www.tungsong.com
                                   
เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ เกษตรกรรมก้าวหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
ทิศทางการพัฒนาอำเภอ

  • ด้านเกษตรกรรม
  • "นครแห่งการเรียนรู้ เป็นเมืองน่าอยู่สู่สังคมพัฒนายั่งยืน" การพัฒนาหลัก 8 ทิศทาง คือ
    1.  พลเมืองใฝ่เรียนรู้อยู่เป็นนิจ
    2.  ร่วมสานกิจพัฒนารักษาถิ่น
    3.  ชีวิตมีคุณภาพทั่วแผ่นดิน
    4.  เป็นท้องถิ่นวัฒนธรรมค้ำสังคม
    5.  เศรษฐกิจยั่งยืนทุกท้องที่
    6.  สิ่งแวดล้อมสมดุลย์ดีอย่างเหมาะสม
    7.  สู่ศินย์กลางภูมิภภาคน่านิยม
    8.  ประชาคมรวมพลังสร้างนคร

  • นโยบายของจังหวัด
  • 1.  พัฒนาระบบการผลิตและการตลาดให้เป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมที่ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานของภาคใต้
    2.  ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองหลักทางอุตสาหกรรมทั่วไปในเขตชายฝั่งทะเลภาคใต้
    3.  พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับขึ้นสู่สภาพที่เป็นแนวหน้าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้
    4.  ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศูนย์กลางศาสนา วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ทางธรรมชาติของ         ประเทศ

  • นโยบายเร่งรัด ปี พ.ศ. 2542 - 2543
  • 1.  เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
    2.  เร่งรัดขจัดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    3.  เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
    4.  เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
    5.  เร่งรัดการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    6.  เร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
    7.  เร่งรัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    8.  เร่งรัดและสานต่อโครงการต่อเนื่อง

  • นโยบายนายอำเภอ
  • 1.  เร่งรัดพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน, สะพาน, ท่อเหลี่ยม, คสล, แหล่งน้ำและระบบประปา)
    2.  เร่งรัดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต (พัฒนาการอยู่ดี กินดี ของประชาชนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ในการประกอบอาชีพ ด้านเกษตรกรรม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งสุขภาพอนามัย)
    3.  เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (สร้างสังคมให้น่าอยู่ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การอำนวยความยุติธรรม และการสอบสวนคดีอาญา)
    4.  เร่งรัดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างมาตรฐานให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม รวมทั้งปฏิบัติตนตามโครงการปลูกป่าตามพระราชเสาวนีย์ฯ
    5.  สนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเมื่องมาจากพระราชดำริ
    6.  กำกับ ดูแล การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินงานที่สนองตอบต่อปัญหาความต้องการของประชาชน

    Home