![]() |
|
![]() |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingiber zerumber (L.) Smith |
ชื่อท้องถิ่น |
กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน) |
วงศ์ |
Zingiberaceae |
ลักษณะ |
เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินสีเหลืองซีด ๆ เหง้ามีขนาดใหญ่ เนื้อข้างในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบออกตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ใบยาวเรียวเขียวดกหนาทึบ ซ้อนกันเป็นแผงติดต่อกันไปยืดยาว ช่อดอกโผล่ขึ้นจากหัวใต้ดิน อัดกันแน่นสีแดง ตอนปลายประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดงจำนวนมาก ดอกสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ที่ปลายกลีบมีรูปร่างเหมือนปากอ้า |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เหง้าในการปลูก ปลูกได้โดยทั่วไป ชอบดินร่วนซุย และปลูกได้ทุกฤดูกาล |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
หัวหรือเหง้าสด |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
ในเหง้าพบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารหลายตัว เช่น methylgingerol, zingerone และ citral เป็นต้น |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() |
กระชาย | ![]() |
![]() |
![]() |
กระเทียม |