www.tungsong.com
                                   
เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ เกษตรกรรมก้าวหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
 
  • วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ แต่ละด้าน/สาขา

  • วิสัยทัศน์อำเภอเชียรใหญ่

      1.  พลเมืองใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นนิจ
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ เป็นเมืองที่ประชาชนให้ความสำคัญทางการศึกษามาก มีอัตราการเรียนต่อสูงโดยเฉลี่ยทุกระดับ ประกอบกับพื้นฐานเดิมทางวัฒนธรรมของคนเชียรใหญ่ มีภาวะเป็นผู้นำสูง ใฝ่ศึกษา เรียนรู้ ช่างคิด รักอิสระ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ ผู้อื่น เป็นตัวของตัวเองสูง จริงจัง ตรงไปตรงมา จนบางครั้งทำให้ขาดการยอมรับผู้อื่น

        เป้าหมาย พ.ศ. 2550 อำเภอเชียรใหญ่ต้องเป็นศูนย์กลางการศึกษา ศิลปวิทยาการโดยใช้การศึกษานำการพัฒนาสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีทักษะสามารถรับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่หลงวัตถุนิยม ใจกว้างรับฟังผู้อื่น สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เป็นนักจัดการที่ดี เคารพกฎกติกา ทำงานอย่างเป็นระบบและมีความพร้อมต่อการให้บริการผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

         แนวทาง
    1) ให้ประชาชนทุกประเภททุกระดับได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ
    2) มีการกระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่นต่อเนื่อง และตลอดชีวิต
    3) ยกระดับการศึกษา พัฒนาคุณภาพเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขสู่ระดับสากลโดยพื้นฐานวัฒนธรรมไทย
    4) ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข็มแข็งด้านวิชาการ และวิชาชีพ
    5) ให้ประชาชนทุกคน ทุกวัยได้รับการเรียนรู้นอกระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ท้องถิ่น
    6) จัดเครื่องมือเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ เวทีท้องถิ่น สถานศึกษา เสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างจริงจัง
    7) องค์การเอกชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น มีบทบาททางการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างเต็มศักยภาพ
    8) ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

      2. ร่วมสานกิจพัฒนารักษาถิ่น
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ มีประชากร จำนวน 46,070 คน พื้นที่ 227,116 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 10 แห่ง การพัฒนาท้องถิ่นมีลักษณะต่างคนต่างทำไม่ประสานสอดคล้องกันเท่าที่ควร

          เป้าหมาย พ.ศ. 2550 " พลเมืองชาวอำเภอเชียรใหญ่ " รวมตัวกันเป็นกลุ่มองค์กรประชาชนที่หลากหลาย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาและปกครอง การบริหารการจัดการขององค์กรปกครองท้องถิ่น มีศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการสูง โดยมีการประสานเชื่อมโยงกันทุกพื้นที่ทั้งอำเภอ

          แนวทาง
    1) เสริมสร้างสถาบันครอบครัว องค์กรชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เทศบาลให้เข้มแข็ง สามารถเชื่อมประสานร่วมงานกันได้ในระดับต่าง ๆ
    2)ส่งเสริมให้คนมีคุณธรรม มีวินัย มีจิตสำนึกในส่วนร่วม รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    3)ส่งเสริมพัฒนาแบบอย่าง ตัวอย่างที่ดี ทั้งระดับบุคคล องค์กรเพื่อการสร้างเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    4) สนับสนุนส่งเสริมการรวมตัวก่อตั้งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
    5) มีระบบการเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ยึดหลักประชาธิปไตยบนพื้นฐานของสังคม วัฒนธรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
    6) เสริมสร้างการบริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยท้องถิ่น โดยส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นให้มีการศึกษา อบรมบุคลากรส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาฯการพัฒนาด้านสังคม โครงสร้างพื้นฐานและอื่น ๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ลดการควบคุมจากส่วนกลาง
    7) ขยายบทบาทสถานศึกษาในการสนับสนุนช่วยเหลือดำเนินการและเชื่อมโยงองค์กรประชาชน

