงทุ่งสงไม่วาย

 ถึงจากกันไปเพียงกาย

แต่ใจยังฝังไม่ลืม

 
 

วงดนตรียูเอ็ม คาลิปโซ

บันทึกจากคำสัมภาษณ์ของนายสมัคร เย็นในธรรม (20 สิงหาคม พ..2553)

 
งดนตรียูเอ็ม คาลิปโซจะเปิดการแสดงเฉพาะเมื่อได้รับเชิญให้ไปแสดงตามที่ต่างๆ การตั้งวงดนตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินช่วยเหลือสังคม ช่วงแรกเป็นการหาเงินเพื่อจัดหาเครื่องดนตรีก่อน จนเป็นวงใหญ่ในที่สุด นายสมัคร เย็นในธรรม  อยู่วงดนตรียูเอ็ม คาลิปโซ ทำหน้าที่เป็นวิทยากร เล่นดนตรี ร้องเพลง และเล่นจำอวด)