http://www.tungsong.com



( Refuse or Solid Wastes )


[ คำนำ ] [ ความหมาย ] [ ประเภทของขยะมูลฝอย ] [ แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย ]
[ องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขยะมูลฝอย ] [ ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทย ] [ ของเสียอันตราย ]
[ ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม ] [ ปัญหาจากสภาพสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย ] [ การกำจัดขยะมูลฝอย ] [ แนวทางการแก้ไขปัญหา ]
[ การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ] [ ขยะมูลฝอยในเขตเมือง ]
 
แนวทางการแก้ไขปัญหา

         1. เร่งรัด ให้ท้องถิ่น เทศบาล สุขาภิบาล ทุกแห่ง ทำแผนการจัดการขยะมูลฝอย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนส่ง การบำบัด และการกำจัดขั้นสุดท้าย ตลอดจนการเร่งจัดหาที่ดินสำหรับใช้กำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างเพียงพอในระยะยาว และดำเนินการให้มีการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ

        2. เร่งรัด ให้มีการก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค และเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ

        3. ควรมีนโยบายและมาตรการ ตลอดจนแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของประเทศเพื่อเป็นกรอบให้ท้องถิ่นนำไปดำเนินการ

        4. ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการลดปริมาณขยะมูลฝอย ที่ต้องเป็นภาระในการกำจัด

         - การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน ( Increased product lifetime ) เป็นการพยายามเลือกใช้สินค้าที่มีความคงทนถาวร มีอายุการใช้งานนาน หากชำรุดแล้วควรมีการซ่อมแซมให้ใช้งานได้นานที่สุดก่อนที่จะทิ้งไป

         - ลดการบริโภค ( Decreased consumption ) วัสดุที่กำจัดยาก หรือมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

        1. ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ <
br>        การนำทรัพยากรจากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ( Material recovery ) และนำมาผลิตเป็น พลังงานเป็นพลังงาน ( Energy recovery ) เป็นการนำขยะมูลฝอยที่มีทรัพยากรหลายอย่างมาผ่านกระบวนการ ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำมาทำปุ๋ย นำมาเผาเพื่อให้ได้พลังงานความร้อน

        2. สนับสนุน ให้มีการปลูกฝังทัศนคติ และสร้างค่านิยมของประชาชนในการร่วมมือ รักษาความสะอาด โดยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ในระดับประชาชนทั่วไป และในหลักสูตรการเรียนการสอน และให้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง โดยสื่อทุกประเภท

        3. เร่ง ดำเนินการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานมากขึ้น รวมทั้งเข้มงวดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมากขึ้นและจริงจัง

        4. ในด้าน ขยะมูลฝอยติดเชื้อ จำเป็นต้องเร่งแก้ไขเพราะปัจจุบันปริมาณเพิ่มมากขึ้นและยังขาดการจัดการที่ถูกต้อง โดยการให้สถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบจัดการ ดังนี้

         - การเตรียมขยะมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการบำบัด ขยะมูลฝอยติดเชื้อควรจะได้มีการฆ่าเชื้อก่อนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนบรรจุในถุงสีแดงที่เตรียมไว้

         - การเก็บขนและขนส่งไปกำจัด ควรใช้รถที่เป็นระบบปิดทั้งหมดในการขน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกันโดยเฉพาะบุคคล

         - วิธีการกำจัดในขณะนี้ยังไม่เหมาะสม เพราะใช้วิธีฝังและการเผาที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดงบประมาณ ควรจะได้มีการร่วมมือกันระหว่างสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนได้ช่วยกันจัดสร้างระบบบำบัดให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

        ในด้านของเสียอันตราย รัฐควรมีการเร่งรัดให้มีการจัดการของเสียอันตราย ดังนี้
         - ควรมีการกำหนดคำจำกัดความ เกณฑ์พิจารณา และวิธีการกำหนดลักษณะของเสียที่เป็นอันตราย กำหนดระเบียบการปฏิบัติ การเก็บรวบรวม การขนส่ง การบำบัด รวมทั้งมาตรการในการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพของมนุษย์
         - สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการของเสียอันตราย เช่น หน่วยงานที่ผลิตของเสีย ควรลงทุนดำเนินการแก้ไขเอง โดยมีสิ่งจูงใจในการดำเนินการจัดการของเสียอันตราย เช่น การลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรใช้งาน

         - สนับสนุนให้มีการปลูกฝังทัศนคติและสร้างค่านิยมของประชาชน ในการร่วมมือป้องกันอันตรายจากการใช้วัตถุมีพิษ และทิ้งกากของเสียอันตราย เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
        1. ส่งเสริม และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้มีความรู้ตระหนักถึงพิษภัยจากของเสียที่เป็นอันตราย รวมทั้งให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา

        2. สนับสนุน ให้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ลดปริมาณของเสียมาใช้ เช่น การเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบชนิดใหม่หรือเปลี่ยนวิธีการผลิต รวมทั้งให้มีการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

        3. เร่งรัด ให้มีระบบการจัดการของเสียที่เป็นอันตรายจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ที่ครบวงจรตั้งแต่การเก็บ ขนส่ง บำบัดและกำจัด ทั้งนี้ควรจัดการของเสียอันตรายจากการอุตสาหกรรมและสถานพยาบาลเป็นลำดับแรก

        4. สนับสนุน งบประมาณและอัตรากำลังแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อการแก้ไขปัญหา

        5. กำหนด ให้ผู้ก่อให้เกิดของเสียอันตรายหรือได้รับผลประโยชน์จากของเสียต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการจัดการไม่ถูกต้อง

        6. สนับสนุน ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอันตราย หรือการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์
        7. ควรมี ถังขยะประจำบ้าน ไม่ทิ้งขยะตามที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ถนน สนามหญ้า แม่น้ำลำคลอง ฯลฯ และควรมีการแยกประเภทขยะก่อนนำไปทิ้ง และแยกทิ้งลงในถังรองรับขยะมูลฝอยหลายใบ ได้แก่ ถังที่ 1 ใส่กระดาษ ถังที่ 2 ใส่เศษพลาสติก ถังที่ 3 ใส่เศษแก้วขวด ถังที่ 4 ใส่เศษโลหะอลูมิเนียม ถังที่ 5 ใส่เศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ ถังที่ 6 ใส่ของเสียอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง ฯลฯ

        8. ควรแนะนำ เพื่อ ๆ ให้รักษาความสะอาดในบ้าน ในโรงเรียน ในที่ทำงาน โดยไม่ทิ้งขยะมูลฝอยในเขตบ้านของผู้อื่น

        9. หากบ้าน เราไม่อยู่ในเขตชุมชน ไม่มีเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะมูลฝอยของเทศบาล สุขาภิบาล เรากำจัดขยะมูลฝอยเอง ไม่ควรกองทิ้งไว้ หรือเผากลางแจ้งตามถนนหนทางแต่ควรนำขยะมูลฝอยไปฝังในที่ดินของเรา

การกำจัดขยะมูลฝอย back การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่