ชื่อท้องถิ่น

หมากแหน่ง หมากน่ง(สระบุรี), หมากอี้, มะอี้, มะหมากอี (เชียงใหม่) หมากเน็ง (ภาคอีสาน) ผาลา(ฉาน-เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Amomum xanthioides Wall

วงศ์

Zingiberaceae

ชื่อสามัญ

Bastard Cardamom, Tavoy Cardamom

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก ต้นกลมแข็ง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบ สีเขียวเรียวหนาดก ปลายแหลมรูปหอก ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเป็นช่อ สีชมพูอ่อน แทงขึ้นมาจากดิน ผลเป็นสีน้ำตาล ค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ มีขนคล้ายผลละหุ่ง ขึ้นตามป่าราบ

การขยายพันธุ์

ใช้หน่อ หรือเมล็ดแก่

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลและเมล็ดที่แก่จัด

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

เมล็ดของผลแก่มีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย โนเทอร์ปีน (monoterpene)

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ยาขับลม, แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ, ท้องขึ้น : นำเมล็ดของผลแก่ประมาณ 5-8 เมล็ด ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ดื่มให้หมดภายในครั้งเดียว
หรือใช้เมล็ดแห้งบดเป็นผง ครั้งละ 3-4 ผล (1-3 กรัม) รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ข้อควรระวัง

-

ย่านาง สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เล็บมือนาง