      3.  ชีวิตและคุณภาพทั้งแผ่นดิน
         ปัจจุบัน ภาคราชการแม้จะมีหน่วยงานจำนวนมาก แต่ศักยภาพยังมีอยู่จำกัด ไม่อาจดูแลได้อย่างทั่วถึง และภาคราชการที่เป็นวิชาการยังมีการทำงานเพื่อชุมชนน้อย องค์กรชุมชนมีอยู่จำนวนน้อย ขาดความเข็มแข็ง ภาคธุรกิจเองมีการรวมตัวกันยังไม่กว้างขวาง และ เข็มแข็งพอ ภาคการเมืองมีสภาวะผูกขาดสูง ขาดการเปรียบเทียบแข่งขัน ภาคสื่อมวลชนขาดการรวมตัวและพัฒนาระบบงานให้ทันสถานการณ์ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้สุขภาพของประชาชนยังอยู่ในระดับรู้จักดูแลตนเองได้ปานกลาง และประชาชนยังขาดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงปัญหายาเสพติดได้แพร่หลายสู่เยาวชนรุนแรงขึ้น เด็กและเยาวชนก็ยังอยู่ในภาวะยากลำบากถูกละเมิดสิทธิขึ้นพื้นฐาน และขาดการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม

        เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 ชาวอำเภอเชียรใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น มีสายใยผูกพัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสำนึกสาธารณะ

         แนวทาง
    1) พัฒนาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะของเด็กและเยาวชนให้ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน
    2) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดยาเสพติดอบายมุขมอมเมา โดยเน้นวิธีชุมชนบำบัด
    3) เสริมสร้างการพัฒนาจิตใจที่สมดุลย์โดยใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา
    4)เสริมสร้างสถาบันครอบครัว องค์กรชุมชน ตลอดจนองค์การ ประชาชนให้เข็มแข็งมีศักยภาพในกาพัฒนาคุณภาพชีวิต
    5) ส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้บุคคลชุมชนมีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
    6) ประสานงานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและชุมชน
    7) คืนอำนาจการตัดสินใจการจัดการทรัพยากร และงบประมาณต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนทั้งนี้ไม่เฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    8) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วนเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน

      4.  เป็นท้องถิ่นวัฒนธรรมค้ำสังคม
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ มีมรดกทางวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตที่ดีงาม และมีคุณค่ามากมาย แต่ถูกปล่อยปละละเลย ขาดการประสาน มีความขัดแย้ง วัฒนธรรมชุมชน ไม่เข็มแข็ง ยังไม่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาให้สังคมเข็มแข็ง บุคคลผู้มีจิตสำนึกสาธารณะที่ได้รวมตัวเป็นองค์กรชุมชน และเครือข่ายกันมีน้อยทั้งในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการนำมรดกทางวัฒนธรรมมาฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนก่อให้เกิดวัตถุนิยม บริโภคเข้า ครอบงำอยู่ในวิถีชีวิต
        เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 อำเภอเชียรใหญ่ต้องมีองค์กรหลายระดับหลากหลายอย่างชัดเจน มีการเชื่อมโยงเครือขายในท้องถิ่นและต่างท้องถิ่น ชุมชนมีความเกื้อกูล สร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพที่ดี ทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชน สังคมค่านิยมถือความถูกต้องดีงาน ตระหนึกถึงคุณภาพชีวิตและสังคม ทันโลกแต่ไม่ตามกระแสโลกที่ทำให้ต่ำและอ่อนแอทางวัฒนธรรม มีเครือข่ายสื่อมวลชน ฯลฯ และมรดีทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มศักยภาพ
        แนวทาง
    1) สร้างจิตสำนึก วิถีชีวิต คุณค่าศิลปะและวัฒนธรรม จารีตประเพณี ให้รู้สึกหวงแหน และรวมตัวเป็นองค์กรต่าง ๆ
    2) สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยและไท ความภาคภูมิใจ เพื่อเสริมพลังการพัฒนาสังคม
    3) ให้เกิดบรรยากาศ ค่านิยม การรวมตัวเป็นองค์กรต่าง ๆ ระบบ ครอบครัวอบอุ่นมีความสุข ชุมชนเข็มแข็ง เกื้อกูลสร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพที่ดี
    4) สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม ยกย่องคนดี
    5) ส่งเสริมคนที่มีจิตสำนึกสาธารณะให้รวมตัวก่อตั้งกลุ่มองค์กรและพัฒนาให้เข็มแข็ง
    6) มุ่งพัฒนาส่งเสริมเด็กและเยาวชนเป็นหลัก
    7) มีการเข็มงวด กวดขัน จริงจัง ให้ลด ละ เลิกการเล่นการพนัน และอบายมุข
    8) อนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนามรดีทางวัฒนธรรมของเมืองนคร

