http://www.tungsong.com



( Refuse or Solid Wastes )


[ คำนำ ] [ ความหมาย ] [ ประเภทของขยะมูลฝอย ] [ แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย ]
[ องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขยะมูลฝอย ] [ ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทย ] [ ของเสียอันตราย ]
[ ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม ] [ ปัญหาจากสภาพสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย ] [ การกำจัดขยะมูลฝอย ] [ แนวทางการแก้ไขปัญหา ]
[ การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ] [ ขยะมูลฝอยในเขตเมือง ]
 
การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่

         การใช้ ประโยชน์จากขยะหรือมูลฝอย จะช่วยลดปริมาณขยะหรือมูลฝอย ที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

        1. การคัดแยกของเสียจากแหล่งกำเนิดมาหมุนเวียนใช้ใหม่
        การคัดแยกของเสียจากแหล่งกำเนิด คือของเสียจากอาคารบ้านเรือนที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขวด กระดาษ พลาสติก ยาง โลหะ ฯลฯ ซึ่งจะนำของเสียดังกล่าวไปขายต่อ ๆ ไปจนถึงโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าได้

        2. การนำมูลฝอยหรือของเสียมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน
        ของเสียมีสารประกอบจำนวนมากที่สามารถเปลี่ยนเป็นผลผลิตทางพลังงาน โดยขบวนการเผาไหม้จากมูลฝอยสามารถใช้ประโยชน์ในด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรม ทั้งสามารถเก็บเป็นพลังงานได้อีก

        3. การนำกากของเสียไปเป็นอาหารสัตว์และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
        กากของเสียชนิดมูลฝอยสดมีคุณค่าทางอาหารสัตว์และพืช จากผลการศึกษาพบว่ามูลฝอยสดประเภทอาหารจำนวน 2.5 – 3 กิโลกรัม มีคุณค่าเทียบเท่าข้าวบาเลย์คุณภาพดี จำนวน 1 กิโลกรัม สามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ และขยะหรือของเสียยังผลิตเป็นโปรตีน โดยเทคโนโลยีใหม่ เรียกว่า ไบโอเวสเทค ( Biowastech ) หมายถึง การแปรรูปขยะโดยชีววิธี สามารถเปลี่ยนขยะหรือกากของเสียทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากบ้านเรือนให้เป็นผลิคภัณฑ์ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้สามารถใช้มูลฝอยสดเป็นประโยชน์ทางการเกษตร คือ ใช้เป็นอาหารของพืชได้ เพราะมูลฝอยสดมีคาร์บอนและไนโตรเจนสูง มูลฝอยสดยังมีคุณสมบัติปรับดินให้ร่วนซุยด้วย ทั้งนี้การนำกากของเสียไปเป็นอาหารสัตว์ และพืชจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของเสีย บดอัด และฆ่าเชื้อโรคในกากของเสียก่อน เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสัตว์และพืช และให้ได้ประโยชน์จากอาหารในกากของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

        4. การนำมูลฝอยมาหมักทำปุ๋ย
        การหมักทำปุ๋ยเป็นขบวนการทางชีวเคมีที่เปลี่ยนแปลงหรือย่อยสลายสารอินทรีย์ในของเสีย เพื่อได้ปุ๋ยเป็นอาหารของพืช หรือใช้ดินกลบฝังมูลฝอยในขบวนการฝังกลบมูลฝอย กากของเสียหรือมูลฝอยที่ เหมาะสมสำหรับการหมักปุ๋ย ได้แก่ มูลฝอยสด พืช ผัก ผลไม้ กระดาษ เป็นต้น

        5. การนำขยะหรือมูลฝอยมาแปรสภาพให้เป็นวัตถุก่อสร้าง
        ในประเทศญี่ปุ่นมีโรงงานอัดขยะหรือของเสียให้เป็นแท่ง แท่งขยะที่ได้นำไปชุบยางและแอสฟัลด์หรือเทคอนกรีต จากนั้นนำไปใช้ในการก่อสร้างแทนอิฐ หรือคอนกรีตบล็อก

        6. การนำกากของเสียมาปรับปรุงพื้นที่
        กากของเสียสามารถนำไปใช้ปรับปรุงพื้นที่ โดยถมพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อพื้นที่ที่ต้องการยกระดับความสูง เมื่อถมกากของเสียในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว สามารถนำพื้นที่นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ เช่น ปลูกพืช สร้างอาคาร สร้างสวนสาธารณะ เป็นต้น

แนวทางการแก้ไขปัญหา back ขยะมูลฝอยในเมือง