ชื่อท้องถิ่น

จะมั่ง, จ๊ามั่ง ,มะจีมั่ง (ภาคเหนือ) อาดอนิง, วะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Quisqualis indica Linn

วงศ์

COMBRETACEAE

ชื่อสามัญ

Rangoon Creeper

ลักษณะ

เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทา ต้นแก่ลำต้นเกลี้ยงมักมีกิ่งที่เปลี่ยนสภาพคล้ายหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-16 ซม. ท้องใบมีขนมาก โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบหยักคอดเป็นติ่งสั้น ๆ ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง เป็นช่อใหญ่ห้อยระย้า ยาว 2-20 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ แรกบานสีขาว เมื่อแก่เป็นสีชมพูและแดงเข้ม โคนกลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว สีเขียว ผลเป็นผลแห้ง รูปกระสวย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม มีสันตามยาว 5 สัน

การขยายพันธุ์

ใช้การตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ราก หรือเหง้า ปลูกลึกประมาณ 10 ซม. ควรปลูกในที่ดอน ชอบดินร่วนปนทราย จะออกดอกในฤดูหนาว

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ทุกส่วนของลำต้น

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ทั้งต้นพบสาร Quisqualic acid, ใบ Pelargonidin-3-glucoside, Quercetin-3glucoside, ดอก Flavonoids, ผล Alanine, เมล็ด D-Manitol

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ขับพยาธิลำไส้, ตานซาง : ใช้รากประมาณ 1 กำมือ หั่นละเอียด ทอดกับไข่รับประทาน และใช้เมล็ด ผู้ใหญ่ 5-7 เมล็ด(10-15 กรัม) เด็ก 2-3 เมล็ด(4-6 กรัม) ทุบพอแตกต้มเอาน้ำดื่ม หรือป่นเป็นผง ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน

ข้อควรระวัง


เร่ว สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ว่านหางจระเข้