      5.  เศรษฐกิจยั่งยืนทุกท้องที่
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ เป็นอำเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจหลากหลายทั้งทาง เช่น การเกษตร การประมง อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก มีผลิตผลจากภาคเกษตรกรรมมากมายเหมาะในการพัฒนาอุตสาหกรรมจากการเกษตรมีอัตราการออมสูง และยังมีกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนหลายกลุ่ม ปัญหามีกระทบต่อเศรษฐกิจ คือโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในชนบทและขาดประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเพื่อการประกอบอาชีพ
         เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 เศรษฐกิจของอำเภอเชียรใหญ่ ต้องมีการเติมโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ความมั่นคงทางภาคเกษตรกรรม มีอุตสาหกรรมรองรับ โดยประชากรต้องมีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้นและมีการออมเพิ่มขึ้นในกลุ่มชุมชน
        แนวทาง
    1)ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งด้านการเงิน การคลัง เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการ
    2)ส่งเสริมการออมในทุกระดับ และส่งเสริมกิจกรรมให้ทั่วทุกเป้าหมายเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน
    3) สนับสนุนให้มีแผนหลักการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างครบ วงจร โดยเฉพาะยางพารา ไม้ผล ประมง รวมทั้งการศึกษาวิจัย และเพิ่มความรู้ทักษะให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดจนการส่งออกสอดคล้องกับกติการประชาคม
    4) จัดการแบ่งเขตการประมงน้ำจืด น้ำเค็มอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรประมง รวมทั้งส่งเสริมการร่วมทุนกับต่างประเทศ และปรับปรุงกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการร่วมทุนและการค้า
    5) ด้านการพาณิชยกรรมและบริการ ให้มีการตลาดกลางการเกษตรและตลาดล่วงหน้า ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการ
    6) ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานทางการ ท่องเที่ยว โดยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ชาวอำเภอเชียรใหญ่ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    7) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยจัดให้มีสาธารณสุขและสาธารณูปโภคให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
    8) พัฒนาส่งเสริมผลผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอให้เป็นที่รู้จักนิยมอย่างแพร่หลาย

      6. สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ดีเหมาะสม
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ มีพื้นที่เหมาะสมในการกสิกรรมและมีป่าพรุราบลุ่ม ปริมาณฝนตกแต่ละปีอยู่ในเกณฑ์สูง สภาพแวดล้อมถูกบุกรุกและทำลายโดยเฉพาะพื้นที่ป่าถูกทำลายเพื่อการเกษตร มีการใช้สารเคมีก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จนเสียความสมดุลย์ การกำจัดขยะมูลฝอยในเขตชุมชนยังขาดประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และยังขาดจิตสำนึกในการใช้และอนุรักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 อำเภอเชียรใหญ่ มีการอนุรักษณ์ทรัพยากรและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ และพลังงาน สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มีมาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกวิธีและเพียงพอ ตลอดจนการกำกับดูแลมลพิษต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ภายใต้แผนงานในด้านการสงวน รักษาฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
        แนวทาง
    1) สร้างมาตรการใหม่ ๆ ให้ชุมชนองค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรวิชาการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
    2) รณรงค์ให้การบังคับใช้กฎหมาย สิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างเคร่งคัด
    3) ระดับทรัพยากรภาครับและเอกชนเพื่อกอบกู้สภาพเสื่อมโทรมของ สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
    4) จัดให้มีระบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
    5) หามาตรการกำจัดขยะมูลฝอยที่ประหยัด และมีคุณภาพ สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่
    6) รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานแก่ทุกกลุ่มเป้าหมายให้ใช้อย่างมีคุณค่าและเหมาะสม
    7) จัดทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งในเขตภูเขา ที่ราบและชายฝั่งทะเล
    8) ให้ความสำคัญกับป่าพรุที่เป็นระบบนิเวศน์เฉพาะ

