ชื่อท้องถิ่น

กล้วยมณีอ่อง (ภาคเหนือ) กล้วยทะนีอ่อง (อีสาน) กล้วยอ่อง , มะลิอ่อง กล้วยใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa ABB group (triploid) cv. 'Namwaa'

วงศ์

MUSACEAE

ชื่อสามัญ

Banana

ลักษณะ

กล้วยเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนลำต้นบนดินเกิดจากกาบใบมาหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่และยาว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบมีสีนวล ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี แต่ละช่อย่อยประกอบด้วยใบประดับขนาดใหญ่มีมีสีม่วงแดงหุ้มอยู่   ผลรวมกันเป็นเครือแต่ละเครือจะมีหวีหลายๆ อันมารวมกัน

การขยายพันธุ์

หน่อ โดยใช้หน่อปลูกในหลุมที่เตรียมไว้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผล ปลี เหง้า ยาง

สารเคมีที่สำคัญ

ประกอบด้วย สารแทนนิน และสารพวกโมโนเอมีน เช่น สารซีโรโทนิน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ใช้รักษาอาการท้องเดิน :   โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก ฝานบาง ๆ ผึ่งลมให้แห้ง ใช้รับประทาน ครั้งละ 1/2 - 1 ผล

  ยาระบาย:   ผลกล้วยสุกงอมรับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 ผล ติดต่อกัน หลายๆ วัน จะช่วยระบาย

  ยาแก้ท้องเสีย:   ผลกล้วยห่าม รับประทานครั้งละ 2 ผล เมื่อเกิดอาการท้องเสียเล็กน้อย หากถึงระดับท้องร่วงที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ให้ใช้กล้วยดิบ 1 ผล หั่นเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนดื่ม

  ห้ามเลือด:  ใช้ยางกล้วยจากก้านใบ หยอดลงใส่แผลห้ามเลือดได้

  ขับปัสสาวะ:  เหง้าหรือลำต้นใต้ดินของต้นกล้วย ใช้ 1 กำมือล้างน้ำให้ สะอาด นำมาต้มกับน้ำให้เดือด 5 -10 นาที ดื่มแต่น้ำวันละ 4 ครั้ง

  โรคกระเพาะ:  นำผลกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งบดเป็นผงชงดื่มกับน้ำต้มสุก รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน

  บำรุงน้ำนม:  ใช้หัวปลี แกงเลียง รับประทานหลังคลอด

  ส้นเท้าแตก:  ใช้เปลือกกล้วยสุก เมื่อรับประทานเนื้อแล้วใช้ส่วนที่ติดกับเนื้อ ทาถูบริเวณส้นเท้า วันละ 4 - 5 ครั้ง ทำติดต่อกัน 4 - 5 วัน รอยแตกจะหายไป

ข้อควรรู้

-

กระวาน สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน กานพลู