ชื่อท้องถิ่น

ประคำดีควาย(ภาคกลาง),มะซัก,ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่) ,ชะแซ,ซะเหล่เด(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , คำดีควาย(ใต้),มะซัก(เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sapindus emarginatus Wall.

วงศ์

SAPINDACEAE

ชื่อสามัญ

Soapbery

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-30 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม

การขยายพันธุ์

ใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้าอ่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในที่ ๆ เตรียมเอาไว้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลแก่

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

saponin ,emarginatonede ,o-methyl-saponin

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้ชันนะตุ :    นำเนื้อของผลมะคำดีควาย 1 ลูก แกะแล้วตีกับน้ำสะอาดจนเกิดฟอง เอาฟองที่ได้สระล้างหนังศรีษะเด็กที่เป็นชันนะตุ แผลพุพอง ใช้เพียง 4 - 5 ครั้ง
หรือใช้ผล 4-5 ผลทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ปล่อยไว้ให้เย็น ใช้ทาที่หนังศรีษะที่เป็นชันนะตุ วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น

ข้อควรระวัง

เวลาสระ ต้องระวังอย่าให้น้ำจากลูกมะคำดีควายเข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบ และไม่ควรใช้บ่อย เพราะจะทำให้ผมร่วง

มะขามแขก สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน มะนาว