 |
 |
|
ชื่อท้องถิ่น |
กระวานโพธิสัตว์, กระวานจันทร์, กระวานแดง, กระวานดำ, กะวานไทย , กระวานขาว (ไทยภาคกลาง-ตะวันออก) ,กระแอน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Amomum krervanh Pierre |
วงศ์ |
ZINGBERACEAE |
ชื่อสามัญ |
Camphor Seed, Siam Cardamom ,Best Cardamom |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 1.5 - 3 เมตร มีลำต้นสีเขียวอ่อน มีรอยสาก โคนต้นเป็นกระเปาะ สีขาวปนเขียวหรือสีเหลืองอ่อน
ใบคล้ายใบข่าแต่บางกว่า ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร
ดอกช่อดอกแทงออกจากเหง้าใต้ดิน รูปทรงกระบอกสีขาวนวล กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 2-3 ปี
ผลค่อนข้างกลม เป็นพูตื้น ๆ 4-5 พู ขนาด 1-1.5 ซม. เปลือกผลสีขาวนวล ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลไหม้ติดกันเป็นกลุ่มก้อน ผลจะอยู่ติดกับก้านรวมกันเป็นช่อ |
การขยายพันธุ์ |
เพาะเมล็ดหรือแยกหน่อ |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ผลแก่จัด หน่อ |
สารเคมีที่สำคัญ |
ผลแก่มีน้ำมันหอมระเหย (มีสาร borneol และ camphor) แอลฟ่า-ไพนีน, เมอร์ซีน, ไลโมนีน, บอร์นีออล และไลนาลูออล(linalool) |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
เอาผลกระวานแก่จัดที่ตากแห้ง บดให้เป็นผง ประมาณ 1.5-3 ช้อนชา ชงกับน้ำอุ่น ดื่มหลังอาหาร หรือขณะมีอาการ
นำกระวานประมาณ 6-10 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานได้ครั้งเดียว
ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
รับประทานหัวหรือหน่อกระวานโดยนำไปประกอบอาหารหรือเป็นผักจิ้ม
|
ข้อควรระวัง |
- |
|