![]() |
|
![]() |
|
ชื่อท้องถิ่น |
กะเพราขาว กะเพราแดง กะเพราขน กะเพราบ้าน(ภาคกลาง) กอมก้อ หรือก่ำกอ(ภาคเหนือ) ผักอีตู่ไทย (ภาคอีสาน) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimum tenuiflorum L.(O. sanctum Linn. ) |
วงศ์ |
LABIATAE |
ชื่อสามัญ |
Holy Basil, Sacred Basil |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 3-6 ฟุต เมื่ออายุมากโคนต้นที่แก่เป็นลักษณะไม้เนื้อแข็ง ส่วนยอดเป็นไม้เนื้ออ่อน ลำต้นและใบมีขน(ส่วนที่อ่อนจะมีขนปกคลุมมากกว่าส่วนที่แก่) ใบออกตรงกันข้าม ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีกลิ่นหอมฉุน ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นไปเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร คล้ายดอกใบโหระพา หรือแมงลัก บ้านเรามี 2 ชนิด คือกะเพราขาว ลำต้นและใบมีสีเขียว กลีบดอกสีขาว และกะเพราแดง ลำต้นและใบมีสีม่วง กลีบดอกสีชมพูอมม่วง |
การขยายพันธุ์ |
เมล็ดแก่ เมล็ดแก่จะแพร่กระจายพันธุ์ได้ดี นิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ดมากกว่าอย่างอื่น กิ่งหรือลำต้นสามารถตัดชำได้ ปลูกง่ายในดินทุกชนิดและปลูกได้ตลอดทั้งปี ชอบดินร่วนซุย ไม่แฉะ มีความชื้นพอเหมาะ ขึ้นได้ดีในทั่วทุกภาคของไทย |
ส่วนที่นำมาเป็นยา |
ราก เมล็ด และใบ |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
Apigenin,Ocimol, Phenols, Chavibetol, Linalool, Organic Acid มีวิตามินเอและฟอสฟอรัสค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังมีวิตามินซี เกลือแร่ และวิตามินอื่นๆอีก |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ข้อควรรู้ |
เด็กอ่อนแรกเกิดในชนบท นิยมใช้ใบกะเพราสด 4-5 ใบแทรกเกลือเล็กน้อย บดจนละเอียด ละลายน้ำสุกเจือน้ำผึ้งหยอดในปากเด็กแรกคลอด ครั้งละ 2 - 3 หยด เป็นเวลา 2 - 3 วันเป็นยาถ่ายขี้เทา และช่วยผายลมได้ดีมาก |
กระเทียม | ![]() |
![]() |
![]() |
กระวาน |