       7. สู่ศูนย์กลางภูมิภาคน่านิยม
         ปัจจุบัน อำเภอเชียรใหญ่ ตั้งอยู่ ณ จุดกึ่งกลางของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการผลิตด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานและเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ ด้านคมนาคมมีโครงการพัฒนาที่สำคัญอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต แต่ขาดการใช้ศักยภาพให้เต็มที่
         เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 อำเภอเชียรใหญ่ จะต้องเป็นศูนย์กลางด้านศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงด้านการท่องเที่ยว ผลิตอาหารบนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน การปศุสัตว์ ประมง พืชผลเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป ผลติภัณฑ์ทางการเกษตร
         แนวทาง
    1) สนับสนุนการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพ
    2) เน้นพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่นให้เข็มแข็ง
    3) ส่งเสริมการผลิตอาหารบนพื้นฐานเกษตรแบบยั่งยืนให้สามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งภูมิภาคและประเทศได้เหมือนในอดีต
    4) ส่งเสริมการอุตสาหกรรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
    5) ส่งเสริมให้มีระบบการค้าและการตลาดที่ปลอดสารพิษ
    6) พัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    7) พัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้เพียงพอ

       8. ประชาคมรวมพลังสร้างเมืองนคร
         ปัจจุบัน ประชาชนในพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ ความสนใจตื่นตัว มีการรวมตัวตั้งกลุ่มองค์กรตามสถานการณ์มากกว่าการต่อตั้งตามธรรมชาติ การประสารระหว่างองค์กรยังไม่เพียงพอ ขาดผู้นำที่เข็มแข็ง ขาดการสร้างสื่อเพื่อประชาสังคมและขาดการรวมพลังเป็นประชาคม
         เป้าหมาย ปี พ.ศ. 2550 ให้กลุ่มองค์กรประชาชน ประชาคมอำเภอ ตำบล หมู่บ้านที่เข็มแข็งมีจิตสำนึกสาธารณรักชุมชนท้องถิ่น ร่วมมือพัฒนาในทุก ๆ ด้าน บ้านเมืองเต็มไปด้วยบรรยากาศการประสานร่วมมือเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่
         แนวทาง
    1) สนับสนุนส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและร่วมก่อตั้งกลุ่มองค์กร ประชาคม อย่างหลายกหลายกว้างขวางทั่วถึงทุกภาค มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมาจาก พื้นฐานความต้องการของประชาชน
    2) รณรงค์เสริมสร้างจิตสำนึกรัก และภูมิใจในท้องถิ่นรักเมืองนคร ตลอดจนการเสริมการเรียนรู้ฟื้นฟู ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา
    3) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีสาธารณะของประชาชนอย่างอิสระในทุกระดับ ทุกพื้นที่ ลักษณะเวทีประชาคมในระดับอำเภอ ควรให้มีอย่างน้อยปีละครั้ง
    4) เสริมสร้างเครือข่ายและระบบการประสานงานเครือข่ายองค์กร และประชาคมที่เอื้อต่อการร่วมมือร่วมพลังการพัฒนาอย่างจริงจัง
    5) ส่งเสริมสนับสนุนและยอมรับบทบาทสตรี ในการมีส่วนร่วมการพัฒนาทุกระดับ


    Home