ชื่อท้องถิ่น

ย่านาง, เครือย่านาง, เถาย่านาง, เถาวัลย์เขียว, ปู่เจ้าเขาเขียว, จ้อยนาง, เถาเขียว, หญ้าภคินี, เครือเขางาม, วันยอ, ย่านนาง, ยานนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tiliacora triandra (Colebr.)Diels.

วงศ์

MENISPERMACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

ไม้เลื้อยเถาอ่อนเหนียว มีเหง้าใต้ดิน ยอดจะแทงขึ้นมาจากดินเป็นกระจุก ซึ่งจะแตกเป็นเถายาวเถาอ่อนมีขนนุ่ม สีเทา ๆเถาแก่จะเกลี้ยง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก สีเขียวเข้ม กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. รูปโคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวเรียบมัน ดอกออกตามเถาและที่ซอกใบเป็นช่อสั้น ๆ แยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อย รูปวงรี แก่จัดมีสีแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า

การขยายพันธุ์

โดยใช้เถาแก่ที่ติดหัวหรือเมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทุกฤดู มักพบอยู่ในป่าโปร่งทั่วไป เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโดยการปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ราก ใบ หัว

สารเคมีที่สำคัญ

รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ลดไข้ : ใช้ราก 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 มื้อ

 ถอนพิษสุรา : น้ำคั้นจากใบย่านาง ใช้ดื่ม

  ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ : ใช้หัวเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว

ข้อควรรู้

ใบสดใช้ปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารภาคเหนือและภาคอีสาน นิยมใช้แต่งสีเขียวในอาหารคาวเช่นแกงลาว แกงอ่อม ซุปหน่อไม้ ต้มเปรอะ นอกจากจะช่วยแต่งสีเขียวแล้วยังช่วยทำให้น้ำแกงข้นมากขึ้นด้วย

ยอ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เร่ว