ชื่อท้องถิ่น

หอมเทียม(ภาคเหนือ) เทียม หัวเทียม (ภาคใต้) กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้ว้า (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allium sativum Linn.

วงศ์

ALLIACEAE

ชื่อสามัญ

Garlic

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 30-45 ซม. พืชจำพวกหญ้า ลงหัวใต้ดิน หัวประกอบด้วย กลีบหลายกลีบรวมกัน มีเปลือกหุ้มหลายชั้น สีขาวหรือสีอมม่วง เนื้อสีขาว ใบสีเขียว หนายาว แบน ปลายแหลม โคนแผ่เป็นแผ่นแบน ภายในกลวง หุ้มซ้อนกันเป็นต้นกลม สีเขียวหรือสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว รวมกันเป็นช่อ ที่ปลายก้าน

การขยายพันธุ์

หัวแก่ โดยใช้หัวแก่ฝังในดิน กระเทียมชอบอากาศเย็น ดินร่วยซุย ปลูกได้ทางภาคเหนือ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

หัว , ใบ ,ราก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

Alliin, Allicic, Allinase scordinine A, Scordinine B

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้โรคเน่าเปื่อย กลากเกลื้อน ระงับพิษแมลงสัตว์กัดต่อย :   เอากระเทียมทุบให้แตก ถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนและบริเวณแมลงต่อย วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 4-5 วัน

  ฆ่าเชื้อในปาก ทอนซิลอักเสบ(ระยะเริ่ม) : เอากระเทียมมาบดหรือทุบให้ละเอียด คั้นน้ำกรองด้วยผ้าสะอาด ผสมน้ำอุ่น 5 เท่า ผสมเกลือเล็กน้อย กลั้วคอ หรือ กระเทียม 5 กลีบโขลก เติมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง กรองเอาแต่น้ำ กวาดคอหรือจิบเวลาไอ จนกว่าอาการจะดีขึ้น

  แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด :
       - เอาหัวกระเทียมโทน 21 หัว ปอกเปลือก ใส่ขวดโหล ใส่น้ำผึ้ง พอท่วมกระเทียม ดองไว้ประมาณ 7 วัน รับประทานก่อนนอน ครั้งละ 3 หัว พร้อมน้ำที่ดอง ทานติดต่อกัน 7 วัน
       - รับประทานกระเทียมสด ๆ วันละ 1-2 หัว รับประทานติดต่อกัน 5-10 วัน

  แก้ความดันโลหิตสูง : กระเทียม 250 หัว แช่ในเหล้าขาว 1 ลิตร นาน 6 สัปดาห์ รินเอาส่วนที่ใส รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้า วันละครั้ง

  แก้จุกเสียดแน่นอืดเฟ้อ :
       - นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม
       - นำกระเทียมมาปอกเอาเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานหลังอาหารทุกมื้อ

  แก้เสมหะ แก้ลม : นำกระเทียมผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วบดละลายกับน้ำอ้อย

  ขับพยาธิ :นำรากกระเทียม ผสมกับน้ำนมหรือกะทิสด คั้นเอาน้ำรับประทาน

  แก้ปวดหัว หรือ ไมเกรนโดยการนำเอามาประกอบอาหาร หรือ รับประทานสดครั้งละ 10 กลีบ ทุกวัน(ต้องรับประทานทุกวันต่อเนื่องกัน)

ข้อควรระวัง

  ควรระวังในกรณีที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าขึ้น

  ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ละอองเกสร จะมีโอกาสแพ้กระเทียมได้ง่าย

  ไม่ควรรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง

กระทือ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน กระเพรา