![]() |
![]() |
ชื่อท้องถิ่น |
มะขามแขก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Senna alexandrina P. Miller (Cassia angustifolia Vahl) |
วงศ์ |
LEGUMINOSAE (FABACEAE) CAESALPINIOIDEAE |
ชื่อสามัญ |
Senna |
ลักษณะ |
เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 ม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักคล้ายกับฝักถั่วลันเตา แต่ป้อมและแบนกว่า |
การขยายพันธุ์ |
ใช้เมล็ดปลูก มะขามแขกเป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดีมาก และเป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียง 1-2 ปี เท่านั้น จำเป็นต้องปลูกขึ้นใหม่ทดแทนต้นเก่า |
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบแห้งและฝักแห้ง |
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ |
ในใบและฝักมะขามแขก มีสารจำพวก "แอนทราควิโนน" หลายชนิด ที่สำคัญคือ เซนโนไซด์เอ และบี (Sennosides a and b), อีโมดิน (emodin) และเรอิน (rhein) เป็นต้น แอนทราควิโนดังกล่าวจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการอยากถ่าย |
สรรพคุณทางยา และวิธีใช้ |
![]() |
ข้อควรระวัง |
- การรับประทานมะขามแขกติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ขาดธาตุโปแตสเซียมได้ จึงควรรับประทานโปแตสเชียมร่วมไปด้วย - หากใช้มะขามแขกนาน ๆ ติดต่อกันอาจทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ถูกทำลายได้ หากไม่ใช้จะไม่ถ่าย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ - หญิงมีครรภ์หรือมีประจำเดือนห้ามรับประทาน - มะขามแขกเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว |
มะขาม | ![]() |
![]() |
![]() |
มะคำดีควาย |