http://www.tungsong.com



( Refuse or Solid Wastes )


[ คำนำ ] [ ความหมาย ] [ ประเภทของขยะมูลฝอย ] [ แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย ]
[ องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขยะมูลฝอย ] [ ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทย ] [ ของเสียอันตราย ]
[ ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม ] [ ปัญหาจากสภาพสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย ] [ การกำจัดขยะมูลฝอย ] [ แนวทางการแก้ไขปัญหา ]
[ การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ] [ ขยะมูลฝอยในเขตเมือง ]
 
แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย

         แหล่งชุมชน กิจกรรมอุตสาหกรรม และกิจกรรมเกษตร จัดได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอยที่สำคัญ เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นขยะมูลฝอยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ประกอบกับมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งทำให้มีขยะมูลฝอยใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ขยะมูลฝอยเหล่านี้มีทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปและของเสียอันตราย แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน

แหล่งกำเนิดและประเภทขยะมูลฝอยจากกิจกรรมต่าง ๆ



ตารางแสดงของเสียอันตรายแต่ละประเภท

ประเภทของเสีย

ปริมาณของเสียอันตราย ตัน / ปี

พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2539

พ.ศ. 2544

น้ำมัน ( Oils )

217,159

332,779

589,508

สารอินทรีย์ตกค้างที่เป็นของเหลว
( Liquid Organic Residues )

353

522

876

กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์
( Organic Sludges & Solids )

7,729

11,951

21,533

กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอนินทรีย์
( Inorganic Sludges & Soilds )

21,702

31,858

53,606

กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารโลหะหนัก
( Heavy Metal Sludges & Solids )

618,371

946,565

1,658,192

ตัวทำลาย ( Solvents )

422,237

66,532

124,306

ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด ( Acid Wastes )

35,904

53,793

46,105

ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ( Alkaline Wastes )

11,241

16,846

29,019

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ( Off Spec Products )

30

52

107

สาร พี ซี บี ( P C B )

*

*

*

สารอินทรีย์ตกค้างที่ละลายน้ำ ( Aqueous Organic Residues )

293

499

1,037

ของเสียจากกิจกรรมถ่ายภาพ ( Photo Wastes )

19,158

30,398

57,809

ของเสียจากชุมชน ( Municipal Wastes )

13,248

19,090

31,093

ของเสียติดเชื้อ ( Infection Wastes )

85,506

123,219

200,699

รวม

1,072,931

1,634,104

2,813,980

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2535

แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย

ขยะเป็นสิ่งที่เหลือใช้ หรือสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป สามารถแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้ดังนี้

    1. ของเสียจากอุตสาหกรรม ของเสียอันตรายทั่วประเทศไทย 73 % มาจากระบบอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการที่เหมาะสมโดยทิ้งกระจายอยู่ตามสิ่งแวดล้อมและทิ้งร่วมกับมูลฝอย รัฐบาลได้ ก่อตั้งศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมขึ้นแห่งแรกที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ 2531 ซึ่งก็เพียงสามารถกำจัดของเสียได้บางส่วน
    2. ของเสียจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย ของเสียจากโรงพยาบาลเป็นของเสียอันตรายอย่างยิ่ง เช่น ขยะติดเชื้อ เศษอวัยวะจากผู้ป่วย และการรักษาพยาบาล รวมทั้งของเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สารเคมี ได้ทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมโดยปะปนกับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสารอันตราย
    3. ของเสียจากภาคเกษตรกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย มูลสัตว์ น้ำทิ้งจากการทำปศุสัตว์ ฯลฯ
    4. ของเสียจากบ้านเรือนแหล่งชุมชน เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ แก้ว เศษอาหาร พลาสติก โลหะ หินไม้ กระเบื้อง หนัง ยาง ฯลฯ
    5. ของเสียจากสถานประกอบการในเมือง เช่น ภัตตาคาร ตลาดสด วัด สถานเริงรมย์

ประเภทของขยะมูลฝอย back องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขยะมูลฝอย